Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83447
Title: แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน
Other Titles: Approaches of Thai Christian School Teacher's spiritual intelligence development
Authors: เบญจวรรณ สุขพิทักษ์
Advisors: นันทรัตน์ เจริญกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โรงเรียนไทยคริสเตียน -- การพัฒนาบุคลากร
ความฉลาดทางจิตวิญญาณ
ครู
Thai Christian School
Teachers
Spiritual intelligence
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน ใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนไทยคริสเตียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษาตอนต้น และครูมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI [Modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ความจริงมีระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเปิดกว้างจิตสำนึก ด้านการเข้าใจความหมายบุคคล และด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ มีระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณน้อยสุด 2) ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน เมื่อพิจารณาทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการเข้าใจความหมายบุคคลมีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการตระหนักรู้ความจริง ด้านการเปิดกว้างจิตสำนึก และด้านการคิดวิจารณญาณมีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาครูมี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 28 วิธีการดำเนินการ ดังนี้ 1. พัฒนาให้ครูเข้าใจความหมายบุคคลโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการสอนงานและการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. แนะแนวให้ครูตระหนักรู้ความจริงโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการฝึกอบรมสัมมนา การสอนงานและการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. พัฒนาให้ครูเปิดกว้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้การปฏิบัติงาน ร่วมกับการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสอนงาน 4. แนะแนวให้ครูคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการฝึกอบรมสัมมนา การเสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประชุมปฏิบัติการ
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) study the spiritual intelligence level of teacher development at Thai Christian school. 2) study the priority needs of Thai Christian school teacher’s spiritual intelligence development and 2) propose approaches of Thai Christian school teacher’s spiritual intelligence development. This study was conducted with descriptive method. The population was Thai Christian school and there were 49 informants, including school administrators, kindergarten teachers, primary teachers, and secondary teachers. The research instruments were questionnaires and the suitability and possibility evaluation form. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNI [Modified]), and content analysis. The results showed that 1) The level of spiritual intelligence of teacher development at Thai Christian school was in average level. When analyzing each aspect, transcendental awareness was in the highest level and followed by conscious state expansion, personal meaning production, and critical existential thinking was in the lowest level. 2) the highest priority needs of Thai Christian school teachers’ spiritual intelligence development was personal meaning production. the second priority needs index was transcendental awareness; the third priority needs index was conscious state expansion; and the lowest priority needs index was critical existential thinking. 3) The approaches of teacher development are 4 main approaches, 8 sub approaches, and 28 procedures as follows. 1. Develop teachers to understand the personal meaning production through learning by doing, coaching and professional learning community. 2. Guide teachers to understand the transcendental awareness through learning by doing, seminar, coaching and professional learning community. 3. Develop teachers to understand the conscious state expansion through learning by doing, professional learning community, and coaching. 4. Guide teachers to understand the critical existential through learning by doing, seminar, professional learning community, and workshops.
Description: สารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83447
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.346
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.346
Type: Independent Study
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380093627_Benjawan_Su.pdf106.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.