Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83518
Title: ข้อถกเถียงทางปรัชญาเกี่ยวกับเรื่อง "กรรม" ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Philosophical Disputes Regarding Kamma In Theravada Buddhism
Authors: สุมาลี มหณรงค์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา
Subjects: กรรม
พุทธศาสนา
Issue Date: 2563
Publisher: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รายงานวิจัยเล่มนี้สำรวจข้อถกเถียงทางปรัชญาว่าด้วยคำสอนเรื่องกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งข้อถกเถียงสำคัญ ๆ ได้รับการจัดประเภทไว้ในปรัชญาหมวดภววิทยาและจริยศาสตร์ ในหมวดภววิทยามีการศึกษาความหมายและความสำคัญของกรรมที่เชื่อมโยงอยู่กับความเป็นจริงที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการทำงานร่วมกันของจิต เจตนาเจตสิก และเจตสิกจรกลุ่มกุศลและอกุศลมูล ในฐานะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการแห่งกรรม การศึกษาส่วนนี้นำไปสู่การทำความเข้าใจข้อถกเถียงเรื่องวิบากกรรมกับอจินไตย การถอยกลับไปไม่สิ้นสุดของสาเหตุแห่งกรรม การมีอยู่ของปฐมกรรม และกรรมกับอนัตตา ในหมวดจริยศาสตร์มีการศึกษาความหมายของวิบาก ความยุติธรรมของการรับผลกรรม ตลอดจนเสรีภาพและความรับผิดชอบของบุคคล เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจข้อถกเถียงเรื่องความยุติธรรมของการรับวิบาก เจตจำนงเสรี และโชคทางศีลธรรม ก่อนจะนำเข้าสู่บทที่ว่าด้วยประเด็นข้อถกเถียงต่าง ๆ นั้น รายงานวิจัยนี้ได้ตรวจสอบกรรมอย่างละเอียดตั้งแต่ในระดับของกรรมนิยาม ศึกษาลงรายละเอียดถึงจิตและเจตนาในฐานะเป็นสิ่งพื้นฐานที่มีอยู่ได้เองและเป็นสิ่งมีจริงที่อยู่เบื้องหลังกรรม จิต 29 ประเภทที่เป็นจุดตั้งต้นของกรรม วิถีจิต รวมทั้งน้ำหนักกรรมกับการทำหน้าที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้การวิเคราะห์ข้อถกเถียงมีพื้นฐานด้านคำสอนพุทธที่ถูกต้องร่วมกันก่อนในเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่า ความเข้าใจกรรมอย่างถูกต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้าใจกระบวนการทำงานร่วมกันของจิตและเจตสิกที่กำลังอยู่ในวิถีการรับรู้ กรรมในภาษาธรรมเป็นเรื่องของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางจิต กรรมมิใช่สิ่งพื้นฐานจึงมีอยู่ได้ในระดับบัญญัติเท่านั้น แต่การมีอยู่อย่างสมมติของกรรมนั่นเองกลับสนับสนุนว่าสิ่งพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังกรรมนั้นเป็นอนัตตาและดำเนินไปอย่างยุติธรรมเสมอ ส่วนวิบากที่ดูเหมือนเกิดขึ้นอย่างไม่ยุติธรรมนั้นเกี่ยวข้องกับการรับผลของกรรมในระดับสภาพชีวิตและสังคมเป็นหลัก ที่จริงแล้ววิบากที่เกิดขึ้นมีความเป็นธรรมและสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาการรับผลในระดับจิตใจและอุปนิสัยข้างใน คำอธิบายพระอภิธรรมในเรื่องการจัดประเภทของจิตและวิถีจิตสามารถนำมาใช้สนับสนุนกรรมในภาษาธรรมได้โดยมีจุดขัดแย้งกันเพียงเล็กน้อย
Other Abstract: This research book explores philosophical arguments regarding the teaching of kamma in Theravadā Buddhism. The prominent arguments are classified and put into two philosophical categories; ontological and ethical. In the ontological category the meaning and significance of kamma associated with its underlying realities are studied. It is, then, imperative to consider the inseparable cooperation of the mind, the intentional mental factor and some particular moral or immoral mental factors as the basic structure of kammic process. This portion leads to understanding philosophical arguments on the imponderability of kammic fruit, infinite regress of kammic cause, the existence of the first kammic cause and the non-substantiality of kamma. In the ethical category the meaning and fairness of kammic fruit along with personal freedom and responsibility are studied. This portion leads to understanding philosophical arguments on fairness, freewill and moral luck correlated to kamma. Before arguments are shown in subsequent chapters, kamma is thoroughly investigated in terms of natural order (kamma-niyāma). Also, the mind (citta) and intentional mental factor (cetanā-cetasika) as the fundamental entities underlying kamma, the classification of 29 mind-patterns which signify the origin of actions counted as kamma, the paths of consciousness in common people, and the intensity and function of kamma, are studied altogether in detail to ascertain that all arguments will be analyzed based on precise Buddhist ground. The result has found that the right understanding of kamma relates closely to the understanding of functioning mind in collaboration with relevant mental factors. Kamma in Dhamma language represents the ongoing mental process. Since kamma is not a fundamental entity, it merely exists conventionally. But due to its conventional appearance, kamma demonstrates a group of underlying fundamental entities interlocking and functioning together. The fruit of kamma seems unfair because it represents kammic outcomes in life and society. But the fruit of kamma is always fair and valid when considered from the inner level of personal feeling and habitual inclination. The Abhidhammic explanation regarding minds and their conscious paths can be brought to promote the explanation of kamma in Dhamma language with merely minor conflicts.
Description: กรรมและการมีอยู่ของกรรมในเชิงภววิทยา : แนวคิดว่าด้วย "กรรม" ; แนวคิดว่าด้วย "ภววิทยา" -- ข้อถกเถียงเรื่องกรรมในเชิงภววิทยา : กรรมและการตั้งเจตนา ; กระบวนการของกรรมและอจินไตย ; การถอยกลับไปไม่สิ้นสุดและปฐมกรรม ; กรรมและอนัตตา -- ขอถกเถียงเรื่องกรรมในเชิงจริยศาสตร์ : กรรมและความยุติธรรมของการรับวิบาก ; กรรมกับเจตจำนงเสรี ; วิบากกรรมและโชคทางศีลธรรม (moral luck) ; กระบวนการของกรรมและความยุติธรรมสองนัย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83518
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2020.3
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.RES.2020.3
Type: Technical Report
Appears in Collections:CUBS - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_Ma_Res_2563.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)86.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.