Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83951
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพย์นภา หวนสุริยา | - |
dc.contributor.author | ภัทรพงศ์ สุทธิรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T02:49:31Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T02:49:31Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83951 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | แม้จะมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นปรากฏการณ์การให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลอ้างอิงคุณงามความดีในอดีตเพื่อกระทำสิ่งที่ผิดศีลธรรมได้ แต่งานวิจัยใดที่ศึกษากลไกทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวยังมีน้อย งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง และเปรียบเทียบว่าระหว่างแบบจำลองเครดิตทางศีลธรรมและการรับรองทางศีลธรรม กลไกใดที่ช่วยอธิบายการเกิดพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเองได้ดีกว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 177 คน ที่ร่วมทำแบบสอบถามออนไลน์ โดยถูกสุ่มเข้าสู่เงื่อนไขที่ได้รับการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรม หรือ เงื่อนไขควบคุม แล้วตอบมาตรวัดภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตน จากนั้นได้เล่นเกมสุ่มเลขเพื่อรับรางวัลซึ่งมีโอกาสโกงได้ โดยสุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง ครึ่งหนึ่งเข้าสู่สถานการณ์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่มีการย้ำเตือนกติกาการเล่นเกม อีกครึ่งหนึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คลุมเครือซึ่งมีการย้ำเตือนกติกาการเล่นเกมอย่างชัดเจน แล้วบันทึกว่าผู้เข้าร่วมการทดลองเล่นเกมเกินที่กติกากำหนดไปกี่ครั้ง จากนั้นตอบมาตรภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนที่แทรกอยู่ในแบบประเมินอีกชุดหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิเคราะห์สมมุติฐานที่ 1 ด้วย independent sample t-test พบว่า กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมมีแนวโน้มที่จะโกงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ความแตกต่างที่พบไม่ถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนปรากฏการณ์ให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง ส่วนการทดสอบสมมุติฐานที่ 2 พบว่าอิทธิพลทางทางอ้อมของการเหนี่ยวนำความทรงจำทางศีลธรรมส่งผ่านของภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนไม่มีนัยสำคัญ พบเพียงว่าการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมกระตุ้นให้บุคคลมีภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนที่สูงขึ้น แต่ระดับภาพลักษณ์ทางศีลธรรมไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมโกง ส่วนการวิเคราะห์สมมุติฐานที่ 3 พบว่าความคลุมเครือของสถานการณ์ไม่มีอิทธิพลกำกับอิทธิพลทางอ้อมของการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมที่ส่งผ่านภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนไปยังพฤติกรรมโกง นอกจากนี้ เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ 4 กลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเองเป็นไปตามแบบจำลองเครดิตทางศีลธรรมหรือแบบจำลองการรับรองทางศีลธรรม ผู้วิจัยนำข้อมูลเฉพาะผู้ที่แสดงพฤติกรรมโกงไปทดสอบความแปรปรวนสามทาง ระหว่าง 2(การเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรม) x 2(ความคลุมเครือของสถานการณ์) และ 2(ช่วงเวลาที่วัดภาพลักษณ์ทางศีลธรรม) ผลพบว่าโดยรวมคะแนนภาพลักษณ์ทางศีลธรรมลดลงหลังจากการโกงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ตัวใดมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ผลวิเคราะห์อิทธิพลหลักย่อยพบว่า มีเพียงเงื่อนไขที่มีการเหนี่ยวนำความทรงจำศีลธรรมเท่านั้นที่คะแนนภาพลักษณ์ทางศีลธรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่คลุมเครือหรือไม่ แม้จะไม่พบหลักฐานพฤติกรรมการให้สิทธิพิเศษทางศีลธรรมแก่ตนเอง แต่ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตัวตนทางศีลธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อถูกเหนี่ยวนำให้นึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมศีลธรรม และการเหนี่ยวนำความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมศีลธรรมอาจทำให้บุคคลทำพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมน้อยลง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการออกแบบสถานการณ์หรือการแทรกแซงที่ช่วยลดพฤติกรรมโกงได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Despite prior research demonstrating moral self-licensing—the phenomenon in which individuals induced to perform or recall their previous moral actions are more likely to later allow themselves to engage in immoral behaviors—studies investigating the psychological mechanism underlying this phenomenon are still lacking. This study examines moral self-licensing behaviors and compares the moral credit model and credential model to determine which has a more significant impact on moral self-licensing behaviors. In this study, a total of 177 undergraduate participants completed an online questionnaire measuring moral self-image and were randomly divided into two groups. One group was induced to recall their moral behaviors, while the other group served as a control condition. Participants then played a lucky draw game for three trials. They had an opportunity to cheat by not stopping after the three-trial quota was reached. Half of the participants in each group were further randomly assigned to either ambiguous scenario where the game rules were displayed once and no reminder of the number of trials they had played and what the limit was. The other half was in the unambiguous scenario with the game rules explicitly reminded at the beginning of every trial. After the third trial, the number of trials participants played, violating the game rule, was recorded as cheating behavior. Subsequently, the participants filled out another questionnaire with the moral self-image scale embedded. The result shows that the moral recall induction group tends to cheat less than the control group, but the difference is not significant, refuting Hypothesis 1. Consequently, there is no empirical evidence of moral self-licensing. Hypothesis 2 is also not supported as the mediating effect of moral self-image is also non-significant. Although moral recall induction significantly increases participants’ moral self-image, the level of moral self-image is not related to cheating behavior. Furthermore, the situational ambiguity did not moderate the indirect effect of moral recall induction on cheating behavior through moral self-image, thus Hypothesis 3 is not supported. To examine Hypothesis 4 which aims to compare the moral credit model and moral credential model as potential mechanisms behind moral self-licensing, only the data of those who cheated was subjected to three-way ANOVA between 2(Induction) x 2(ambiguity scenario) x 2(time).There is a statistically significant overall reduction in moral self-image. None of the interaction effects is significant, suggesting that the reduction in moral self-image is the same across the conditions. However, additional analysis shows a significant simple main effect, i.e., there is a significant drop in moral self-image score in the moral recall induction group but not in the control group, regardless of whether the scenario was ambiguous or non-ambiguous. While there is currently no conclusive evidence supporting moral self-licensing, this research demonstrates that the moral self can be influenced when prompted to recall one’s past moral behaviors. The induction of moral recall has been found to reduce cheating behavior, which can be advantageous for designing situations or intervention to discourage cheating | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Psychology | - |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | - |
dc.title | อิทธิพลของการเหนี่ยวนำให้ระลึกถึงพฤติกรรมเชิงศีลธรรมที่มีต่อภาพลักษณ์ทางศีลธรรมส่วนตนเเละพฤติกรรมโกง โดยมีความคลุมเครือของสถานการณ์เป็นตัวเเปรกำกับ | - |
dc.title.alternative | The effect of induced moral behavior recalls on moral self-image and cheating behavior with situational ambiguity as a moderator | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370048738.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.