Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83935
Title: | ผลของรูปแบบการออกกำลังกายที่แตกต่างกันต่อดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น |
Other Titles: | Effects of different exercise modalities on apnea-hypopnea index and oxidative stress in patients with obstructive sleep apnea |
Authors: | ศุภวิชญ์ อิทธินิรันดร |
Advisors: | วรรณพร ทองตะโก นฤชา จิรกาลวสาน คริสโตเฟอร์ อี ไคลน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน (การฝึกออกกำลังกายที่ระดับความหนักปาน กลางต่อเนื่อง การฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับช่วง และการฝึกกล้ามเนื้อหายใจ) ที่มีต่อดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วและภาวะเครียดออกซิเดชันใน ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อายุ 20-50 ปี เพศชายและหญิง จำนวน 39 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลางต่อเนื่อง (MICT) จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับ ช่วง (HIIT) จำนวน 10 คน กลุ่มที่ 3 ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจ (IMT) 10 คน และกลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุม (CON) จำนวน 10 คน ทำการฝึก 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์สำหรับกลุ่ม MICT และ HIIT ส่วนกลุ่ม IMT ทำการฝึก 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบ ข้อมูลทางสรีรวิทยา ตัวแปรด้านการหลับ ตัวแปรด้านภาวะเครียดออกซิเดชัน ตัวแปรด้านไซโตไคน์ ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อหายใจ ตัวแปรด้านการอักเสบภายในทางเดินหายใจ ตัวแปรด้านความสามารถทางแอโรบิก และตัวแปรด้านคุณภาพชีวิต จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสมที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่ม HIIT มีค่าเฉลี่ยมวลไขมัน เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ระยะ หลับที่ไม่มีตากระตุกขั้นที่ 2 ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วระยะหลับที่ไม่มีตากระตุก ดัชนีการหยุดหายใจและ หายใจแผ่วระยะหลับที่มีตากระตุก ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วขณะนอนหงาย ดัชนีการหายใจแผ่ว มาลอนไดอัลดีไฮด์ อินเตอร์เฟอรอนอินดิวซ์โปรตีน เท็น สัดส่วนของไนตริกออกไซด์ขณะหายใจออก คะแนนแบบสอบถาม ESS, PSQI ลดลง (p<.05) มีค่าเฉลี่ยระยะหลับที่ไม่มีตากระตุกขั้นที่ 3 ซูเปอร์ ออกไซด์ ดิสมิวเทส อินเตอร์ลิวคินวันแอนตาโกนิสต์รีเซ็ปเตอร์ ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออก ในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที แรงดันหายใจเข้าสูงสุด แรงดันหายใจออกสูงสุด สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด และคะแนนแบบสอบถาม FOSQ-30, SF-36 เพิ่มขึ้น (p<0.05) ส่วนกลุ่ม MICT พบว่า ระยะหลับที่ไม่มีตากระตุกขั้นที่ 2 ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วระยะหลับที่ไม่มีตากระตุก ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วระยะหลับที่มีตากระตุก ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วขณะนอนหงาย ดัชนีการหายใจแผ่ว สัดส่วนของไนตริกออก ไซด์ในลมหายใจออก คะแนนแบบสอบถาม ESS, PSQI ลดลง (p<.05) มีค่าเฉลี่ยระยะหลับที่ไม่มีตากระตุกขั้นที่ 3 อินเตอร์ลิวคินวันแอนตาโกนิสต์รีเซ็ปเตอร์ ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที แรงดันหายใจเข้าสูงสุด แรงดัน หายใจออกสูงสุด สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด และคะแนนแบบสอบถาม FOSQ-30, SF-36 เพิ่มขึ้น (p<0.05) และกลุ่ม IMT พบว่า ค่าเฉลี่ยตัวแปรดัชนี การหยุดหายใจและหายใจแผ่ว ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วระยะหลับที่ไม่มีตากระตุก ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วขณะนอนหงาย ดัชนีการ หายใจแผ่ว สัดส่วนของไนตริกออกไซด์ในลมหายใจออก คะแนนแบบสอบถาม ESS, PSQI ลดลง (p<.05) มีค่าเฉลี่ยอินเตอร์ลิวคินวันแอนตาโกนิสต์รีเซ็ปเตอร์ ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ ในเวลา 1 นาที แรงดันหายใจเข้าสูงสุด แรงดันหายใจออกสูงสุด และคะแนนแบบสอบถาม FOSQ-30, SF-36 เพิ่มขึ้น (p<0.05) นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่ม MICT และกลุ่ม HIIT มีค่าเฉลี่ยตัวแปรดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว และดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วระยะหลับที่ไม่มีตา กระตุกแตกต่างกับกลุ่ม CON และกลุ่ม HIIT มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่กับกลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการใช้ ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่ม IMT และกลุ่ม CON และยังมีคะแนนค่าเฉลี่ยแบบสอบถาม SF-36 เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่ม CON (p<.05) สรุปได้ว่า การออกกำลังกายทุกรูปแบบ (MICT, HIIT, IMT) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ส่งผลดีต่ออาการของผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะ หลับจากการอุดกั้น นอกจากนี้ การฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับช่วง (HIIT) ยังส่งผลดีต่อภาวะเครียดออกซิเดชันและไซโตไคน์ต่อผู้ป่วยอีกด้วย |
Other Abstract: | The objective of this study was to investigate the effects of different exercise modalities on Apnea-Hypopnea Index (AHI) and oxidative stress in patients with Obstructive Sleep Apnea (OSA). Thirty-nine patients with OSA aged 20 – 50 years old were divided into 4 groups; Moderate intensity continuous training group (MICT; n=9), High intensity interval training group (HIIT; N=10), Inspiratory muscle training group (IMT; n=10), and control group (CON; n=10). Participants in MICT group and HIIT group exercised 3 days/week for 12 weeks while participants in IMT group exercised 5 days/week for 12 weeks. Physiological data, sleep, oxidative stress, cytokine, pulmonary function, respiratory muscle strength, bronchial inflammation, aerobic capacity and quality of life (QoL) were analyzed during Pre- and Post-test. Mixed ANOVA was conducted in this study. Differences considered to be significant at p-value <.05. The results indicated that after 12 weeks, HIIT group decreased fat mass, percent of fat mass, systolic blood pressure, non-rapid eye movement (NREM) stage 2, AHI, NREM AHI, rapid eye movement (REM) AHI, supine AHI, hypopnea index, malondialdehyde (MDA), interferon-induced protein 10 (IP-10), fraction of exhaled nitric oxide (FENO), ESS, PSQI. (p<.05) Moreover, HIIT increased NREM stage 3, superoxide dismutase (SOD), interleukin-1 receptor antagonist (IL-1ra), forced vital capacity (FVC), forced expiratory volume in one second (FEV1), Peak expiratory flow (PEF), maximum voluntary ventilation (MVV), maximal inspiratory pressure (MIP), maximal expiratory pressure (MEP), maximal oxygen consumption (VO2peak), FOSQ-30, and SF-36 (p<.05). MICT group decreased NREM stage 2, AHI, NREN AHI, REM AHI, supine AHI, hypopnea index, FENO, ESS, PSQI and increased NREM stage 3, IL-1ra, FVC, MVV, MIP, MEP, VO2peak , FOSQ-30, and SF-36 (p<0.5). IMT group decreased AHI, NREM AHI, supine AHI, FENO, ESS, PSQI and increased FVC, PEF, MVV, MIP, MEP, FOSQ-30, and SF-36. Therefore, MICT group and HIIT group had significantly lower AHI, NREM AHI compared to CON group. HIIT group also had significantly higher FVC than CON group, higherVO2peak than IMT and CON group. Moreover, HIIT group had significantly higher SF-36 score than CON group (all p<.05). In conclusion, all of types of exercise are beneficial for patients with OSA. Furthermore, High intensity interval training (HIIT) also improves oxidative stress and cytokine in these patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83935 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6373001039.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.