Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24563
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิติยวดี บุญซื่อ | |
dc.contributor.author | คำนึง วิสัยจร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-19T09:51:31Z | |
dc.date.available | 2012-11-19T09:51:31Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24563 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ที่มีต่อการเขียนความเรียงแบบต่างๆ ตามที่เสนอแนะไว้ในหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521, 2. เปรียบเทียบความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าต่างสังกัดที่มีต่อวิธีเขียนความเรียงแบบต่างๆ, 3. เปรียบเทียบความสนใจของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ที่มีต่อวิธีเขียนความเรียงแบบต่างๆ วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงแบบต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนที่สองถามความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงวิธีต่างๆ ทั้ง 16 วิธี ตามที่เสนอไว้ในหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ส่วนที่สามเกี่ยวกับการจัดอันดับความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงแบบต่างๆ และส่วนที่สี่เป็นการเขียนความเรียงจากวิธีที่นักเรียนตอบว่าสนใจและมีความถนัดที่สุด 1 วิธี ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท ได้โรงเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากร 4 สังกัด จำนวน 12 โรง แล้วใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากร เป็นนักเรียนชาย 237 คน นักเรียนหญิง 244 คน รวมทั้งสิ้น 481 คน หลังจากที่ได้รับแบบสำรวจคืนมาแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างควานสนใจของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง โดยการทดสอบค่า ซี ผลการวิจัย 1. วิธีเขียนความเรียงที่นักเรียนสนใจมากที่สุดคือ การเขียนคำสัมผัสคล้องจอง รองลงมาคือการเขียนความเรียงจากภาพ และการเขียนความเรียงโดยวิธีเสรี ตามลำดับ 2. ความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงของนักเรียนต่างสังกัด ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การเรียงคำให้เป็นประโยค การฝึกแต่งประโยคแบบต่างๆ และการเรียงประโยคลำดับเรื่องราว 3. ความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงของนักเรียนชายและหญิง ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การทำสมุดภาพ การต่อเรื่องให้จบ การเล่านิทาน การเขียนโดยวิธีเสรี | |
dc.description.abstractalternative | Purposes: The purposes of this study were: 1. To investigate the interest of Prathom Suksa five students towards types of Composition writing suggested in the elementary curriculum B.E. 2521. 2. To compare the interest of Prathom Suksa five students in different educational authorities towards types of composition writing. 3. to compare the interest of Prathom Suksa five male and female students towards types of composition writing. Procedure: The instrument used in this study was the questionnaire, devided into four parts. The first part concerned the respondents’ background. The second part concerned the preference of 16 types of composition writing suggested in the elementary curriculum B.E. 2521. The third part concerned the ranking of the interest types of composition writing and the fourth part was the composition writing paper under the type each student chose to be the most favorite one for writing. The sample of this research were four hundred and eighty-one Prathom Suksa five students in 12 different elementary schools in Bangkok Metropolis, selected by stratified random sampling technique. After that two hundred and thirty-seven boys and two hundred and forty-four girls were selected by the simple random sampling technique. The collected data were statistically analyzed and presented in terms of percentage, means, and standard deviation. The comparison of male & female students’ interest was analyzed by Z-test. Findings: 1. The favorite types of composition writing selected by all students were rhyming words writing set of pictures writing and free writing, respectively. 2. There is no significant difference of the interest towards types of composition writing among majority of students in different educational authorities except the following: making sentences with words, writing different patterns of sentences, and sentences rearranging. 3. There is no difference of interest towards types of composition writing between male and female students except the following: making scrap book, finishing stories, story-telling and free writing. | |
dc.format.extent | 589199 bytes | |
dc.format.extent | 718768 bytes | |
dc.format.extent | 1576803 bytes | |
dc.format.extent | 449294 bytes | |
dc.format.extent | 1778197 bytes | |
dc.format.extent | 2279068 bytes | |
dc.format.extent | 896247 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความสนใจต่อวิธีเขียนความเรียงแบบต่างๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Interest in types of composition writing of prathom suksa five students in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khomnyng_Wi_front.pdf | 575.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_ch1.pdf | 701.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_ch2.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_ch3.pdf | 438.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_ch4.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_ch5.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Khomnyng_Wi_back.pdf | 875.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.