Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84139
Title: นวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว
Other Titles: Professional experiences provision management innovation for pre-service education program in hotel industry based on the concept of agile service delivery
Authors: ยุทธศักดิ์ พูลทรัพย์
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
อภิรดี จริยารังษีโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรม และแนวคิดการบริการที่ฉับไว 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรม ตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมาจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรม และโรงแรมที่ร่วมจัดประสบการณ์วิชาชีพ โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว,  ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวในสถาบันอุดมศึกษา, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รวม 168 คน และผู้ปฏิบัติงานในสายงานบริการในอุตสาหกรรมจำนวน จำนวน 12 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินกรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมและแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างนวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไวประกอบด้วย 3 ด้าน การวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรอบแนวคิดการบริการที่ฉับไว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (1) ยินดีตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการมากกว่าทำตามแผน (2) เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการและสามารถแก้ไขปัญหาการบริการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง (3) ส่งมอบการบริการด้วยความฉับไวและมีประสิทธิภาพสูงสุดและทบทวนวิธีการทำงานที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ (4) ทำงานเป็นทีมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีแรงจูงใจและความสัมพันธ์ที่ดี และปรับปรุงวิธีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (5) ใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการให้บริการและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลในการบริการ กรอบภาระงานด้านบริการในอุตสาหกรรมโรงแรม ได้แก่ งานบริการส่วนหน้า งานบริการห้องพัก งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม งานบริการการขายและการตลาด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ต่ำสุดคือการวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อพิจารณาด้านภาระงานบริการพบว่างานบริการอาหารและเครื่องดื่มมีค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ส่วนงานบริการส่วนหน้ามีค่าลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด เมื่อพิจารณาด้านการบริการที่ฉับไว การใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการให้บริการและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลในการบริการ มีค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุดและลำดับต่ำสุดคือ เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการและสามารถแก้ไขปัญหาการบริการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง 3) นวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว มีชื่อว่า “นวัตกรรมการบริหารการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการบริการที่ฉับไว ในงานอุตสาหกรรมโรงแรม” ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการบริหารการวัดและการประเมินผลการอบรมทฤษฎีเชิงปฏิบัติในสถานประกอบการ โดยการใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการบริการที่ฉับไว ในงานอุตสาหกรรมโรงแรม 2) นวัตกรรมการบริหารการวัดและการประเมินผลการฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ โดยการใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการบริการที่ฉับไว ในงานอุตสาหกรรมโรงแรม
Other Abstract: This research aims to 1) study the conceptual framework of managing professional experience for pre-service education curriculum in the hotel industry, and the concept of agile services, 2) investigate the necessary requirements for developing the management of professional experiences for the pre-service education curriculum in the hotel industry based on the agile service concept, and 3) develop innovations for managing professional experiences for the pre-service education curriculum in the hotel industry aligned with the agile service concept using a Multiphase Mixed Method Design. The study population consists of universities offering tourism and hotel courses, and hotels participating in professional experience placements. The informants include 4th-year students majoring in hotel and tourism, academic experts in the fields of hotel and tourism from higher education institutions, professionals qualified in vocational training experiences, totaling 168 people, and 12 individuals working in the service sector of the industry, making a total of 180 respondents. Research tools comprise an assessment form of the conceptual framework for managing professional experiences for the pre-service education curriculum in the hotel industry and the agile service concept, a questionnaire on the current and desired status of managing professional experiences for the said curriculum, a semi-structured interview form on innovation in managing these professional experiences, and an evaluation form for the feasibility and appropriateness of the initial innovation draft. Data were analyzed using percentages, means, standard deviations, content analysis, and necessity analysis. The research findings indicate that 1) The conceptual framework for managing pre-service education curriculum experiences in the hotel industry based on responsive service consists of three aspects: curriculum development, learning management, and assessment and evaluation. The responsive service framework includes: (1) being more adaptable to service users' changes rather than sticking to plans, (2) understanding the needs of service users and addressing service issues by involving service users promptly and continuously, (3) delivering services with agility and maximum efficiency and consistently reviewing past practices, (4) collaborative teamwork comprised of motivated individuals with good relationships, and (5) employing supportive software for service and embracing new technologies to enhance access to service user information. The service workload in the hotel industry comprises front-end services, room services, food and beverage services, and sales and marketing services. 2) When considering the priorities in managing professional experiences, the highest priority is the evaluation of professional training results, while the lowest is planning professional training experiences. In terms of service workload, food and beverage services are of the utmost importance, while front-end services are of the least. In responsive services, utilizing software to enhance service and adopting new technologies to improve access to service user data is deemed the highest priority, whereas understanding and addressing the needs of service users in a swift and continuous manner is the lowest. 3) The innovation in managing professional experiences for the pre-service education curriculum in the hotel industry based on responsive service is called “Innovative management evaluation of professional experience training that uses software to support agile service in the hotel industry". It consists of 1) Innovative measurement and evaluation of practical theoretical training in workplaces by using software to support agile service in the hotel industry, and 2) Inovative measurement and evaluation of practical training in workplaces using software to support agile service in the hotel industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84139
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6381054327.pdf18.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.