Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83458
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญวรา ชูประวัติ-
dc.contributor.authorสุชานันท์ พันทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-23T08:15:55Z-
dc.date.available2023-08-23T08:15:55Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83458-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ หัวหน้างานฝ่ายบุคคลและครู จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินร่างแนวทางแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ความอดทนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอดทนและความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค พบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ (PNI [modified] = 0.294) รองลงมาคือ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา (PNI [modified] = 0.274) ความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ (PNI [modified] = 0.249) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ความอดทนและความเพียร (PNI [modified] = 0.261) 2) แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 33 วิธีดำเนินการ คือ (1) ยกระดับความสามารถของครูในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (2) ยกระดับความสามารถของครูในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3) สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูมีความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (4) เสริมสร้างความอดทนและความเพียรของครู โดย การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) examine assess the priority needs and methods of developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai Consortium, Saraburi primary educational service area office 2; and to 2) propose the approaches for developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai. The research informants consisted of 104 administrators, head of personal management and teachers. The research instrument used in this study was a five-level rating scale questionnaire and five-level rating scale of appropriability and possibility. The data was analyzed and presented in forms of frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Modified Priority Need Index (PNI [modified]), mode and content analysis. The research results were as follows: 1) The present state of developing teachers adversity quotient was performed at the high level. Whereas the highest average was Endurance and Perseverance, the lowest average was Analytical ability determine the cause. The desirable state of developing teachers adversity quotient was performed at the highest level. Moreover, the highest average was Endurance and Perseverance, the lowest average was Analytical ability determine the cause. The priority needs of developing teachers adversity quotient, ranked from highest to lowest, were Analytical ability determine the cause (PNI [modified] = 0.294) followed by Control and Solve a problem (PNI [modified] = 0.274) Responsibility for problems and Reach the impact (PNI [modified] = 0.249) and Endurance and Perseverance (PNI [modified] = 0.261), respectively. 2) There were 4 main approaches, 8 sub-approaches, and 33 procedures to develop teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai. The main approaches were: (1) Developing analytical ability determine the cause skills by self-directed learning and action learning, (2) Developing control and solve a problem skill by self-directed learning and action learning, (3) Improving the morale of teachers by self-directed learning and action learning (4) developing endurance and perseverance in teacher by self-directed learning and action learningen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.352-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟันฝ่าอุปสรรคen_US
dc.subjectครูen_US
dc.subjectการพัฒนาอาชีพ-
dc.subjectโรงเรียน -- ไทย -- สระบุรี-
dc.subjectStruggle-
dc.subjectTeachers-
dc.subjectCareer development-
dc.subjectSchools -- Thailand -- Saraburi-
dc.titleแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครู โรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2en_US
dc.title.alternativeApproaches for developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai Consortium, Saraburi primary Educational service area office 2en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.352-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380183427_Suchanun_Puntawee.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.