Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82741
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้บริการกับประเภทร้านค้าในคอมมูนิตี้ มอลล์ กรณีศึกษา : โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า และโครงการเออร์เบิน สแควร์
Other Titles: The relationship between customer characteristics and types of tenant in community malls : case studies of the Sense Pinklao and Urban Square
Authors: เสาวพร วรสินธพ
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกำหนดประเภทของร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้ มอลล์ งานวิจัยนี้ศึกษาแนวคิดในการกำหนดประเภทร้านค้ารวมถึงลักษณะของผู้ใช้บริการโดยมีกรณีศึกษาคือ โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า (SP) และโครงการเออร์เบิน สแควร์ (US) ใช้วิธีการสำรวจลักษณะทางกายภาพโครงการ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และสอบถามผู้ใช้บริการ 300 คน วิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติและการถอดคำสำคัญจากบทสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่ตั้งและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คอมมูนิตี้ มอลล์เป็นสถานที่ตอบสนองความต้องการของการใช้ชีวิต เน้นความสะดวกสบายและใกล้ชุมชน 2) ประเภทร้านค้าของทั้งสองโครงการทีมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสุขภาพและความงาม สถาบันกวดวิชา ธนาคารและตู้เอทีเอ็ม อย่างไรก็ตาม มีการจัดตราสินค้าของร้านค้าแต่ละประเภทแตกต่างกันตามกลุ่มเป้าหมาย 3) ลักษณะของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของโครงการ SP คือ กลุ่มอายุ 26-35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนโครงการ US เป็นกลุ่มอายุ 18-25 ปี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ทั้งนี้ ร้านค้าที่มีการใช้บริการหลักคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารรวมถึงร้านเครื่องดื่มและขนม 4) ประเภทร้านค้าที่จัดไว้ทั้งสองโครงการเป็นร้านค้าที่รองรับการใช้ชีวิตประจำวันและมีความหลากหลายของตราสินค้า อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของตราสินค้าส่งผลต่อการใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาการเข้าใช้บริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าประเภทร้านค้าที่มีอยู่ในคอมมูนิตี้ มอลล์ยุคนี้คือ ร้านอาหารและร้านเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม ซึ่งถือเป็นกลุ่มร้านค้าหลักนอกเหนือจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ ตราสินค้าจะเป็นตัวบ่งชี้ลักษณะการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้พัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยเฉพาะการเลือกที่ตั้งที่ควรสะดวกต่อการเดินทางและมีร้านค้าที่มีตราสินค้าตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมาย
Other Abstract: Having tenants that would suitably respond to target customers’ demands is considered one of the key factors in developing community malls. The current research endeavor attempted to analyze concepts for tenant arrangements as well as customer characteristics by studying case studies of The Sense Pinklao (SP) and Urban Square (US) by means of surveying the physical conditions, interviewing entrepreneurs and giving questionnaires to 300 customers. Data were statistically analyzed and interviews were transcribed. The results revealed that first, entrepreneurs focused on the locations and target customers in order to make community malls respond to their lifestyles. They should be convenient and easily accessible by people in communities. Second, both places contained similar types of tenants such as supermarkets, restaurants, health and beauty service providers, tutorial schools, banks, and ATMs. Nevertheless, brand arrangements of both places differed according to target customers. Third, most customers of SP were 26-35 year old people who were employees at private companies, whereas most customers of US were 18-25 year old people who were still students. The most popular shops were supermarkets and restaurants selling food, beverages, and desserts. Fourth, in both places, there were various brands to respond to customers’ lifestyles. However, the difference in brands led to differences in services, especially service time and expenses. The results showed that the modern community malls tended to contain health and beauty service providers, which had significance secondary to that of supermarkets. Brands were indicators of target customers’ characteristics. The current research study would benefit developers of community malls, especially in selecting conveniently accessible locations and brands that would respond to target customers’ lifestyles.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82741
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.655
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.655
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073346925.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.