Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83564
Title: | การพัฒนาฟิล์มบางนาโนเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของมะม่วง: รายงานการวิจัย (ปีที่2) |
Other Titles: | Development of nano thin film to prolong the shelf life of mango |
Authors: | ปราณี โรจน์สิทธิศักดิ์ กนกวรรณ เสรีภาพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ |
Subjects: | มะม่วง -- การเก็บและรักษา อาหาร -- การเก็บและถนอม ฟิล์มบาง Mango -- Preservation Food -- Preservation Thin films |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัย (2 ปี) นี้เป็นการศึกษาและพัฒนาสูตรตำรับฟิล์มบางเคลือบผิวระดับนาโนจากวัสดุชีวภาพไคโตซานให้มีความสามารถในการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสรีระวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวที่สำคัญของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่ผ่านการเคลือบผิวก่อนการเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ 13 องศาเซลเซียส เพื่อหากลไกทางสรีรวิทยาที่มีบทบาทในการช่วยยืดอายุการเก็บรักษามะม่วง โดยในปีที่ 1 เป็นการพัฒนาสูตรตำรับสารเคลือบผิวและตรวจสอบคุณลักษณะสารเคลือบผิวที่พัฒนาขึ้น จากผลการทดลองพบว่า ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ในช่วง 65,000 ถึง 410,000 กรัม/โมล สามารถละลายได้ดี (>98%) ในสารละลายกรดแอซิติกที่ความเข้มข้นอย่างน้อย 0.5% (โดยปริมาตร) และ Tween 80® ช่วยให้ฟิล์มที่เกาะบนผิวของวัสดุที่ไม่ชอบน้ำมีความต่อเนื่อง หากใช้มากเกินไปจะมีปัญหาเกี่ยวกับฟองที่เกิดขึ้น ดังนั้นสูตรตำรับสารเคลือบผิวที่มีส่วนผสมของไคโตซานจำเป็นจะต้องมีส่วนผสมของ Tween 80® เท่ากับ 0.1% (น้ำหนักต่อปริมาตร) ในสารละลายไคโตซานเข้มข้น 1% (น้ำหนักต่อปริมาตร) โดยใช้กรดแอซิติกที่ความเข้มข้น 0.5% (โดยปริมาตร) เป็นตัวทำละลาย และเทคนิคในการเคลือบผิวจะใช้วิธีการจุ่มลงในสูตรตำรับสารเคลือบที่พัฒนาขึ้น และในปีที่ 2 เป็นการนำสูตรตำรับสารเคลือบผิวที่มีส่วนผสมของไคโตซานที่พัฒนาขึ้นมาเคลือบบนผลมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยขั้นต้นทำการศึกษาผลของการใช้สารละลายไคโตซานที่เตรียมสดใหม่ และสารละลายไคโตซานที่ผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ทำให้ค่าความหนืดของสารละลายไคโตซานคงที่ จากการศึกษาผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาสารละลายไคโตซานต่อการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ที่อุณหภูมิเก็บรักษา 25 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 วัน พบว่าการใช้สารละลายไคโตซานที่เตรียมสดใหม่ช่วยลดการเก็ดโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วงน้ำดอกไม้ได้ดีกว่าการใช้สารละลายที่ผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นใช้วิธีการเตรียมสารละลายไคโตซานแบบเตรียมสดใหม่ในการเก็บรักษาผลมะม่วงน้ำดอกไม้ที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 14 วัน แล้วนำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสต่อจนถึงวันที่ 23 ของการทดลอง จากการศึกษาพบว่าผลมะม่วงน้ำดอกไม้ในชุดการทดลองที้สารละลายเคลือบผิวที่เตรียมจากไคโตซานน้ำหนักโมเลกุล 240,000 กรัม/โมล (MM-CTS) มีการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยกว่า ความแน่นเนื้อมากกว่า การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของเปลือกผลที่เป็นปกติ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำสูงวกว่า ปริมาณกรดที่ต่ำกว่า และการเกิดโรคน้อยกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ การใช้สารละลาย MM-CTS กระตุ้นกระบวนการป้องกันตัวเองของผลมะม่วงน้ำดอกไม้โดยเพิ่มการผลิต H₂ O₂ และยังกระตุ้นทำงานของเอนไซม์ catalase และ ascorbate peroxidase ดังนั้น ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุล 240,000 ดาลตันจึงมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวและคงไว้ซึ่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ |
Other Abstract: | This two year project was to study and develop the formulation of nano thin film solution containing chitosan to prolong the shelf-life of mango ‘Namdokmai’. The physiology of mango after coating with chitosan solution and stored at 25°C and 13°C was investigated. In the first year project, nano thin film solution containing chitosan was developed and characterized. The results suggested that chitosan with molecular weight of 65,000 – 410,000 g/mol is well dissolved in acetic acid with the concentration of 0.5%(v/v). Tween 80® can enhance the film to stick continuously on the hydrophobic surface of materials. However, overdose of Tween 80® caused foaming in the formulation. In general, nano thin film formulation containing chitosan should be added 0.1% (w/v) Tween 80® in 1% chitosan (w/v). Acetic acid with the concentration of 0.5%(v/v) should be used as a solvent of chitosan and the dipping technique is to be used in this project. For the second years, the optimal formula of chitosan coating solutions were applied on mango fruits by 2 means of preparation; freshly prepared and 14-days stored solution (the time that the solution viscosity was constant). Treated mango fruits were kept at 25°C. After 15 day of storage resulted in the lower anthracnose disease incident of mango fruits coated with freshly prepared coating solution than those of 14-days stored solutions. After that, freshly prepared coating solution were applied again on mango fruits, but the fruits were primarily stored at 13°C for 14 day before stored at 25°C until day 23. Postharvest physiological analysis revealed that mango fruits coated with 240,000 g/mol (MM-CTS) chitosan solution lost less their fresh weight, maintained higher fruit firmness, had normal peel appearance development, remained higher total soluble solids and lower titratable acidity plus the lower disease incident than other treatments. MM-CTS solution also activated defensive mechanism of mango fruit by increasing H₂ O₂ concentration and promoting activities of catalase and ascorbate peroxidase, the key antioxidant enzymes. Thus, 240,000 g/mol chitosan culminates in the extended shelf life and preserved acceptable attributes of ‘Nam Dok Mai no.4’ mangoes |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83564 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Metal - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pranee Ro_Res_2558_Y2.pdf | 5.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.