Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84214
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ ณ สงขลา-
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.advisorอาธร เหลืองสดใส-
dc.contributor.authorฉัททวุฒิ พีชผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2024-02-05T10:06:30Z-
dc.date.available2024-02-05T10:06:30Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84214-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการเรียนออนไลน์ และศึกษาผลการทดลองใช้แอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นตอนของการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับต้นแบบของแอปพลิเคชันฯ (2) สร้างต้นแบบและพัฒนาระบบแอปพลิเคชันฯ และ (3) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบแอปพลิเคชันฯ ต่อระดับการรับรู้ความสามารถตนเองในการเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์จำนวน 180 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 90 คน มีระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 5 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบแอปพลิเคชันตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ คือ (1) ขั้นตอนการเรียนการสอนของระบบ (2) เครื่องมือของระบบ และ (3) คุณลักษณะของแอปพลิเคชันตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ซึ่งประกอบด้วย การสร้างเสริมทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์ การสร้างเสริมการคล้อยตามกลุ่มเรียนออนไลน์ และการสร้างเสริมการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมตนเอง ผลการทดลองใช้แอปพลิเคชันฯ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการเรียนออนไลน์ของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลนี้แสดงให้เห็นว่าระบบแอปพลิเคชันตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนมีอิทธิพลต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเองของผู้เรียนออนไลน์-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were (1) to develop a theory of planned behavior-based application to enhance self-efficacy for online learning and (2) to study the effect of using the developed application with undergraduate students. The research methodology was divided into three phases: (1) examined a relevant literature and interviewed experts in the field; (2) created prototype and developed an application system; and (3) studied the effect of using the developed application system on self-efficacy for online learning. The samples were 180 undergraduate students from Southeast Asia University, consisting of a 90-student experimental group and 90-student control group. The experiment was conducted over a five-week period. Research results demonstrated that the developed application system based on the theory of planned behavior (TPB) was comprised of three components: (1) instructional steps; (2) system tools; and (3) application features based on TPB. The application features consisted of attitude toward online learning, subjective norm, and perceived behavior control. The experimental result indicated that the average score of self-efficacy in online learning for the experimental group was significantly higher than that of the control group at 0.05 level. This result showed that the application based on The TPB could significantly affect self-efficacy for online learners.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationEducation-
dc.titleนวัตกรรมแอปพลิเคชันตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง-
dc.title.alternativeA theory of planned behavior-based innovative application for self-efficacy enhancement-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787764220.pdf8.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.