Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรวดี วัฒฑกโกศล-
dc.contributor.authorชีรนุช สมบูรณ์กุลวุฒิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2023-08-04T04:33:45Z-
dc.date.available2023-08-04T04:33:45Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82278-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractที่ผ่านมายังไม่เคยมีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์นี้โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทยจำนวน 226 คน ผลการวิจัยพบว่า ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (r = –.21, p < .01) ความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์มีอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ของความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (b = –.78, p < .05) ในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับต่ำ ยิ่งมีความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์สูงจะยิ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง (b = .66, p < .05) แต่ในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง (b = .22, p = .37) และสูง (b = –.23, p = .43) ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ การมีความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์สูงแต่ไม่สูงจนเกินไปจะเป็นแรงผลักดันให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น และการมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลางและสูง น่าจะส่งผลให้ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeThe relationship between math anxiety and math achievement with incremental beliefs of math ability as a moderator has not been examined. Therefore, the purpose of this research is to study this relationship. Participants were 226 seventh graders from a public school in Thailand. The results showed that math anxiety and math achievement have a negative correlation (r = –.21, p < .01). Incremental beliefs of math ability have a moderating effect on relationship between math anxiety and math achievement (b = –.78, p < .05). For individuals with weak incremental beliefs of math ability, high math anxiety predicted high math achievement (b = .66, p < .05). However, for individuals with moderate (b = .22, p = .37) and strong (b = –.23, p = .43) incremental beliefs of math ability, math anxiety had no relationship with math achievement. The results of this study suggested that for individuals with weak incremental beliefs of math ability, a high but not-too-high level of math anxiety led to higher math achievement; in addition, with moderate and strong incremental beliefs of math ability, math anxiety should not negatively affect math achievement.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.542-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.subject.classificationEducation-
dc.subject.classificationBasic / broad general programmes-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับ-
dc.title.alternativeThe relationship between math anxiety and math achievement with incremental beliefs of math ability as a moderator-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.542-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470010938.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.