Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81948
Title: | ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Information need, media uses and media habit of Thai elderly : Research report |
Authors: | พนม คลี่ฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมข่าวสาร ผู้สูงอายุ -- ไทย |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการข่าวสารของผู้สูงอายุ ไทย 2) เพื่อสำรวจนิสัยการ เปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทยและ 3) เพื่ออธิบายลักษณะการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย ใช้วิธีการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วัดผลแบบครั้ง เดียว (One-shot Case Study) และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 406 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มี จำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด 2 อันดับแรก ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้้ 1. ผู้สูงอายุมีความต้องการข่าวสารด้านเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวในประเทศไทย ความรู้ด้านสุขภาพร่างกาย ศาสนา/ธรรมะ ข้อมูลเกี่ยวโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาพยาบาล กิจกรรม การพักผ่อน คลายเครียด ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านสุขภาพจิต สวัสดิการสังคมที่รัฐ จัดให้ เช่น ประกันสังคม สุขภาพ และข้อมูลด้านโภชนาการในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความต้องการข่าวสารด้านความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน ด้านข้อมูลการประกันชีวิต ทรัพย์สิน ด้านบ้านพักที่อยู่อาศัย ด้านเหตุการณ์ และด้านความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ของผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันในแต่ละ ช่วงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 2. ผู้สูงอายุมีนิสัยการเปิดรับสื่อในภาพรวม คือ เปิดรับสื่อเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ บุคคลใกล้ชิด และโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือ ผู้สูงอายุมักจะชมโทรทัศน์มากที่สุด โดยรับชมสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 7 และชมรายการข่าวเป็นประจำมักจะชมในช่วงเวลา 17.01-21.00 น. ซึ่งใช้เวลาในการชมโทรทัศน์ต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมง และมีการสนทนาพูดคุยเรื่อง ทั่วไป กับลูกหลาน/ญาติ และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุยเรื่องทั่วไปกับลูกหลาน/ญาติ และ มักจะใช้ในช่วงเวลา 13.01-17.00 น. มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสัยการเปิดรับสื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ แล ะ โทรศัพท์มือถือเกี่ยวข้องกับช่วงอายุที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 3. การใช้สื่อของผู้สูง อายุในภาพรวมสามารถสรุปได้ว่ามี 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องราวต่าง ๆ กับคนรอบข้าง 2) ลดความรู้สึกขาดความมั่นคงในการใช้ ชีวิต 3) สร้างความสุขกับเพื่อน สังคม ครอบครัว 4) รับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ในสังคม และชีวิตประจำวัน 5) ทำความเข้าใจตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับตนเอง 6) ผ่อนคลาย ความตื่นตาตื่นใจ ฆ่าเวลาและ 7) หลีกหนีจากความรู้สึกโดดเดี่ยว หลีกหนีจากสังคม 4. ความคิดเห็นผู้สูงอายุที่มีต่อสื่อต่าง ๆ พบว่า สื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคลเป็นสื่อที่ให้ ความรู้แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และความบันเทิงในระดับมาก ในขณะที่สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์นิตยสาร ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับปานกลาง |
Other Abstract: | The research on ‘Information Need, Media Uses and Media Habit of Thai Elderly’ has the following objectives: (1) To study information need of Thai elderly; (2) To examine media habit of Thai elderly; (3) To explain media uses of Thai elderly. This research project is a survey research that relies on a questionnaire as a tool technique. The survey is a one-shot case study and the samples of this research are 406 elderly over 60 years old who reside in Bangkok and Nakhon Ratchasima Province which have the most elderly residence in the top two rank of Thailand. The descriptive data and results from the research hypothesis test lead to the following findings: 1. Thai elderly has high seeking information need in several fields such as domestic news, health and disease, religion, medical care, relaxing activity, environment, mental health, nutrition and public welfare such as social security. The research hypotheses testing result indicate that information need in fields of environment, law, finance, life insurance, home, current affairs and domestic news of Thai elderly are different with statistical significance at .05. 2. Thai elderly has the most media habit in 3 categories; television, intimate friends and family and mobile phone. Hence, almost Thai elderly watch television as the first priority and usually watch news program through channel 3 and channel 7 at around 5 pm.-9 pm or about 1-3 hours daily. They also exchange opinion and have conversation with family and often contact with their family through mobile phone at around 1 pm.-5 pm. generally. The research hypotheses testing result reveal that media exposure of Thai elderly via radio, newspaper and mobile phone relate with different age range of Thai elderly with statistical significance at .05. 3. Media uses of Thai elderly overall can summarize in 7 categories; ( 1) exchanging opinion with others (2) decreasing life insecurity concern (3) creating happiness with friends, family and society (4) acknowledging current situation and daily life (5) comprehending and creating inspiration for themselves (6) relaxing, entertaining and spending time and (7) escaping from loneliness and society. 4. The opinion of Thai elderly toward media reveal that television and personal media give high knowledge, inspiration and entertaining while radio, newspaper, magazine, film and internet provide knowledge, inspiration and entertaining with average rate. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81948 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2555_Eldery_Research.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 131.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.