Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22053
Title: ลักษณะการชำรุดและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระบบปรับอากาศแบบรวม กรณีศึกษา อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ
Other Titles: Breakdowns and maintenance costs of centralised air-conditioning system : case study of Kasikornbank head-office
Authors: ภคิน เอกอธิคม
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: ธนาคารกสิกรไทย -- อาคาร
การปรับอากาศ -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
เครื่องปรับอากาศ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบปรับอากาศแบบรวมชนิดที่ใช้เป็นเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) ซึ่งเป็นระบบประกอบอาคารหลักที่มีการติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศไทย โดยที่ระบบปรับอากาศเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการทำงานในอาคาร และสภาพแวดล้อมในอาคาร เพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดที่อาจมีต่อการทำงานและผู้ใช้อาคาร ส่วนงานที่ทำหน้าที่บริหารทรัพยากรกายภาพควรมีข้อมูลสถิติการชำรุด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระบบฯ เพื่อใช้ในการคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้า การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาลักษณะการชำรุดของอุปกรณ์เครื่องจักร และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องจักรในระบบปรับอากาศแบบรวมที่เกิดช่วงเวลาต่างๆ รวมถึงแผนในการจัดเตรียมชิ้นส่วนทดแทนและงบประมาณการซ่อมแซม ซึ่งการศึกษานี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบตั้งแต่ส่วนประกอบ การบำรุงรักษา ผลจากการบำรุงรักษาซึ่งได้แก่ การชำรุดขัดข้อง ค่าซ่อมแซม เวลาที่ใช้ในการซ่อมแซม มาวิเคราะห์หาลักษณะที่เกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของระบบในแต่ละช่วงเวลา จากการศึกษา ระบบปรับอากาศแบบรวมของอาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ในช่วงการทำงานของระบบปีที่ 1-14 พบว่าระบบฯ มีแผนและการดูแลบำรุงรักษาทั้งจากช่างประจำอาคาร และช่างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นวงรอบชัดเจนอย่างต่อเนื่อง ผลจากการบำรุงรักษาระบบฯ ก็ยังคงมีการชำรุดขัดข้องตั้งแต่ปีแรกที่มีการใช้งาน ซึ่งต้องมีการซ่อมแซมแก้ไขหรือจัดเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนเกิดเป็นค่าใช้จ่ายขึ้นในแต่ปี การศึกษานี้มีข้อค้นพบสำคัญ คือ ลักษณะการชำรุดที่เกิดขึ้นในมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อช่วงเวลาการใช้งานมากขึ้น โดยในช่วง 3-6 ปีแรกมีอัตราการชำรุดที่เพิ่มสูงกว่าในช่วงอื่น หลังจากนั้นการชำรุดเกิดขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกันในแต่ละปีจนกระทั่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีที่ 13 เมื่อจำแนกเครื่องจักรในระบบฯ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. Chiller 2. Cooling Tower 3. Pump 4. Air Handling Unit การชำรุดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในส่วนของ Pump และ Air Handling Unit มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของค่าซ่อมแซมแต่ละปีมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาการใช้งานเช่นกัน ซึ่งมีปัจจัยมาจากจำนวนการชำรุดและค่าซ่อมแซมของอุปกรณ์เครื่องจักรแต่ละประเภทที่ไม่เท่ากัน โดยพบว่าถึงแม้ Cooling Tower จะมีจำนวนอุปกรณ์และจำนวนการชำรุดน้อย แต่ก็มีค่าจ่ายการซ่อมแซมที่สูงกว่าส่วนประกอบระบบฯ กลุ่มอื่น เนื่องจาก Cooling Tower มีการเสื่อมสภาพไม่สามารถซ่อมหรือใช้งานต่อไปได้ ต้องมีการเปลี่ยนทดแทนในปีที่ 11-12 จากการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability) เมื่อมีการชำรุดเกิดขึ้นค่า Reliability มีการลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในปีที่ 5 จนไม่มีความน่าเชื่อถือเลย แสดงให้เห็นว่าระบบฯ มีความเสี่ยงชำรุดขัดข้องขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการเพิ่ม Reliability ให้กับระบบฯ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลการชำรุดขัดข้องหรือบันทึกประวัติของระบบฯ อย่างเป็นระบบเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์สภาพของระบบในปัจจุบัน ทำให้ทราบลักษณะของการชำรุดที่เกิดขึ้นและการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการซ่อมแซมและจัดเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนในส่วนของ Power and Control ของ Chiller ในทุก 6 ปี การเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำเย็นในทุก 8 ปี และการจัดเปลี่ยนเครื่องผึ่งลมเย็นใหม่ในปีที่11 ซึ่งนำไปสู่การวางแผนหรือเตรียมการที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความเป็นจริง
Other Abstract: A water-chiller air Conditioning (A/C) system is one of the most used centralized A/C type found in large buildings in Bangkok. Due to its importance to condition and environment within workplace, maintenance work was regarded as an critical function. In order to manage the maintenance work effectively and avoid interruptions of business operation due to A/C breakdowns, however, Facility Management team needs information about system breakdown for predicting and planning on necessary maintenance and replacements in advance. In doing so, this research was undertaken to gain insights about the behaviours of breakdown and expenses incurred related to this type of A/C system. To conduct the study, the research adopted an approach of longitudinal study by collecting data from a real case study. A head-office of Kasikorn Bank was selected as a case study due to availability and accessibility to the data. The case provided a full picture of maintenance works, breakdown and repair records and expenses of 14 years of it’s A/C operations.The investigation found that although having regular preventive maintenance service undertaken by in-house team and external specialists, the system was appeared to have downtime from the early years of and required to do repairs and replacement every year. This study found that the number of breakdown of the system tended to increase in relation to time of use. The breakdown had high numbers during year 3 to year 6, and had become far lower and less fluctuate afterwards until year 12. The highest number of breakdowns was found at year 13. More than 80% of breakdowns involved ‘Pump’ and ‘Air-Handling unit’. Interestingly, with its far less number of breakdown ‘Cooling Tower’ had the highest cost of maintenance and repairs. This was because the breakdowns of ‘Cooling Tower’ were mostly unrepairable and would required replacement, especially in year 11 and 12, in which had significant cost. According to a result of reliability analysis, the reliability of the system in total rapidly decreased from year 5 onwards indicating significant increase of risk unforeseen breakdowns. Nevertheless, the study found that the system’s reliability became high again when there was an installation of back-up equipment in year 12. In conclusion, the study suggests that any building using this type of A/C system should prepare replacement of power and control equipment in chiller at every 6 year, whole chilled pump part at every 8 year, and new cooling tower at year 11. In addition, any FM team must establish an specific database system of A/C system. With proficient database, FM team will be able to effectively plan and prepare action and budgets for A/C maintenance in which will reduce the risk of system breakdown and business interruption
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22053
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.671
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.671
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakin_ea.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.