Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81742
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChollada Buranakarl-
dc.contributor.advisorAnusak Kijtawornrat-
dc.contributor.authorNuttika Pastarapatee-
dc.contributor.otherChulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science-
dc.date.accessioned2023-02-03T04:54:50Z-
dc.date.available2023-02-03T04:54:50Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81742-
dc.descriptionThesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016-
dc.description.abstractVentricular premature contraction (VPC) in the splenectomized dogs remains a major concern during post-operative period since it may progress to fatal arrhythmia, ventricular fibrillation (VF).  Twelve splenectomized dogs were recruited in the present study and further divided into 2 groups according to the number of VPC/24 hours, low VPC (n=6) and high VPC groups (n=6).  None of the dogs received antiarrhythmic drug or digoxin prior to the study.  Holter device was attached for 30 minutes in pre-operative period and 9 days after surgery while during the post-operative period, ECG signals were continuously recorded throughout 72 hours.  Blood samples were collected at both pre-operative and post-operative (day 2 and 9) for complete blood count (RBC, Hct, platelet, WBC), blood chemical profiles (ALT, ALP, BUN, creatinine, total protein, Na+, K+) and concentrations of norepinephrine (NE) and epinephrine (E).  The results revealed that the number of VPC was highest at day 3 (p<0.05) then declined at day 9.  The HR in all dogs and low VPC group were decreased (p<0.05) compared with pre-operative period whereas SBP was unchanged.  The Tp-Te was significantly increased on day 2 and day 1 (p<0.05) in low and high VPC groups, respectively.  For time domain analysis of HRV, SDANN, SDNN index, SDNN, pNN50 and RMSSD tended to enhance after surgery compared with pre-operative period.  In frequency domain analysis, HF and TP in all dogs increased having the decreased LF/HF after operation when comparing with pre-operative period.  Nonetheless, lower HF and higher LF/HF were observed in high VPC group on day 2 (p<0.05) compared with low VPC group.  NE and E increased significantly on day 2 after surgery in all dogs with the statistical significance of NE in high VPC group (p<0.05) compared with pre-operation.  Additionally, concentrations of NE and E obtained from pre-operative, day 2 and day 9 after surgery were related to the number of VPC in all dogs and high VPC group (p<0.05).  This study demonstrated that the splenectomized dogs had VPC after surgery.  The catecholamine and Tp-Te were enhanced postoperatively along with enhanced cardiac ANS activity, particularly parasympathetic modulation.  However, parasympathetic modulation in low VPC group was more dominant than high VPC group.-
dc.description.abstractalternativeภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดมีจุดกำเนิดจากหัวใจห้องล่างหรือวีพีซีนั้น จัดเป็นข้อแทรกซ้อนสำคัญภายหลังการผ่าตัดม้ามในสุนัข เนื่องจากสามารถโน้มนำไปสู่การเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงได้ เช่น ภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพริ้ว (ventricular fibrillation) ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาในสุนัขจำนวน 12 ตัวที่เข้ารับการผ่าตัดม้าม โดยรายงานผลจากสุนัขทั้ง 12 ตัว และแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามปริมาณของวีพีซีที่เกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมง อันได้แก่ กลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีน้อยจำนวน 6 ตัว และกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมากจำนวน 6 ตัว ซึ่งสุนัขทุกตัวในงานวิจัยนี้ไม่ได้รับยาต้านการเต้นผิดจังหวะของหัวใจหรือยาไดจอกซินก่อนทำการศึกษา ทำการติดอุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจชนิดพกพาเป็นเวลา 30 นาที ก่อนผ่าตัดและวันที่ 9 หลังการผ่าตัด ระหว่างที่สุนัขพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดนั้น ผู้วิจัยทำการติดอุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจชนิดพกพาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง วัดความดันซิสโตลีทางอ้อมด้วยวิธีดอปเปลอร์ เก็บตัวอย่างเลือดไปวิเคราะห์ค่าทางโลหิตวิทยา ได้แก่ จำนวนเม็ดเลือดแดง ฮีมาโทคริต เกล็ดเลือดและจำนวนเม็ดเลือดขาว ค่าเคมีในเลือด ได้แก่ ระดับเอ็นไซม์ ALT ALP ค่ายูเรียไนโตรเจน ครีเอทินีน โปรตีนรวมในเลือด โซเดียมและโพแทสเซียม รวมถึงตรวจวัดระดับนอร์อิพิเนฟรินและอิพิเนฟรินในพลาสมาด้วย ผลการศึกษาพบว่า สุนัขมีปริมาณวีพีซีขึ้นสูงสุดในวันที่ 3 (p<0.05) และลดลงในวันที่ 9 หลังการผ่าตัด อัตราการเต้นของหัวใจในสุนัขทั้ง 12 ตัว และกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีน้อย ลดลงภายหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความดันซิสโตลี ในส่วนการประเมินพารามิเตอร์ที่วิเคราะห์ได้จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น ค่าความแปรปรวนของการเกิดรีโพลาไรเซชันในหัวใจห้องล่าง (transmural dispersion of repolarization: Tp-Te) เพิ่มขึ้นวันที่ 2 ในกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีน้อย และวันที่ 1 ในกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าความแปรปรวนในอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์ช่วงเวลา SDANN SDNN index SDNN pNN50 และ RMSSD มีแนวโน้มสูงขึ้นภายหลังการตัดม้ามเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด ค่าความแปรปรวนในอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์ช่วงความถี่พบว่า ค่า HF และ TP ในสุนัขทั้ง 12 ตัว สูงขึ้นภายหลังการผ่าตัดเช่นกัน จึงส่งผลให้อัตราส่วนระหว่าง LF/HF มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมากนั้น มีค่า HF ที่ต่ำกว่ากลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีน้อย ส่งผลให้มีอัตราส่วนของ LF/HF สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด (p<0.05) ค่านอร์อิพิเนฟรินและอิพิเนฟรินในสุนัขทั้ง 12 ตัว เพิ่มขึ้นในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด พบค่านอร์อิพิเนฟรินสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมาก (p<0.05) นอกจากนี้เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบค่าสหสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างปริมาณนอร์อิพิเนฟรินและอิพิเนฟรินกับปริมาณวีพีซีในสุนัขทั้ง 12 ตัวและกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมาก (p<0.05) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า สุนัขที่ตัดม้ามมักพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดวีพีซี ทั้งยังพบปริมาณนอร์อิพิเนฟริน อิพิเนฟรินและความแปรปรวนของการเกิดรีโพลาไรเซชันในหัวใจห้องล่างเพิ่มขึ้นภายหลังการผ่าตัดพร้อมกับการทำงานที่เพิ่มขึ้นของระบบประสาทอัตโนวัติที่หัวใจโดยเฉพาะระบบประสาทพาราซิมพาเทติก อย่างไรก็ตามการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกที่หัวใจในกลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีน้อยนั้นเด่นกว่ากลุ่มสุนัขที่มีปริมาณวีพีซีมาก-
dc.language.isoen-
dc.publisherChulalongkorn University-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1295-
dc.rightsChulalongkorn University-
dc.subject.classificationVeterinary-
dc.subject.classificationVeterinary-
dc.titleAlterations in dispersion of cardiac repolarization and autonomic balance in the splenectomized dog-
dc.title.alternativeการเปลี่ยนแปลงของการกระจายตัวในระยะรีโพลาไรเซชันของหัวใจและสมดุลของระบบประสาทอัตโนวัติในสุนัขที่ตัดม้าม-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameMaster of Science-
dc.degree.levelMaster's Degree-
dc.degree.disciplineAnimal Physiology-
dc.degree.grantorChulalongkorn University-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1295-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5675305831.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.