Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83669
Title: | ตัวรับรู้โพเทนซิโอเมทริกฐานเซลลูโลสสำหรับการตรวจวัดไอออนในสารคัดหลั่งไม่ต้องเจาะผ่านผิวหนัง |
Other Titles: | Non-invasive Cellulose-based potentiometric ion sensors for detection of biological fluids |
Authors: | นิภาพรรณ ฤาชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ |
Subjects: | เครื่องหมายทางชีวเคมี อิเล็กทรอไลต์ สารน้ำในร่างกาย -- การตรวจ โพเทนชิออเมตรี Biochemical markers Electrolytes Body fluids -- Examination Potentiometry |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบการตรวจวัดไอออน โดยทำการพัฒนาขั้วไฟฟ้าทำงาน และขั้วไฟฟ้าอ้างอิงฐานเซลลูโลส สำหรับประยุกต์ใช้เป็นตัวรับรู้ที่จำเพาะต่อไอออนระบบของแข็งชนิดใหม่ ที่มีราคาถูก และสามารถใช้ซ้ำได้ สำหรับการตรวจวัดไอออนในสารตัวอย่างทางชีวภาพแบบไม่ต้องเจาะผ่านทางผิวหนัง เช่น ปัสสาวะ หรือเหงื่อ โดยทำการเตรียมอนุภาคนาโนของทอง ซึ่งมีสภาพนำไฟฟ้าที่สูง พื้นที่ผิวมาก มาใช้สร้างขั้วไฟฟ้าทำงาน และใช้หมึกซิลเวอร์เป็นขั้วไฟฟ้าอ้างอิง โดยขั้วไฟฟ้าทำงานจะทำการเคลือบด้วยพอลิเมอร์ไฮโดรเจล และตามด้วยพีวีซีเมมแบรนที่ใส่ไอโอโนพอร์ที่มีความจำเพาะต่อไอออนที่สนใจลงไป โดยพอลิเมอร์โฮโดรเจล จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนกาวที่ช่วยให้พีวีซีเมมแบรนยึดติดพื้นผิวของขั้วไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ในขั้วไฟฟ้าอ้างอิงจะทำการเคลือบด้วยพอลิเมอร์ไฮโดรเจลที่เติมอนุภาคของเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ลงไป เพื่อช่วยในการกักเก็บอนุภาคของเกลือสำหรับเพิ่มความเสถียรของขั้วไฟฟ้าอ้างอิง จากผลการทดลองพบว่าการเคลือบขั้วไฟฟ้าอ้างด้วยพอลิเมอร์ไฮโดรเจลที่เติมอนุภาคของเกลือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และเสถียรภาพในการตรวจวัดได้เป็นอย่างดี โดยตัวรับรู้ที่จำเพาะต่อไอออนระบบของแข็งชนิดใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83669 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Metal - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipapan _Ru_RES_2562.pdf | 30.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.