Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.advisorฮิโรฟุมิ ทานากะ-
dc.contributor.authorอธิวัฒน์ สายทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2024-02-05T02:27:57Z-
dc.date.available2024-02-05T02:27:57Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ความสามารถทางการกีฬา และหน้าที่การทำงานของหลอดเลือดระหว่างหญิงข้ามเพศ เพศชายโดยกำเนิด และเพศหญิงโดยกำเนิด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดแต่ไม่ได้ตัดอัณฑะจำนวน ช่วงอายุ 27±4 ปี 15 คน หญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดและตัดอัณฑะ ช่วงอายุ 30±4 จำนวน 15 คน ปี เพศชายโดยกำเนิด ช่วงอายุ 28±5 จำนวน 15 คน และเพศหญิงโดยกำเนิด ช่วงอายุ 29±5 จำนวน 15 คน โดยจับคู่ระหว่างกลุ่มให้มีความใกล้เคียงกันด้วยอายุและระดับกิจกรรมทางกาย และทำการวัดตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือด องค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ และโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของหลอดเลือด ผลการศึกษา พบว่า ส่วนสูง น้ำหนัก และมวลกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายของหญิงข้ามเพศมากกว่าเพศหญิงโดยกำเนิด แต่น้อยกว่าเพศชายโดยกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เทสโทสเตอโรนในเลือดมีระดับลดลง ในขณะที่อีตราไดออลมีระดับเพิ่มขึ้นทั้งในหญิงข้ามเพศและเพศหญิงโดยกำเนิดเมื่อเปรียบเทียบกับเพศชายโดยกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แรงสูงสุดของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่า รวมถึงความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกายของเพศชายโดยกำเนิดมีค่ามากกว่าหญิงข้ามเพศและเพศหญิงโดยกำเนิด โดยที่หญิงข้ามเพศและเพศหญิงโดยกำเนิดมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความอ่อนตัวที่ทำการทดสอบด้วยท่านั่งงอตัวไปด้านหน้าไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ในการทดสอบสมรรถภาพทางแอนแอโรบิกด้วยวิธีของวินเกต เพศหญิงโดยกำเนิดมีค่าไม่แตกต่างกับหญิงข้ามเพศ แต่มีค่าน้อยกว่าเพศชายโดยกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในส่วนของเม็ดเลือดแดง ฮีมาโทคริท ฮีโมโกลบิน และไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินของเพศหญิงโดยกำเนิดและหญิงข้ามเพศมีระดับต่ำกว่าเพศชายโดยกำเนิด ในขณะที่น้ำตาลกลูโคสในพลาสมาช่วงอดอาหารของเพศหญิงโดยกำเนิดมีระดับต่ำกว่าเพศชายโดยกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในการประเมินความหนาของผนังหลอดเลือดแดงแคโรทิด และความเร็วของคลื่นความดันชีพจรระหว่างข้อเท้าและต้นแขนที่เป็นการทดสอบการแข็งตัวของหลอดเลือด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หญิงข้ามเพศที่เปลี่ยนแปลงจากเพศชายไปเป็นเพศหญิงด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดมีสมรรถภาพทางกายด้อยกว่าเพศชายโดยกำเนิด แต่ไม่แตกต่างกับเพศหญิงโดยกำเนิด ซึ่งการศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหญิงข้ามเพศที่ใช้ฮอร์โมนบำบัดระยะยาวไม่ปรากฏข้อได้เปรียบเชิงสมรรถภาพของเพศชายตามเพศกำเนิดของตนแล้ว-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate physical fitness and performance and vascular function in transgender women compared with cisgender men and women. Transgender women who had been taking hormone therapy without orchiectomy (27±4 years; n=15) and with orchiectomy (30±4 years; n=15) were compared with cisgender men (28±5 years; n=15) and cisgender women (29±5 years; n=15) who were matched for age and physical activity level. All subjects completed the measurements of blood biochemistry, body composition, health-related and skill-related physical fitness, and vascular structure and function. Height, body weight, and whole-body lean mass of transgender women were greater than women but lower than men (all p<0.05). Blood concentration of testosterone was lower and estradiol was higher in transgender women and cisgender women than men (p<0.05). Knee extension/flexion peak torque and maximal oxygen consumption were highest in men (p<0.05) but were not different between cisgender women and transgender women. No significant group difference was observed for flexibility as assessed by the sit and reach test. Cisgender women and transgender women recorded similar Wingate anaerobic power that was lower than men (p<0.05). Red blood cell count, hematocrit, hemoglobin, and HbA1C concentrations were lower in women and transgender women than men while fasting plasma glucose concentration was lower in women than men (all p<0.05). Carotid artery intima-media thickness and brachial-ankle pulse wave velocity, a measure of arterial stiffness, were not significantly different among the groups. In conclusion, physical fitness of transgender women who transitioned from male to female by hormone therapy were lower than cisgender men but similar to cisgender women. The present cross-sectional study suggests that the fitness advantage of male sex appears to disappear in transgender women after a prolonged period of hormone replacement therapy.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleอิทธิพลของฮอร์โมนบำบัดระยะยาวที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและหน้าที่การทำงานของหลอดเลือดในหญิงข้ามเพศ-
dc.title.alternativeInfluences of long-term hormone therapy on physical fitness and vascular function in transgender women-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178608339.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.