Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม-
dc.contributor.authorปลายฟ้า โตศักดิ์สิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-05T03:20:27Z-
dc.date.available2024-02-05T03:20:27Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84001-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractในการศึกษาและวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม โดยมีชุมชนเป็นฐานกับพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และเพื่อศึกษาความสอดคล้องกันระหว่าง หลักการจัดการร่วมที่มีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Co-Management) กับพระราชบัญญัติ ป่าชุมชน พ.ศ.2562 รวมทั้งเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายป่าชุมชนเพื่อให้เกิดความ สอดคล้องกับหลักการจัดการร่วมที่มีชุมชนเป็นฐาน ทั้งนี้ การตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เป็นการสอดรับบทบัญญัติมาตรา 43 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในเรื่องสิทธิของชุมชนในอันที่จะจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืน จากการศึกษาการจัดการทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในศึกษา กรณีพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พบว่ามีประเด็นทางข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ 1) ประเด็นเรื่องสิทธิในจัดการทรัพยากรป่าไม้ในป่าชุมชน  2) ประเด็นเรื่องความหมายของป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 4 พื้นที่ที่จะนำไปจัดตั้งเป็นป่าชุมชนได้นั้น ต้องเป็นป่าที่อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่อื่นของรัฐนอกเขตป่าอนุรักษ์ เป็นการให้อำนาจแก่กรมป่าไม้เข้ามาจัดการและควบคุมกำกับการจัดการป่าชุมชน  3) ประเด็นเรื่องการจัดตั้งป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ในการขออนุญาตเพื่อจัดตั้งป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 นั้น ชุมชนจะต้องมีการจัดเตรียมเอกสารมากมาย ตามมาตรา 33 รวมไปถึงการตรวจสอบจากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่อย่างเข้มงวด และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดในการพิจารณาคำขอจัดตั้งป่าชุมชน แผนจัดการป่าชุมชน และรายงานผลการตรวจสอบซึ่ง แสดงให้เห็นถึงการตรวจสอบจากรัฐและยังคงไว้ซึ่งการรวมอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติไว้ที่รัฐ ซึ่งขัดแย้งต่อการรับรองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 43 (2)  4) ประเด็นเรื่องการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในป่าชุมชน ตามมาตรา 16 ผู้ที่มีอำนาจควบคุมกำกับการจัดการป่าชุมชนไม่ใช่ตัวแทนจากภาคประชาชนที่อยู่ภายในพื้นที่เขตป่าชุมชน แต่เป็นตัวแทนของรัฐจากส่วนกลาง ทำให้ขาดความใกล้ชิดกับสภาพปัญหา สภาพภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมถึงวัฒนธรรมความเชื่อ ส่งผลให้ภาคประชาชนไม่ได้ร่วมมือร่วมใจกันในการจัดการควบคุมการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  5) ประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจ (Decentralization) ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในมาตรา 16 (24) บัญญัติให้กระจายอำนาจให้ อบต.หรือเทศบาล มีอำนาจ จัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ปรากฎว่ามีการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่รัฐส่วนกลาง ไม่มีลักษณะเป็นการกระจายอำนาจในการจัดการป่าชุมชนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ตามประเด็นดังกล่าวต่อไป-
dc.description.abstractalternativeIn this study and analysis of the coherence between the concept of community-based Co-management and the Community Forest Act, B.E. 2562, the objectives were to study and analyze the main principles of the Community Forest Act, B.E. 2562 and consistency between community-based co-management principles with the Community Forest Act B.E. 2562 as well as to propose guidelines for the development of the community forest law in order to be consistent with the principles of community-based co-management. In this regard, the enactment of the Community Forest Act B.E. 2562 is in line with the provisions of Section 43 (2) of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 on the rights of communities to manage, maintain and utilize natural resources, the environment and biodiversity in a balanced and sustainable manner. In the case study of the Community Forest Act, B.E. 2562, it was found that there were the following legal problems: 1) Problems with the community's rights to manage forest resources  2) Problems with the meaning of community forests according to the Community Forest Act B.E. 2562 According to Section 4 the area that can be established as a community forest is Must be a forest outside the protected forest area or other area of the state outside the protected forest area. It gives power to the Royal Forest Department to manage and supervise the community forest instead of the community. It is the power to manage the natural resources of the state in a centralized way and is not in line with the reality of the community forest. As a result, there are many community forests that overlap within the protected forest area.  3) Problems with the establishment of community forests under the Community Forest Act B.E. 2562 In applying for a permission to establish a community forest under the Community Forest Act 2019, the community must prepare a lot of documents according to section 33, including rigorous audits from the local Forest Resources Management Bureau. And has been approved by the provincial community forest committee to consider the request to establish a community forest. community forest management plan and the audit report which shows the inspection from the state and still maintains the centralization of the power to manage natural resources with the state, which contradicts the guarantee of the rights of communities under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 In Article 43 (2)  4) Problems about the lack of community participation in community forests. According to Section 16 the authority to control and supervise community forest management are not representatives from the public sector within the community forest area, but are representatives of the central government. As a result, the people's sector did not cooperate in managing, controlling the use and conservation of natural resources and the environment.  5) Issues with decentralization (Decentralization) for local administrative organizations. According to the Decentralization Plan and Procedures Act for Local Administrative Organizations B.E. 2542, Section 16 (24) states that decentralization SAO or municipality have management power maintenance and the utilization of forests, land, natural resources and the environment. But it turns out that power is centralized at the central state and does not look like a decentralization of community forest management to local government organizations. The researcher ,therefore, views that the Community Forest Act 2019 should be amended according to the above issues.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleศึกษาและวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วมโดยมีชุมชนเป็นฐานกับพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562-
dc.title.alternativeStudy and analysis of the consistency between the concept of community-based co-management and the Forest Community Act B.E. 2562-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186027034.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.