Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83848
Title: ประสิทธิผลของเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่งและเฝือกสบฟันชนิดเสถียรในการรักษาอาการของแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนชนิดเข้าที่ได้เอง : รายงานการวิจัย
Other Titles: Effectiveness of repositioning splints and stabilization splints in the treatment of symptomatic temporomandibular joint disk displacement with reduction
Authors: พนมพร วานิชชานนท์
อตินุช มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: ทันตกรรมบูรณะ
วัสดุบูรณะ (ทันตกรรม)
Dentistry, Operative
Fillings (Dentistry)
Issue Date: 2547
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิผลของเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่งใส่เฉพาะกลางคืนและเฝือกสบฟันชนิดเสถียรในการรักษาอาการของแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนชนิดเข้าที่ได้เอง วิธีศึกษา: นำผู้ป่วย 37 คนที่มีอาการของแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนชนิดเข้าที่ได้เอง ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดผู้ป่วยวิจัยเข้าการศึกษาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มหนึ่งได้รับเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่ง อีกกลุ่มได้รับเฝือกสบฟันชนิดเสถียร ก่อนการรักษาให้ผู้ป่วยประเมินอาการของตนเอง ด้วยสเกลวิชวลแอนะล็อก ทั้งอาการปวดข้อต่อขากรรไกร และปัญหาการใช้ขากรรไกร 3 อย่าง ซึ่งภายหลังนำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนการใช้ขากรรไกรโดยรวม รวมทั้งตรวจอาการแสดงทางคลินิก ให้ผู้ป่วยใส่เฝือกสบฟันสบฟันเฉพาะตอนกลางคืน ประเมินผลที่ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ด้วยวิธีเดียวกับก่อนการรักษา หากคะแนนอาการปวดและคะแนนการใช้ขากรรไกรลดลงเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 50 จากคะแนนก่อนการรักษา ถือว่าอาการดีขึ้นเด่นชัด รวมทั้งประเมินผลจากการสอบถามการเปลี่ยนแปลงอาการโดยรวม การเปลี่ยนแปลงเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร และผลกระทบจากการใส่เฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่งต่อการสบฟันด้วย ผลการศึกษา: ที่ระยะเวลา 10 สัปดาห์ กลุ่มที่รักษาด้วยเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่งมีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปวดและปัญหาการใช้ขากรรไกรดีขึ้นเด่นชัด (8 ใน 18 ราย หรือร้อยละ 44.4) มากกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยเฝือกสบฟันชนิดเสถียร (4 ใน 19 ราย หรือร้อยละ 21.1) แต่ไมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (proportional test, P= .128) กลุ่มที่รักษาด้วยเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่งมีจำนวนผู้ที่ไม่มีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกรมากกว่า (SS: 3 ใน 19 หรือ ร้อยละ 15.8, ARS: 9 ใน 18 หรือ ร้อยละ 50, P=.02) และรู้สึกว่าเสียงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยเฝือกสบฟันชนิดเสถียร (p=.013) แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อให้ผู้ป่วยประเมินอาการของตนโดยรวม (P=.505) และไม่ปรากฎภาวะฟันหลังสบเปิดในกลุ่มที่รักษาด้วยเฝือกสบฟันชนิดจัดตำแหน่ง สรุปการศึกษา: เฝือกสบฟันจัดตำแหน่งใส่เฉพาะกลางคืนเป็นเวลา 10 สัปดาห์ มีแนวโน้มให้ผลทางคลินิกในการรักษาอาการแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนชนิดเข้าที่ได้เองดีกว่าเฝือกสบฟันเสถียร แต่ประสิทธิผลของเฝือกสบฟันทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาจากผลการรักษาที่ชัดเจนเป็นหลัก
Other Abstract: Objectives: To evaluate the effectiveness of nighttime use of repositioning splints (ARS) with that of stabilization splints (SS) in the treatment of symptomatic temporomandibular joint disk displacement with reduction. Method: Thirty-seven patients with TMJ disk displacement with reduction (DDR) who fulfilled the eligibility criteria participated in a randomized controlled trial. They were randomly assigned to one of the two groups: anterior repositioning splint (ARS) group or stabilization splint (SS) group using simple randomization. Before treatment, by using visual analog scales, patients assessed their pain VAS and functional VAS on 3 activities which were averaged for composite functional scores. They were also examined for clinical signs. Patients wore their assigned splints only at night. After 10 weeks of treatment, evaluation was performed using the same method as the pretreatment evaluation. Those who demonstrated at least 50% reduction of both pain and functional scores were counted as important improvement. Adverse occlusal changes related to nighttime use of anterior repositioning splints was also evaluated. Results: At the 10-week appointment, the ARS group demonstrated higher number of patients with important improvement (8 of 18, 44.4%) than did the SS group (4 of 19, 21.1%). However, no significant difference was found between groups (Proportional test, P=.128). The ARS group clinically demonstrated more patients with no clicking sound than did the SS group (SS: 3 of 19 or 15.8% vs. ARS: 9 of 18 or 50%, P=.02) and perceived better changes in joint sound (P=.013). No significant difference was shown in the overall symptoms self-assessed by patient between groups (P=.505). No serious occlusal changes were associated with nighttime use of the ARS. Conclusion: The nighttime use of ARS tends to provide better clinical outcome in the treatment of symptomatic TMJ DDR than that of the SS, but no statistical significant difference is demonstrated between these two treatment groups when an important improvement is considered as an outcome measure.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83848
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanomporn Va_Res_2547.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)7.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.