Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชรินทร์ สันติอัชวรรณ-
dc.contributor.authorตวงพร มีทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:32Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:32Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82318-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ภายใต้หัวข้อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ และเพื่อหาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่  การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นการแสดงสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และทำการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์    เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับองค์ประกอบทั้ง 8 ที่อยู่บนพื้นฐานจากการศึกษาวรรณกรรม เพื่อใช้ในการกำหนดองก์การแสดงต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 2 องก์ องก์ที่ 1 ไฟแห่งรูปธรรม ได้แก่ กำเนิดไฟและลุยไฟ และองก์ที่ 2 ไฟแห่งนามธรรม ได้แก่ ไฟราคะและไฟแค้น พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ในเรื่อง การวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ของไฟกับมนุษย์ การคำนึงถึงบริบทของไฟในเชิงรูปธรรมและนามธรรม การคำนึงถึงทฤษฎีการเผาไหม้ ทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศน์ และทฤษฎีสัญญะ และการคำนึงถึงภาพสะท้อนในสังคมปัจจุบันกับงานนาฏยศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของงานนาฏยศิลป์ด้วยการนำเกณฑ์มาตรฐานศิลปินมาร่วมประกอบการวิเคราะห์กับองค์ประกอบนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ในการสร้างสรรค์ผลงาน งานวิทยานิพนธ์นี้จะมีคุณค่าต่อสังคมในการให้แนวคิดและปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ในด้านของการใช้ไฟเป็นสัญญะของการดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์ การไม่ตกอยู่ในความลุ่มหลงที่นำไปสู่หายนะ และการสะท้อนผลแห่งการกระทำ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาไฟในบริบทต่าง ๆ จากวรรณกรรมที่หลากหลาย แล้วจึงคัดเลือกไฟที่มีบทบาทสำคัญ มาทำการต่อยอดเป็นผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่น่าสนใจ โดยการเล่าเรื่องราวผ่านวรรณกรรม นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ยังเป็นการศึกษาไฟในเชิงวิทยาศาสตร์และภาษาศาสตร์นำมาผนวกเข้ากับศิลปกรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัว-
dc.description.abstractalternativeThis thesis entitled “The Creation of a Dance Between the Relationship of Fire and Humans” aims to identify the form of dance creation and the key concepts for the creation of a dance on the relationship between fire and humans. The principal research methodologies employed are: documentary research, interview, study of mass media data, participant observation and the researcher’s personal experiences. The research data were then analyzed and synthesized into a dance performance and research conclusion. The research results were derived from the analysis of research data in conjunction with eight dance elements that had been identified from the research literature review and used in the dance acts. The dance performance consists of two acts. Act I, Fai Haeng Ruppatham (Concrete Fires), relates the origin of fire and the act of walking through fire. Act II, Fai Haeng Nammatham (Abstract Fires), depicts the fire of sexual desire and the fire of vengeance. An analysis of the underlying concepts of the dance has taken into consideration the concrete and abstract contexts of fire, combustion theory, conceptual metaphor theory, semiotics theories and representations of contemporary Thai society in dances. The researcher also analyzed the merits of this dance performance through a combination of standard criteria for dance artists and the eight dance performance elements. The valuable social contribution of this thesis can be found in the ideas and philosophies on how to lead a useful life that it provides through the use of fire as a symbol of an honest life, a life free from debauchery, and the consequences of one’s action. This thesis is a study of different contexts of fire from various literary sources. Fire with significant roles were selected and developed into an interesting dance performance that relates the stories of fire in the Thai literary works. This thesis is also a perfect combination of the scientific and linguistic study of fire with fine art. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1349-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์-
dc.title.alternativeThe creation of a dance from relationships between fire and human-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1349-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986814035.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.