Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24290
Title: การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างสองครั้ง ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
Other Titles: Double sampling inspection in quality control-some additional contributions
Authors: กุลชลี ธารชลานุกิจ
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การควบคุมคุณภาพทางสถิติโดยการยอมรับคุณภาพของสินค้ารุ่นที่ผ่านการตรวจสอบคุณลักษณะด้วยตัวอย่าง เป็นวิธีการที่ผู้ตรวจสอบทุกระดับสามารถปฏิบัติได้ เป็นที่ทราบกันว่าในการตรวจสอบตัวอย่างที่สุ่มมาจากรุ่นสินค้าอย่างไม่ใส่คืน ความน่าจะเป็นของจำนวนหน่วยเสียในตัวอย่างมีแจกแจงแบบไฮเปอร์จีออเมตริก ซึ่งมีการคำนวณความน่าจะเป็นไปได้ค่อนข้างยุ่งยาก โดยเฉพาะในกรณีของรุ่นสินค้าขนาดใหญ่ซึ่งเป็นกรณีที่ความน่าจะเป็นในการได้หน่วยเสียในการเลือกแต่ละครั้งค่อนข้างจะคงที่ อาจถือว่าเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบใส่คืนโดยประมาณได้ การประมาณการแจกแจงความน่าจะเป็นของจำนวนหน่วยเสียในตัวอย่างอาจใช้การแจกแจงแบบทวินามหรือพัวซอง วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงแผนการสุ่มตัวอย่างสองครั้ง โดยใช้การแจกแจงแบบทวินามและพัวซองแทนการแจกแจงแบบไฮเปอร์จีออเมตริก เมื่อมีความเสี่ยงของผู้บริโภค 10% และมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 3% ณ ระดับต่าง ๆ ของเปอร์เซนต์สินค้าที่ยอมรับได้และได้เปรียบเทียบจำนวนสินค้าที่ตรวจสอบคุณภาพโดยเฉลี่ยต่อรุ่น จากแผนการสุ่มตัวอย่างสองครั้ง เมื่อความน่าจะเป็นของจำนวนหน่วยเสียในตัวอย่างมีการแจกแจงแบบไฮเปอร์จีออเมตริก, ทวินามและพัวซอง จากผลที่ได้จากการวิจัยอาจสรุปได้ว่า การใช้การแจกแจงความน่าจะเป็นของจำนวนหน่วยเสียในตัวอย่างเป็นแบบทวินามและพัวซอง เพื่อหาแผนการสุ่มตัวอย่างสองครั้ง สามารถใช้แทนการแจกแจงแบบไฮเปอร์จีออเมตริกได้ในกรณีที่รุ่นสินค้ามีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในกรณีที่กำหนดระดับความเสี่ยงของผู้บริโภคต่างไปจาก 10 % วิทยานิพนธ์นี้ก็ให้แนวทางในการสร้างแผนการสุ่มตัวอย่างสองครั้งใหม่ ๆ ที่ต้องการได้
Other Abstract: Statistical quality control by acceptance sampling by attribute is the method which all levels of inspectors could perform. It is known that the probability distribution of the number of defective units in a random sample drawn without replacement is hypergeometric which probability is rather complicated to compute. When the population is large, it is possible to approximate the hypergeometric distribution with the binomial or poisson distribution. This dissertation had studied double sampling inspection plans using binomial and poisson distubutions to approximate the hypergeometric distribution with error within 3% for 10% consumer’s risk and various levels of lot tolerance percent defective. Comparison of the average total inspections per lot among those obtained from hypergeometric, binomial and poisson distribution are also studied. It can be concluded that the hypergeometric distribution can be approximated by the binomial or poisson distribution rather well when lot size is large the procedure used in this dissertation is also valuable for constructing double sampling inspection plans at other levels of consumer’s risk.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24290
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulchalee_Th_front.pdf478.32 kBAdobe PDFView/Open
Kulchalee_Th_ch1.pdf440.68 kBAdobe PDFView/Open
Kulchalee_Th_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Kulchalee_Th_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Kulchalee_Th_ch4.pdf319.01 kBAdobe PDFView/Open
Kulchalee_Th_back.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.