Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24298
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ | |
dc.contributor.advisor | สุเมธ วัชระชัยสุรพล | |
dc.contributor.author | วรรณนี รุ่งวิทู | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-16T06:42:08Z | |
dc.date.available | 2012-11-16T06:42:08Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745670367 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24298 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | ห้องปฏิบัติการคลินิกเป็นหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาล ที่ทำหน้าที่ตรวจสิ่งต่างๆจากร่างกายผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ เป็นต้น และให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง สำหรับในโรงพยาบาลที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่นั้นมีการเพิ่มขึ้นของการทดสอบทั้งทางด้านปริมาณและชนิดของการทกสอบทำให้ปริมาณของเอกสารที่ใช้ในกระบวนการสั่งตรวจ การบันทึกผล และการทำรายงานผลเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย ทำให้ระบบสารสนเทศที่อาศัยการประมวลผลด้วยมือในปัจจุบันเกิดความล่าช้า ข้อมูลผิดพลาด และไม่สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลย้อนหลัง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขึ้นของการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์แบบอัตโนมัติเพื่อช่วยการตรวจวิเคราะห์การทดสอบทางห้องปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมข่าวสารต่างๆที่รายงานออกมา ในการทำระบบสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ จะช่วยให้การหมุนเวียนข้อมูลมีความคล่องตัวมากขึ้น ด้วยเหตุที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูง มีหน่วยความจำขนากใหญ่ และสามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายเทอร์มินอลจึงอำนวยความสะดวกให้ระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์สามารถที่จะส่งผ่าน บันทึกและค้นหาข้อมูลได้ในลักษณะที่เป็นแบบโต้ตอบทันทีทันใด (on-line interactive system) อันจะทำให้แพทย์และบุคลากรต่างๆมีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยในที่สุด ในลักษณะของการปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการคลินิก ระบบนี้จะให้ข้อมูลต่างๆที่จำเป็นเริ่มจากการสั่งตรวจ การบันทึกผล จนกระทั่งการออกรายงานผลทำให้งานทางด้านเจ้าหน้าที่ลดลงมาก สำหรับงานระดับบริหารระบบงานนี้จะให้รายงานที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงระยะเวลาต่างๆได้ เช่น สถิติของปริมาณงาน รายงานทางสถิติประจำเดือน และการวิเคราะห์ประสิทธิผล เพื่อใช้เป็นข่าวสารสำหรับการบริการต่อไป จุดมุ่งหมายของผู้ทำการวิจัยเพื่อทำการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรกศึกษาและระบุขอบเขตของปัญหาสำหรับหน่วยเคมีคลินิก โลหิตวิทยา และคลินิกไมโครสโคบี้ ซึ่งมีปริมาณการสั่งตรวจรวมกันแล้วคิดเป็นร้อยละ 90 ของการสั่งตรวจทั้งหมด หลังจากที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจึงทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน และสุดท้ายจึงทำการทดสอบระบบในส่วนของประสิทธิผลและความเชื่อถือได้ของระบบ โดยการจำลองข้อมูลซึ่งมีสภาพเหมือนข้อมูลจริงของผู้ป่วย 2,000 คน จากนั้นจึงทำการประเมินและสรุปผลลัพธ์จากการทดลองเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางการศึกษา การวางระบบ หรือนำไปใช้ต่อไปได้ | |
dc.description.abstractalternative | The clinical laboratory is an area of hospitals, its main purpose is to examine various substances obtained from the patient body, such as blood, urine, tissues, etc., and to provide vital information for diagnosis, prevention or treatment of disease. In big hospitals, the growth of the lab test both in volume and type has caused a proportionate increase in the amount of paperwork that must be processed to request, perform and report the results of these tests. Throughout the cycle, problems occur which impede the attainment of the lab objectives in service. Many problem are related to poor information handling, such as report delay and error, data missing and no trace back mechanism. In addition, increasing use of automated devices for performance of laboratory tests has emphasized the need for an automated solution to laboratory control of information reporting. The technical approach to the solution of these problems is to implement a computerized information system. Computers are capable of handling a large volum e of information with very high speed and accuracy. Furthermore, information in computers can be accessed simultaneously and instantly via on-line display stations. In the operational level of the clinical laboratory, the system provides all data processing requirements from lab test requests through result input and reporting. Thus, clerical works are great ly reduced down to minimum. In the administrative level, the system generates all essential timely reports, such as workload statistics, monthly statistical reports and performanc e evaluation, for management information. The purpose of this research is to develop a computerized clinical laboratory information system in the hospital. The work is performed in 4 phases. The first phase concerns with the problem study. Then, the scope of problems is drawn, which includes three major clinical laboratories: Cl inical chemistry, Hematology and Clinical microscopy. Thes e labs cover more than 90 percent of works in clinical laboratory data processing. Based on the study of the first phase, the next two phases are system analysis and system design. The final phase is to test the system in terms of performance and reliability by simulating a set of lab requests with mo re than 2,000 patients. Then, the experimental results are evaluated and discussed. | |
dc.format.extent | 4637758 bytes | |
dc.format.extent | 1613762 bytes | |
dc.format.extent | 4967147 bytes | |
dc.format.extent | 4100213 bytes | |
dc.format.extent | 1466453 bytes | |
dc.format.extent | 717055 bytes | |
dc.format.extent | 888469 bytes | |
dc.format.extent | 32782658 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ -- บริการสารสนเเทศ | |
dc.subject | ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ -- โรงพยาบาล | |
dc.title | ระบบสารสนเทศสำหรับห้องปฏิบัติการคลินิกในโรงพยาบาล | en |
dc.title.alternative | Computerized clinical laboratory information system in a hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wannahnee_ro_front.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch1.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch2.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch3.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch4.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch5.pdf | 700.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_ch6.pdf | 867.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wannahnee_ro_back.pdf | 32.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.