Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82765
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorอภิญญา เวชกามา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:47:19Z-
dc.date.available2023-08-04T06:47:19Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82765-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต อาจส่งผลให้การจำลองประสิทธิภาพอาคารมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากไฟล์ข้อมูลอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการจำลองนั้น เป็นข้อมูลในช่วงปี ค.ศ.1990 และยังไม่มีข้อมูลที่คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างไฟล์อากาศของกรุงเทพฯ ที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตของ IPCC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการนำไปใช้ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคารที่มีเป้าหมายเป็น Net Zero Carbon งานวิจัยนี้ได้ทำการนำข้อมูลอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัยในกรุงเทพฯ มาใช้เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยทำการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร จากนั้นวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานตลอด 60 ปีข้างหน้า เพื่อนำผลรวมของการใช้พลังงานไปใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี (LCA) และเสนอแนวทางการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยวิธีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี ของอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ผลการจำลองการใช้พลังงานโดยการใช้ไฟล์อากาศที่สร้างขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อาคารมีการใช้พลังงานในอาคารเพิ่มมากขึ้นเป็น 43% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และหากพิจารณาเรื่องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ-
dc.description.abstractalternativeThis research investigates the potential impacts of climate change on building performance and carbon emissions in the context of Bangkok. The study focuses on residential condominiums as a case study and aims to create a weather file that reflects future climate change scenarios. Energy consumption in the buildings is simulated for one year, and the changes in energy consumption over a 60-year period are analyzed to assess the building's life cycle assessment (LCA). Additionally, carbon offsetting strategies using solar photovoltaic (PV) generation systems are proposed. The results show that considering climate change scenarios leads to a 43% increase in energy consumption compared to simulations without considering climate change. This, in turn, results in a 40% increase in carbon emissions. To achieve net zero carbon, the installation of solar PV generation would need to produce 40% more electricity compared to scenarios without considering climate change. These findings emphasize the importance of considering climate change in building performance assessments and highlight the potential for solar PV systems to compensate for carbon emissions.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.951-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์-
dc.title.alternativeImpact of renewable energy design requirement on Net-Zero Carbon residential building under potential future climate change scenarios-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.951-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6372026825.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.