Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84556
Title: ท่าทีของญี่ปุ่นต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ (ค.ศ.2018-2019)
Other Titles: Japan's position regarding the U.S.-DPRK summit 2018-2019
Authors: กาญจนา ปานสีนุ่น
Advisors: ธีวินท์ สุพุทธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาศึกษาท่าทีของญี่ปุ่นที่มีต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือระหว่างปี 2018-2019 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ เพราะมองว่าการเจรจาไม่ส่งผลให้เกาหลีเหนือเปลี่ยนพฤติกรรมจนทำให้เกิดการปลดอาวุธนิวเคลียร์และยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย กับการประชุมสุดยอดดังกล่าว เกิดจากการรับรู้ (perception) ของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีต่อเกาหลีเหนือ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นหวาดระแวงและมองว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม ส่วนนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะก็มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับเกาหลีเหนือมาก่อน จึงไม่ไว้วางใจเกาหลีเหนือ ขณะเดียวกันสังคมญี่ปุ่นก็มองว่าเกาหลีเหนือเป็นศัตรูมาตั้งแต่ในอดีต และโกรธเคืองเกาหลีเหนือในประเด็นการลักพาตัวชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ การเข้าหาเกาหลีเหนือของสหรัฐฯ ก็ทำให้ญี่ปุ่น  มองว่า เป็นเรื่องที่กระทบต่อระบบพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ทำให้กลไกในการป้องปราม (deterrence) ลดประสิทธิภาพลง และจะเกิดผลกระทบต่อการถ่วงดุลอำนาจ (balance of power) ในภูมิภาค จนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพภายในของญี่ปุ่น ในการป้องปรามภัยคุกคาม
Other Abstract: This independent study examines Japan’s position regarding the U.S.-DPRK summit between 2018-2019, considering the possible factors that contributed to Japan’s position. Due to Japan’s perception, diplomatic negotiation does not contribute to changes in DPRK's behaviors of denuclearization and suspension on its nuclear weapon development program which guarantee its national security. The research finding conforms to the assumption that Japan’s position at the summit mainly derived from Japan government’s suspicious and threat perception towards DPRK. Furthermore, Prime minister Shinzo Abe had working experiences on DPRK and therefore did not trust it, while Japan’s society has long viewed DPRK as an enemy and has been displeased with DPRK over the Japanese kidnapping issue. Most importantly, the U.S. approach towards DPRK has affected the alliance between Japan-U.S. and decrease the deterrent effectiveness. Not only did the aforementioned development affected the alliance relations, but it also affected the regional balance of power, which could potentially cause impacts on Japan’s internal security and stability in deterring threats.
Description: สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84556
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480012024.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.