Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82262
Title: โมเดลเชิงสาเหตุแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีชาวต่างประเทศที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย
Other Titles: A causal model of accultulative stresssors and wellness of international undergraduates studying in an international program
Authors: ทศพิธ รุจิระศักดิ์
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมต่อสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ (2) ศึกษาบทบาทของการสนับสนุนทางสังคมในโมเดลเชิงสาเหตุดังกล่าว  กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี  207 คน (หญิง 127 คน ชาย 80 คน)  อายุเฉลี่ย 21.68 + 2.11 ปี  ระยะเวลาที่อาศัยในประเทศไทยเฉลี่ย 1.47+1.44  ปี  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม  มาตรวัดกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม และมาตรวัดสุขภาวะ เก็บข้อมูลทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) และการทดสอบโมเดลแข่งขัน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (Chi-square = 44.167, df = 34, p = .114, SRMR = 0.059, RMSEA = 0.038, CFI = 0.989) และในการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยที่การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม เป็นโมเดลที่ดีที่สุด (Chi-square = 66.675, df = 50, p = .057, SRMR = 0.071, RMSEA = 0.040, CFI = 0.986) นอกจากนี้ผลการวิจัยยังบ่งชี้ว่า เมื่อนักศึกษาชาวต่างชาติเผชิญกับแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การแยกตัว และเมื่อได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่นักศึกษาชาวต่างชาติมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การบูรณาการ  นอกจากนี้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านการยึดมั่นต่อวัฒนธรรมสังคมถิ่นฐาน
Other Abstract: This study aimed to (1) develop and examine the causal model of acculturative stressors and acculturation strategies affecting wellness of international undergraduates who have studied in Thailand, and (2) investigate the role of social support in such causal model. The study participants consisted of 207 undergraduates (female = 127, male = 80) with mean age of 21.68+2.11 years old and average length of stay in Thailand was 1.47+1.44 years.  Research instruments were comprised of Acculturative Stressor Scale, Acculturative Strategies Scale, Social Support Scale, and Wellness Scale. Data were collected in person and via online methods. Structural Equation Modeling and Comparing Competing Causal Models were performed to analyze the data.  Findings revealed that the causal model of acculturative stressors on wellness of international graduates with acculturation strategies as a mediator was consistent with the empirical data (Chi-square = 44.167, df = 34, p = .114, SRMR = 0.059, RMSEA = 0.038, CFI = 0.989).  For the comparing competing causal models, the model in which the effect of social support on wellness mediated by acculturation strategies was found to be the best fitting model (Chi-square = 66.675, df = 50, p = .057, SRMR = 0.071, RMSEA = 0.040, CFI = 0.986).  Moreover, the results showed that when facing increased acculturative stressors, the acculturation strategies that international undergraduates were likely to use were separation. When obtaining more social support, the acculturation strategies that international undergraduates were likely to use was integration. Additionally, social support had significant indirect effect on wellness mediated by acculturation strategies, specifically in the domain of holding on cultural heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82262
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1363
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1363
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777611238.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.