Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24078
Title: การสกัดสารไฮโดรคาร์บอนด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว
Other Titles: Hydrocarbon extraction with liquid carbondioxide
Authors: สรวงสุดา ลิปิมงคล
Advisors: เพียรพรรค ทัศดร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาการสกัดแยกสารไฮโดรคาร์บอนน้ำหนักโมเลกุลต่ำออกจากสารผสมไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว ดำเนินการทดลองโดยใช้ตัวแปรเป็น ช่วงเวลาของการกวนผสมสารในช่วง 0-120 นาที อุณหภูมิ 10C ถึง อุณหภูมิห้อง และความดัน 30-100 บาร์ ผลการทดลอง พบว่า สภาวะที่เหมาะสม คือ ช่วงเวลาของการกวนผสมสาร 60 นาที อุณหภูมิห้อง และความดัน 80 บาร์ ปริมาณไขในสิ่งสกัดลดลงจากร้อยละ 20.6 เป็น 8.7 ในการสกัดสาร 5 ครั้ง ปริมาณไขในสิ่งสกัดลดลงจากร้อยละ 20.6 เป็น 3.1 การเปรียบเทียบการละลายของสารเฮปเทน และไขในคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพของไหลภาวะวิกฤต ทำให้อัตราส่วนการละลายของเฮปเทนต่อไขในคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์เหลว สามารถใช้เป็นตัวทำละลายได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ การศึกษาผลของตัวทำละลายร่วม พบว่า การใช้อะซิโตน หรือ เมทิลเอทิลคิโตน ทำให้อัตราส่วนการละลายของเฮปเทนต่อไขในคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น การเปรียบเทียบองค์ประกอบของสารที่ได้จากการสกัด และที่เหลือจากการสกัด พบว่า ไฮโดรคาร์บอนในสิ่งสกัดมีการกระจายโมเลกุลค่อนไปทางสารอัลเคนโมเลกุลเล็ก ในขณะที่ไฮโดรคาร์บอนในส่วนที่เหลือ มีการกระจายโมเลกุลค่อนไปทางสารอัลเคนโมเลกุลใหญ่เมื่อเปรียบเทียบผลของความดัน และอุณหภูมิต่อการสกัดสาร พบว่า ในการสกัดสารไฮโดรคาร์บอน ความดันมีผลมากกว่าอุณหภูมิ
Other Abstract: In the study, the extraction of low molecular weight hydrocarbons from a mixture containing hydrocarbons of higher molecular weight, using liquid carbondioxide, was investigated. Experiments were carried out with varying mixing time between 0-120 minutes, temperatures between 10C to room temperature and pressures between 30-100 bar. It was found that a combination of 60 minutes mixing time, room temperature, and 80 bar pressure was the best condition. The quantity of wax in the first extract was decreased from 20.6% to 8.7%. After the fifth extraction, only 3.1% wax remained. The solubility ratio of heptanes to wax in carbondioxide was increased when supercritical carbondioxide was used. Liquid carbondioxide behaved as a good solvent only at low temperatures. A study of the influence of cosolvents indicates that the solubility ratio of heptanes to wax in carbondioxide increased when acetone or methyl ethyl ketone was used as cosolvent. A composition of hydrocarbons in extract and residue shows that the distribution of hydrocarbons in the extract is shifted towards small alkane molecules, whereas the distribution of hydrocarbons in the residue is shifted towards larger molecules. A comparison of the influence of pressure and temperature indicates that pressure affects the extractability to a greater extent than temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24078
ISBN: 9745694185
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suangsuda_li_front.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch1.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch2.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch3.pdf10.43 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch4.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch5.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch6.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_ch7.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_li_back.pdf16.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.