Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร โทณานนท์-
dc.contributor.authorศุภณัฐ ตันฑวณิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-04-17T08:54:44Z-
dc.date.available2024-04-17T08:54:44Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84766-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการศึกษาการนำแผ่นเยื่อไม้อัดแข็งที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการสังเคราะห์ไบโอชาร์ เพื่อนำไปใช้ในการกำจัดยาปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซินในระบบการดูดซับแบบตรึงในคอลัมน์ โดยวัสดุดูดซับที่ใช้ Fe(NO3)3 เป็นตัวกระตุ้นนั้นจะถูกทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การดูดซับและการคายการดูดซับไนโตรเจนที่อุณหภูมิ 77 K กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และการวิเคราะห์สมบัติทางความร้อน ซึ่งการมีอยู่ของสารละลาย Fe(NO3)3 นั้นส่งเสริมให้เกิดรูพรุนขนาดมีโซ โดยแผ่นเยื่อไม้อัดแข็งที่ผ่านการกระตุ้นด้วย Fe(NO3)3 0.1 M แล้วคาร์บอไนเซชันภายใต้ N2 ที่อุณหภูมิ 800°C (HC-BI-800) มีปริมาตรรูพรุนมีโซเท่ากับ 0.34 cm3/g และพื้นที่ผิวจำเพราะเท่ากับ 530 m2/g โดยจากนั้นไบโอชาร์จะถูกนำไปใช้ในการดูดซับไซโปรฟลอกซาซินด้วยกระบวนการดูดซับแบบกะและกระบวนการดูดซับแบบตรึงในคอลัมน์ โดยเมื่อทำการศึกษาแบบจำลองการดูดซับพบว่ามีความสอดคล้องกับแบบจำลองของ Langmuir และยังสอดคล้องกับแบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์แบบ PSO และในการศึกษากระบวนการดูดซับไซโปรฟลอกซาซินแบบตรึงในคอลัมน์ พบว่าประสิทธิภาพการดูดซับสูงสุด (qTH) เท่ากับ 59.20 mg/g ที่ความเข้มเริ่มต้น 80 mg/L อัตราการไหล 10 mL/min และความสูงของคอลัมน์ 15 cm และเมื่อทำการศึกษาแบบจำลองการดูดซับในระบบการดูดซับแบบตรึงในคอลัมน์ พบว่ามีความสอดคล้องกับแบบจำลองของ Thomas และ Yoon-Nelson-
dc.description.abstractalternativeThe utilization of hardboard as a precursor for the synthesis of biochar to remove ciprofloxacin in fixed-bed adsorption columns was investigated in this research. The adsorbents were characterized by nitrogen adsorption-desorption at 77 K, scanning electron microscope and thermogravimetric analysis. The presence of Fe(NO3)3 served as a mesoporous activating agent. Biochar materials were prepared by impregnation of 0.10 M Fe(NO3)3 onto hardboard and followed by carbonization under nitrogen atmosphere at 800°C (HC-BI-800), resulting in a biochar with mesopore volume and specific surface area of 0.34 cm3/g and 530 m2/g respectively. Biochar was used for ciprofloxacin adsorption in both batch and fixed-bed column processes. Adsorption equilibrium data correlated with Langmuir and the Pseudo second-order (PSO) kinetics model. In fixed-bed column adsorption, the maximum adsorption capacity (qTH) of 59.20 mg/g was achieved at an initial concentration of 80 mg/L, flow rate of 10 mL/min, and bed height of 15 cm. The adsorption modeling in the fixed-bed column correlated with the Thomas and Yoon-Nelson models.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการดูดซับสารไซโปรฟลอกซาซินโดยไบโอชาร์ที่ได้จากเศษ แผ่นเยื่อไม้อัดแข็งในระบบการดูดซับแบบตรึงในคอลัมน์-
dc.title.alternativeAdsorption of ciprofloxacin by biochar from hardboard waste in fixed bed column-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมี-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370283221.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.