Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83696
Title: | การปฏิรูปตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชนไทย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Thai Buddhist's Self-reform for Being with the other in Multicultural Society |
Authors: | ชาญณรงค์ บุญหนุน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา |
Subjects: | พุทธศาสนิกชน พหุวัฒนธรรมนิยม พหุวัฒนธรรมนิยม -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการวิจัย “การปฏิรูปตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชนไทย” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนะของพุทธศาสนิกชนไทยเกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันกับ “ผู้อื่น” ที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา ความเชื่อทางศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมือง ในที่นี้จะเน้นกรณีการอยู่ร่วมกับศาสนิกชนที่มีความเชื่อแตกต่างกัน 2. เพื่อศึกษาแนวคิดและท่าทีของพุทธศาสนิกชนไทยในกรณีการรณรงค์เรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญและอื่น ๆ ในฐานะกรณีตัวอย่างที่แสดงถึงความไม่สอดคล้องกับการยอมรับเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3. เพื่อสำรวจและประเมินความคิดและแนวทางการปฏิรูปตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมประชาธิปไตยที่ยอมรับความหลากหลายทางอัตลักษณ์ของบุคคล สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคนภายในรัฐ จากการสำรวจเอกสารและการสัมภาษณ์ พบว่าพุทธศาสนิกชนที่ให้สัมภาษณ์ได้ตระหนักถึงการดำรงอยู่ของผู้คนที่มีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรมในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนไทยมีขันติธรรมในทางศาสนาสูงนับแต่อดีตมาแล้ว พุทธศาสนิกชนไทยจึงไม่ใช่ผู้เริ่มต้นก่อความขัดแย้งทางศาสนาและวัฒนธรรม ความขัดแย้งต่าง ๆ มาจากภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนทั้งหมดยอมรับว่า ในปัจจุบัน เราต้องให้ความเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม กลุ่มทางศาสนาและวัฒนธรรมต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพุทธศาสนิกชนไทยส่วนใหญ่ยังมีแนวคิดแบบศาสนนิยมและชาตินิยม จึงไม่สามารถเปิดใจยอมรับความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรมศาสนาในสังคมไทยได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมองว่าศาสนาอื่นเป็นภัยต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในสังคมไทยและเป็นภัยต่อชาติ พุทธศาสนิกชนไทยส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการบัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติไทยไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่มีเหตุผล เพราะนอกจากจะช่วยรักษาเจตนารมณ์ของพระมหากษัตริย์ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ตลอดไปแล้วยังช่วยให้ชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบร่มเย็น ทั้งยังเชื่อว่า แนวคำสอนและท่าทีอันเปิดกว้างต่อศาสนาอื่น ๆ ของพระพุทธศาสนาจะช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เป็นกว้างต่อเสรีภาพทางศาสนา ในประเด็นการปฏิรูปตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของพุทธศาสนิกชน มีข้อสรุปเป็น 2 แนวทางหลัก คือ (1) การปรับแนวปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนและองค์กรทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมเสียใหม่ให้สอดรับกับการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในอนาคต โดยการทบทวนการตีความคำสอนและแนวปฏิบัติของตนให้ถูกต้องตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก และการทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาด้วยการสานเสวนาระหว่างศาสนา ซึ่งมีกิจกรรมหรือโครงการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์โดยไม่แบ่งแยกกลุ่มทางศาสนาเป็นแกนกลางในการร่วมมือ (2) การปฏิรูปในระดับโครงสร้างของรัฐ-ศาสนาให้สอดรับกับสังคมเสรีประชาธิปไตยและความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม คือ ต้องแยกศาสนาออกจากรัฐ รัฐต้องเป็นกลางระหว่างศาสนา ไม่สนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ ต้องรื้อสร้างอัตลักษณ์ไทยหรือนิยามความเป็นไทยใหม่ที่ไม่อิงอยู่กับอัตลักษณ์ทางศาสนาของคนส่วนใหญ่ คือ พระพุทธศาสนาหรือความเป็นพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนิกชนที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมเห็นด้วยกับข้อ (1) แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อ (2) ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยม (ซึ่งเป็นกลุ่มน้อยมาก) เห็นด้วยกับทั้งข้อ (1) และ (2) ผู้วิจัยเห็นด้วยกับแนวทั้งสอง เพราะผู้วิจัยเชื่อว่าการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐไทยใหม่ รวมทั้งการปฏิรูปตนเองในระดับจิตสำนึกแห่งความเป็นไทยและความเป็นชาติเท่านั้น จึงจะช่วยให้พลเมืองไทยที่มีความแตกต่างด้านความเชื่อและแนวปฏิบัติทางศาสนาสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ด้วยดีและมีสันติสุขอย่างแท้จริง |
Other Abstract: | The research project " Thai Buddhist’s self-reform for being with the other in multicultural society" has the following objectives: 1. To study Thai Buddhists' views on multicultural issues and coexistence with "others" with differences in ethnic, language, religious belief and political ideologies. Here, we will focus on the case of living with different believers. 2. To study the concepts and stances of Thai Buddhists in the event of a campaign calling for the provision of Thai national Buddhism in the constitution and so on, as examples show an inconsistency with the acceptance of multiculturalism. 3. To explore and evaluate ideas and approaches to self-reform for coexistence with others in a democratic society that embraces the diversity of individual identity, rights, liberty and equality of all human beings within the State. Based on the surveys of documents and interviews, It was found that from the past to the present, all interviewed Buddhists were aware of the existence of people with religious and cultural differences in Thai society, and believed that Thai Buddhists had high religious tolerance since the past, so they were not the starters of religious and cultural conflicts. Conflicts come from the outside, which are considered threats to Buddhism. All Buddhists agree that today we must respect cultural differences. Religious and cultural groups must have mutual respect. However, as most Thai Buddhists still have religious and nationalist ideas, therefore still unable to fully embrace the equality of culture and religion in Thai society. Because other religions are seen as a threat to the stability of Buddhism and the nation, most Thai Buddhists consider the Thai national Buddhism in the constitution to be reasonable. In addition to maintain the spirit of the King in the preservation of Buddhism, it also helps Thai people living together in peace and harmony. They believe that the doctrine and open attitude of Buddhism will help promote Thai society as a multicultural society that is broad against religious freedom. On the issue of self-reform for coexisting with others in a multicultural society, There are two main approaches: (1) Reshaping practices of Buddhists and Buddhist organizations in Thai society on the relationship between religion and culture to be in line with being a multicultural society in the future, Reviewing the interpretation of their teachings and practices in accordance with the doctrine of the Tipitaka, and form the good understanding between religions through interreligious dialogue, which has activities or projects to serve the public benefit without separating religious groups as the core of cooperation, (2) reforms at the structural level of the state-religion to conform to a free, democratic and multicultural society. The state must be neutral between religions. It does not support a particular religion, and above all, we must reconstruct “Thai identity”, or redefine “Thai-ness” that is not based on the religious identity of majority group, that is Buddhist and Buddhism. The most of all interviewed Buddhists who have conservative ideas agree with (1) but disagree with (2), while Buddhists with liberal ideas which are very small groups agree on both (1) and (2). I agree with both lines because I believe that reorganization of the relationship between religion and the state, and only self-reform at the consciousness level of Thai-ness and nationality will enable Thai citizens who differ in their beliefs and religious practices to live together in harmony and in true peace. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83696 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | CUBS - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Channarong_Bo_Res_2562.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.