Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83455
Title: แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี
Other Titles: Approaches for developing academic management of participated schools in teacher & school quality program based on the concept of biocultural innovator competencies
Authors: ศิริปัญญ์กรณ์ แซ่เจี่ย
Advisors: เพ็ญวรา ชูประวัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การบริหารการศึกษา
การบริหารโรงเรียน
School management and organization
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะผู้บริหารและครู จำนวน 57 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินระดับสมรรถนะ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ฐานนิยม (Mode) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ (1) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNI [Modified] = 0.140) (2) การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.132) (3) การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.128) (4) การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.123) และ (5) การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.115) ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.128 (PNI [Modified] = 0.128) ทั้งนี้สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.97,4.47) ตามลำดับ และสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถีที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ (1) ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนิเวศ (PNI [Modified] = 0.144) (2) ความสามารถในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (PNI [Modified] = 0.133) (3) ความสามารถในการลดความเสี่ยง (PNI [Modified] = 0.130) (4) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสีเขียว (PNI [Modified] = 0.129) (5) ความคิดสร้างสรรค์ (PNI [Modified] = 0.122) (6) การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น (PNI [Modified] = 0.120) และ (7) ความสามารถในการปรับตัว (PNI [Modified] = 0.119) ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี รวมทั้งสิ้น 5 แนวทางหลัก 27 วิธีดำเนินการ คือ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่ส่งเสริมการสร้างสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี โดยกำหนดสมรรถนะหลักของนวัตกรเชิงชีววิถี ที่เน้นด้านความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนิเวศให้แก่ผู้เรียนแนวทางที่ 2 จัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบบูรณาการแต่ละรายวิชาที่หลากหลาย ทั้งในและนอกห้องเรียน แบบลงมือปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ด้านความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนิเวศ แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและนอกโรงเรียน โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มี ความหลากหลายและมีคุณภาพ ให้สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริม สมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสีเขียวและความสามารถในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแนวทางที่ 4 พัฒนาการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของผู้เรียน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ที่เน้นความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสีเขียว และแนวทางที่ 5 พัฒนาและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถีให้แก่ผู้เรียน ในด้านความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนิเวศ
Other Abstract: This study was descriptive research. The purposes of this research were to: 1) assess the priority needs in academic management of participated schools in Teacher & School Quality Program based on the concept of biocultural innovator competencies; 2) to propose some approaches for academic management of participated schools in Teacher & School Quality Program based on the concept of biocultural innovator competencies. The samples were 57 in total comprising of school administrators and teachers which calculated by using the Taro Yamane (1967) formula with an error of 5% and using simple random sampling method. The research instruments were rating scaled questionnaires, evaluation forms of the degrees of competencies and evaluation forms of appropriateness and possibility. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, mode, PNI [Modified] and content analysis. The results were as follows: 1) the highest of priority need of Academic management was (1) coordination in academic development with others educational institutions and organizations (PNI [Modified] = 0.140) (2) learning management (PNI [Modified] = 0.132) (3) measurement and evaluation (PNI [Modified] = 0.128) (4) using of media, innovation, technology for education and learning resources (PNI [Modified] = 0.123) and (5) curriculum development (PNI [Modified] = 0.115), respectively. The overall priority was 0.128 (PNI [Modified] = 0.128). The overall current states and desirable states in academic management based on the concept of biocultural innovator competencies were at a high level (X = 3.97, 4.47), respectively. And the highest of priority need of biological innovator competencies was (1) eco-technological knowledge (PNI [Modified] = 0.144) (2) ability to conserve biodiversity (PNI [Modified] = 0.133) (3) ability to reduce the risk (PNI [Modified] = 0.130) (4) ability to Create Green Innovation (PNI [Modified] = 0.129) (5) creative thinking (PNI [Modified] = 0.122) (6) integrating scientific and indigenous knowledge (PNI [Modified] = 0.120) and (7) Ability to Adapt (PNI [Modified] = 0.119), respectively. 2) There were 5 approaches and 27 procedures for academic management of participated schools in TSQP based on the concept of biocultural innovator competencies which 5 approaches were as followed, (1) Develop a competency-based curriculum that promotes the creation of biocultural innovator competencies by defining the core competencies of biocultural innovators focusing on eco-technological knowledge in for learners. (2) Arrange proactive learning by integrating individual subjects, both inside and outside the classroom, hands-on style that is student-centered and consistent with the context of each area to create biocultural innovator competencies in the field of focusing on eco-technological knowledge. (3) Promote the use of educational media, innovation, technology, and various learning resources both inside and outside the school by engaging all sectors in developing them to be diversified and qualitative to be able to arrange education/learning activities in accordance with the context of the schools in each area to promote biocultural innovator competencies of on the ability to create green innovations and conserve biodiversity. (4) Develop authentic assessment and evaluation to develop and promote biocultural innovator competencies that emphasize the ability to create green innovations. (5) Develop and coordinate with all sectors involved in educational management to develop biocultural innovator competencies for learners in terms of ecotechnological knowledge.
Description: สารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83455
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.342
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.342
Type: Independent Study
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380169727_siripankorn_sa.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.