Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83702
Title: การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี : รายงานการวิจัย
Other Titles: Changing of land use affecting the temperature variation in Huay Sai Royal Development Study Center, Cha-am District, Petchaburi Province
รายงานการวิจัย (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Authors: เสาวนีย์ วิจิตโกสุม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- เพชรบุรี
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
ภาวะโลกร้อน -- ไทย -- เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวโน้มและลักษณะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในพื้นที่ศึกษา เพื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของพื้นที่ศึกษา ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ศูนย์การศึกษาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติและช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการศึกษาโดยการแปรภาพถ่ายดาวเทียม Lansat-5 TM ในปี พ.ศ. 2533 ปี พ.ศ. 2543 และปี พ.ศ. 2553 ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทป่าไม้มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 4,276.02 ไร่ ในปี พ.ศ. 2533 เป็น 7,799.83 ไร่ ในปี พ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้นเฉลี่ยนร้อยละ 2.75 ต่อปี) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ป่ากับปัจจัยทางด้านสภาพภูมิอากาศประกอบด้วยอุณหภูมิปริมาณฝน ความชื้นสัมพัทธ์ และการระเหยของน้ำ โดยการวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) พบว่า พื้นที่ป่าไม้มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ รวมทั้งปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศอื่น ผลการศึกษาทางสถิติสามารถระบุได้เพียงทิศทางความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นที่ป่าไม้และปัจจัยอุณหภูมิ รวมทั้งปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม กล่าวคือ พื้นที่ป่าไม้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณน้ำฝน และมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการระเหยของน้ำ ถึงแม้ว่า ผลของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้กับปัจจัยสภาพภูมิอากาศไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่จากการศึกษาความแตกต่างของอุณหภูมิช่วงกลางวันและอุณหภูมิช่วงกลางคืนของพื้นที่ศึกษา โดยค่าพิสัยมีแนวโน้มลพลงจากปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2553 อย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2553 ที่พื้นที่ศึกษามีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งช่วงของพิสัยที่แคบลงนี้อาจเป็นผลมาจากกลไกกระบวนการสังเคราะห์แสงและการการหายใจของพืชซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า ป่าไม้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของพื้นที่ได้
Other Abstract: The study of the changing of land use affecting the temperature variation in Huay Sai Royal Development Study Center, Cha-am district, Petchaburi province has been conducted in order to study the changing of land use including the tendency and characteristic of temperature variation in the study area. The study results will be applied as the database for setting development plan of Huay Sai Royal Development Study Center in order to improve natural resources surrounding the center and to resolve the climate change problem also. The changing of land use was proceeded by the analysis of satellite image taking by Lansat-5 TM in 1990, 2000 and 2010. The analysis results show that the forest area have increased from 4,276.02 Rais in 1990 to 7,799.83 Rais in 2010 (increasing rate is 2.75% per year). In addition, the analysis of the relationship between the changing of land use and climatic factors; consist of temperature, rainfall, relative humidity and evaporation, by correlation analysis method showed that the forest area does not relate to temperature and other climatic factors also. The results of statistical approach can only define the trend of the relationship between forest area and temperature and other climatic factors. It can conclude form the statistical approach that forest area show direct variation to rainfall and show reverse variation to temperature, relative humidity and evaporation. Although the impact of forest area change did not show the statistic significant to the climatic factors, the study of the differentia between temperature during daytime and nighttime showed the obviously narrow temperature range of daytime and nighttime temperature from 1981 to 2010. This result corresponded to the land use change during 1990 to 2010 which the forest area increased. This narrow temperature range may be impacted by the photosynthesis and respiration processes conform to the conclusion of many researches which conclude that forest area is one factor that can reduce the temperature.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83702
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_Wi_Res_2554.pdf90.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.