Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83819
Title: | งานวิจัยกระบวนการเปลี่ยนแปลง "องค์ประกอบน้ำ" ในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเกาะรัตนโกสินทร์และพื้นที่รอบเคียง |
Authors: | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การเกิดเป็นเมือง การพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรงเทพฯ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยไม่คำนึงถึงบริบททางภูมิศาสตร์ลุ่มแม่น้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยทั้งในระดับอนุภาคและมหภาค ทั้งที่มีงานศึกษาและบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ยืนยันถึงลักษณะการตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมบริเวณศูนย์กลางของกรุงเทพและปริมณฑล หรือบางกอก ว่าได้รับการบุกเบิกให้เป็นชุมชนสวนผลไม้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะสัณฐาน “องค์ประกอบน้ำ” ภายในเกาะรัตนโกสินทร์และพื้นที่รอบเคียงในยุคสมัยต่าง ๆ โดยการสร้างแผนที่เชิงวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเครือข่ายลำคลองกับรูปแบบตั้งถิ่นฐาน ทั้งในระดับมหภาคครอบคลุมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในระดับอนุภาคครอบคลุมพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ จากแผนที่ประวัติศาสตร์บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถประมวลข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ ลักษณะบางประการจากสัณฐานการตั้งถิ่นฐานของ “บาง” ในอดีต แสดงให้เห็นว่า ชุมชน “บาง” มีวิวัฒนาการพร้อมกับการพัฒนาเครือข่ายองค์ประกอบน้ำบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ประเภทขององค์ประกอบน้ำที่พัฒนาขึ้นมานี้มีอยู่ 5 ประเภท ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาและขยายขอบเขตพื้นที่ชุมชนสวนผลไม้บริเวณบางกอก องค์ประกอบน้ำประเภทเครือข่ายลำคลองสวนผลไม้ในกรุงรัตโกสินทร์ที่พัฒนาขึ้นมากก่อนสถาปนากรุงมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากองค์ประกอบน้ำประเภทเครือข่ายคลองคูเมืองใหม่ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83819 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Arch - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Terdsak_Ta_Res.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 44.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.