Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9784
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชชุตา วุธาทิตย์ | - |
dc.contributor.author | วราภรณ์ บัวผา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ชลบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-07T04:18:57Z | - |
dc.date.available | 2009-08-07T04:18:57Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741707002 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9784 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของหางเครื่องในบางเสร่ และศึกษาการแสดงหางเครื่อง "คณะแม่ถนอม" ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในด้านประวัติ วิธีการฝึกหัด และวิเคราะห์รูปแบบการแสดงที่มีท่ารำไทยปรากฏอยู่ในการเต้นของหางเครื่องบางเสร่ประเภทเป็นสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้แสดง เจ้าของคณะหางเครื่องในยุคแรก-ปัจจุบันและผู้ที่เคยชมการแสดงหางเครื่องตลอดจนการฝึกหัดของผู้วิจัยกับหางเครื่องบางเสร่ ผลการวิจัยพบว่า การแสดงหางเครื่องบางเสร่เป็นการแสดงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2511 แต่ยังได้รับความนิยมมากนัก (รำวงอาชีพก็ยังมีการแสดงอยู่แต่ไม่ได้รับความนิยมมาก) สมัยแรก ๆ ยังมิได้เรียกว่า "หางเครื่อง" แต่เรียกว่า "การเต้นประกอบเพลง" มีผู้หญิงเต้นเพียง 2 คน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2519 การเต้นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เปลี่ยนมาเป็นการแสดงเพื่อธุรกิจภายในครอบครัว ที่ทุกคนเรียกการแสดงนี้ว่า “หางเครื่องบางเสร่ โดยมีนายทองแถม อินทรวิจิตรเป็นผู้ฝึกหัดจัดเป็นคณะหางเครื่องอาชีพเป็นคณะแรก หางเครื่องมิได้เป็นศิลปะที่เกิดมาจากการรำวงอาชีพ แต่เป็นศิลปะที่ใกล้เคียงกับรำวง ในเรื่องขององค์ประกอบการแสดงเช่น ดนตรี บทเพลง นักแสดง โอกาสที่แสดง ฯลฯ ในความคล้ายคลึงก็จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น รูปแบบการแสดง ลักษณะการฝึกหัดการเต้นเข้าจังหวะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ทราบว่าหางเครื่องมิได้เป็นศิลปะที่มาจากรำวงชาวบ้าน แต่เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นจากคณะวงดนตรี นั่นคือ “เขย่าหางเครื่อง อยู่ในวงดนตรีลูกทุ่งของนักร้องชื่อดังเช่น สุรพล สมบัติเจริญ หางเครื่องบางเสร่ เป็นการเต้นเพื่อการค้า ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน แสดงตามงานรื่นเริงทุกงาน ปัจจุบันมีอยู่ 5 ใหญ่ๆ คือ 1 คณะแม่ถนอมกลุ่มกฤษณาแด๊นซ์ 2. คณะแม่ถนอมกลุ่มจินตนาแด๊นซ์ 3. คณะแสงบุญเสริม 4. คณะรุ่งโรจน์แด๊นซ์ 5. คณะพรศิริ ส่วนคณะเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ก็มีมากแต่จะเป็นที่รู้กันเองส่วนมากจะเป็นหางเครื่องของแต่ละคณะที่แยกตัวออกไปรับงานกันเองในแต่ละคนจะมีหางเครื่องเพียง 4-8 คนเท่านั้น รับได้วันละ 1 งาน วิธีแสดงมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1. การแสดงบนเวทีในงานรื่นเริง 2. การแสดงในรูปของการแห่ (เดินในขบวน) 3. การแสดงบนเวทีเพื่อประกวด การแสดงบนเวทีในรื่นเริงพบว่า นิยมแสดงในงานบวช งานแต่ง งานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นส่วนใหญ่ และการแสดงในรูปแบบของขบวนแห่จะนิยมเต้นในขบวนการแห่กฐิน ส่วนการแสดงบนเวทีเพื่อการประกวดจะนิยมประกวดในงานเทศกาลประจำปีจังหวัดชลบุรี การเต้นประกอบจังหวะลูกทุ่งของหางเครื่องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เต้นประกอบจังหวะ เพลงไทยสากล จังหวะลีลาศ การเต้นประกอบจังหวะเพลงไทยลูกทุ่งพื้นบ้าน (ลูกทุ่งประยุกต์) การแสดงหางเครื่องชาวบางเสร่ "คณะแม่ถนอม" ปัจจุบันเหลือเพียง 2 กล่ม เท่านั้นที่ยังคงประกอบเป็นธุรกิจและได้รับความนิยมมากที่สุด มีหางเครื่องในสังกัดประมาณ 100 คน ปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมของวงการศึกษาทั่วไปในเรื่องของวงการศึกษาทั่วไปในเรื่องของการเลียนแบบการเต้นหางเครื่องอาชีพของชาวบ้านโดยนำมาสอนให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งเข้าร่วมประกวดตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปในภาคตะวันออกและในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) เป็นศิลปะที่มีไว้เพื่อสร้างความบันเทิง และเพื่อประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านบางเสร่ ในจังหวัดชลบุรีได้เป็นอย่างดี มีการพัฒนาไปพร้อมๆ กับความเจริญของสังคมในแต่ละยุคสมัยเป็นสมัยศิลปะที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละสมัยเป็นอย่างดี ควรแก่การอนุรักษ์เผยแพร่และสืบทอดให้รุ่นต่อๆ ไปได้ศึกษาและเป็นอาชีพที่น่ายกย่องอีกอาชีพหนึ่ง | en |
dc.description.abstractalternative | This objective is studied about the origin of Dance Troupe and Performance of Mae Thanom Dance Troupe in Tambol Bangsarae, Sattahip District, Chonburi Province:- story, practice and analysis of Thai dancing show for some the performance of Dance Troupe since 1985 until now. However I studied from documents which are concerned actors & actresses, owner of Thai Dancing, Started period to present of Dance Troupe and audiences included my practice with them.As a result of research notices that The Performance of Dance Troupe in Tambol Bangsarae was established since 1968, but it was unpopular in that era (Although Thai Dancing Profession was showing, but that one was as unpopular as). For the first time, they didnʼt say that "Dance Troupe" but said that "pulsation", which there were only women dancers. Then 1976, it was more popular which became the household business hereby said “The Performance of Dance Troupe in Tambol Bangsarae by Mr. Thongthame Intarawijit, the first Dance Troupe Profession owner. Anyway that was not art, which was applied by Thai Dancing Profession, but style looked like it. In case of component for showing such as music, song, actors & actresses, occasion etc. Even resemblance, but it always had difference all of them.E.g. Showing style, pulsation practices like this. As to these could know that Dance Troupe had not origin from peasant's art, but that started from musician group, “Shaking Dance Troupe (Kayaohangkueng), in famous country singer team like Mr. Surapon Sombudcharoen. The Performance of Dance Troupe in Tambol Bangsarae aim commercial that is shown by women at every party. Nowadays on one hand there are 5 the grand Dance Troupe Teams as 1. Mae Thanom of Kissanha Dance Team, 2. Mae Thanom of Jintana Dance Team, 3. Sangbunserm Team, 4. RungRoj Dance Team and 5. Pornsiri Dance Team. On the other hand there are new arrival small teams which are almost each team separate from grand team and taking a job by themselves. Each singer has 4 to 8 dance troupes and taking a job only one per day. Therefore they have 3 styles for show as following:- 1. On the stage show at party for ordination ceremony, marry ceremony and other parties 2. Parade Show (Walking in procession) for Kathin Procession and 3. On the stage contest showing for annual contest of Chonburi Province. The country pulsation of dance troupe separates 2 types, Thai occidental music and dance in a ballroom pulsation, Thai peasant music pulsation (applied peasant) and Thai occidental music pulsation that is popular in present (String music) In each era that art effect to the social changing and should valuable small children to secondary. Most them are sent to contest at eastern and Bangkok general department store. Thus this art is for the entertainment, making revenue to people at Tambol Bangsarae, Chonburi Province. And also there are developments with thriving conserve to reveal and follow to generation for education about a eulogy Current the Performance of Mae Thanom Dance Troupe rest 2 groups that still run business and the most popular. There are 100 members in team. Other side they are original for imitation profession bearing, which they teach to the children from a class for of society occupation. | en |
dc.format.extent | 65214762 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หางเครื่อง | en |
dc.title | การแสดงหางเครื่องบางเสร่ "คณะแม่ถนอม" ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | en |
dc.title.alternative | The performance of Bang Sarae "Mae Thanom Dance Troupe" in Tambon Bang Sarae, Sattahip District, Chon Buri Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vijjuta@yahoo.com | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waraphorn.pdf | 63.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.