Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83523
Title: | เส้นทางชีวิตของนักโทษประหาร : รายงานผลการวิจัย |
Authors: | สุมนทิพย์ จิตสว่าง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | นักโทษ -- วิจัย ผู้ต้องหา นักโทษ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง “เส้นทางชีวิตของนักโทษประหาร” วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเส้นทางชีวิตของนักโทษประหารก่อนกระทำผิด ขณะกระทำผิด และขณะต้องโทษประหารชีวิต เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดของนักโทษประหาร และเพื่อศึกษาถึงความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตของนักโทษประหาร โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกนักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างเพศชาย 6 คน และเพศหญิง 4 คน รวม 10 คน ด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง (purposive Sampling) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างมีเส้นทางชีวิตก่อนเป็นนักโทษประหาร คือ มีภูมิหลังเป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มีเส้นทางชีวิตขณะกระทำผิด คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการกระทำผิดที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากรอาชีพ โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดกระทำผิดเป็นครั้งแรก หากแต่เดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตของการเป็นนักโทษประหาร เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่กดดัน หล่อหลอมให้ประกอบอาชญากรรม คือ การคบเพื่อน การเรียนรู้ทางสังคม การควบคุมตัวเองต่ำ รวมทั้งการไม่เกรงกลัวต่อโทษประหารขณะกระทำผิด สำหรับเส้นทางชีวิตขณะต้องโทษพบว่านักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างมีความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิต ประสบความเครียดขณะต้องโทษจำคุกเพื่อรอการประหาร หรือ อภัยโทษ และประสบปัญหาครอบครัวประสบปัญหาภายหลังต้องโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ แม้ผลการศึกษาจะพบว่านักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากกว่าครึ่งไม่มีความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตในขณะกระทำผิด หากแต่นักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตภายหลังที่ศาลได้พิพากษาคดีให้ต้องโทษประหาร สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา ได้แก่ การสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว การส่งเสริมการคบเพื่อนที่ดีให้แก่สมาชิกในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในสังคม การประชาสัมพันธ์ให้คนในสังคมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ให้แก่สมาชิกในสังคม การส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมเรียนรู้ในการควบคุมตนเอง การปฏิบัติต่อนักโทษประหารแยกจากผู้ต้องขังทั่วไป |
Other Abstract: | The objectives of the research entitled 'the Life Career of the Death Row Inmates' were: to study the lives of death row prisoners both before and while committing crimes as well as when serving death sentences in prison; to investigate the factors contributing to their criminal offences and; to examine a feeling of apprehension over the death penalty among them. This study was a qualitative research collecting and analyzing data from the in-depth interviews with 6 male and 4 female death row inmates selected by the purposive sampling technique. The research findings were that, firstly, regarding their social background, before becoming the death row inmates they were from either lower or lower-middle social class. Most of their highest education remained at primary school levels and their average earnings were less than 10,000 baht per month. Secondly it was found that, while committing crimes, most of them were not professional criminals as almost all interviewees were first-time offenders. They were sentenced to death penalty for the crimes driven by the emotionally stressful circumstances, the socialization by peers, the social learning and the low level of self-control, as well as the fearlessness in receiving the capital punishment at the moments they were perpetrating crimes. However, after getting the death penalty and while they were detained in prison, the death row prisoners were deeply apprehensive of death sentence and totally stressed about their await execution dates, the news about royal pardon and the family problems after being sentenced to death. In addition, although more than half of the participants were not afraid of receiving death penalty while they were perpetrating crimes, all of them became extremely fearful of capital punishment after being sentenced to death. The suggestions from the study were that, first of all, the family should be an important social unit cultivating love, caring and support within its members. Besides, the members of society particularly the children and teenagers should be strongly supported in socializing with the decent friends. Also, there should be a campaign aimed at publicizing and educating the basic knowledge of laws and legal issues so that the people in society could understand them correctly. Further, the society members should be fostered to hold onto the social values and norms of having a good way of life, and be encouraged to learn to effectively control themselves. Finally, the treatment of death row prisoners should be provided separately from other inmates. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83523 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pol - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumonthip Ch_Res_2556.pdf | 105.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.