Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25040
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โยธิน ศันสนยุทธ | |
dc.contributor.author | บุญสืบ โชติสังกาศ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T09:16:44Z | |
dc.date.available | 2012-11-21T09:16:44Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745617512 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25040 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบตัวแปรการพูดขู่ การเฝ้าคอยดู เวลา และเพศของเด็ก ที่มีผลต่อความเชื่อฟังของเด็กต่อคำสั่งของผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชาย 32 คน และเด็กหญิง 32 คน อายุระหว่าง 4 ปี 2 เดือนถึง 4 ปี 9 เดือน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 1 ปีการศึกษา 2523 ของโรงเรียนละอออุทิส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. กล่องจำนวน 2 กล่อง กล่องหนึ่งเป็นกล่องกระดาษแข็งไม่มีฝามีขนาดกว้าง 8 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว และสูง 8 นิ้ว ภายในกล่องบรรจุลูกหินจำนวน 300 ลูก อีกกล่องหนึ่งเป็นกล่องไม้ทึบมีขนาดกว้าง 12 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว และสูง 18 นิ้ว บนฝากล่องไม้ทึบมีช่องที่จะหยอดลูกหินเพียงครั้งละ 1 ลูกใส่ลงไปได้ กล่องทั้งสองตั้งอยู่ห่างกัน 1.8 เมตร 2. ของเล่นจำนวน 4 ชิ้น ได้แก่ ตุ๊กตาผู้หญิง สุนัขไขลาน เป็ดไขลาน และรถเด็กเล่น ผู้วิจัยสังเกตความเชื่อฟังของเด็กต่อคำสั่งของผู้ใหญ่โดยดูผ่านกระจกทางเดียว เงื่อนไขการทดลองมี 4 อย่างดังนี้ เงื่อนไขที่ 1 (ผู้ใหญ่ไม่พูดขู่ และไม่เฝ้าคอยดู) เงื่อนไขที่ 2 (ผู้ใหญ่ไม่พูดขู่ แต่เฝ้าคอยดู) เงื่อนไขที่ 3 (ผู้ใหญ่พูดขู่ แต่ไม่เฝ้าคอยดู) เงื่อนไขที่ 4 (ผู้ใหญ่พูดขู่และเฝ้าคอยดู) ผู้ทำการทดลองนำกลุ่มตัวอย่างมาทดลองความเชื่อฟังคำสั่งเป็นรายบุคคล ผู้เข้ารับการทดลองแต่ละคนจะเข้ารับการทดลองภายใต้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น ในแต่ละเงื่อนไขการทดลองผู้ทำการทดลองใช้เวลา 6 นาทีทำการทดลองกับผู้เข้ารับการทดลอง โดยแบ่งเวลาในการทดลองออกเป็น 3 ช่วงเวลา ช่วงเวลาละ 2 นาที ได้แก่ช่วงเวลาที่ 1 คือช่วงเวลา 2 นาทีแรก ช่วงเวลาที่ 2 คือช่วงเวลา 2 นาทีต่อมา และช่วงเวลาที่ 3 คือช่วงเวลา 2 นาทีสุดท้าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทางแบบไม่วัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ในสภาพการณ์ที่ผู้ใหญ่ไม่เฝ้าคอยดูเด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีการพูดขู่มากกว่าไม่มีการพูดขู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ในสภาพการณ์ที่ผู้ใหญ่เฝ้าคอยดูเด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีการพูดขู่มากกว่าไม่มีการพูดขู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ในสภาพการณ์ที่ผู้ใหญ่ไม่พูดขู่เด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีการเฝ้าคอยดูมากกว่าไม่มีการเฝ้าคอยดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ในสภาพการณ์ที่ผู้ใหญ่พูดขู่เด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีการเฝ้าคอยดูมากกว่าไม่มีการเฝ้าคอยดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ในแต่ละเงื่อนไขการทดลองเด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ดังนี้ 5.1 เงื่อนไขที่ 1 (ผู้ใหญ่ไม่พูดขู่ และไม่เฝ้าคอยดู) เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 1 เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่มากกว่าในช่วงเวลาที่ 2 และในช่วงเวลาที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 2 และในช่วงเวลาที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 2 และในช่วงเวลาที่ 3 เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5.2 เงื่อนไขที่ 2 (ผู้ใหญ่ไม่พูดขู่ แต่เฝ้าคอยดู) เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 1และในช่วงเวลาที่ 2 เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 2 และในช่วงเวลาที่ 3 เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 1 เชื่อฟังคำสั่งขอและ 5.4 เงื่อนไขที่ 4 (ผู้ใหญ่พูดขู่ และเฝ้าคอยดู) เด็กที่เข้ารับการทดลองในช่วงเวลาที่ 1 ในช่วงเวลาที่ 2 และในช่วงเวลาที่ 3 เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ในแต่ละเงื่อนไขการทดลองเด็กหญิงและเด็กชายเชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis was to examine the effects of verbal threat, surveillance, time, and sex of the child on kindergarten children’s obedience. The subjects were 32 boys and 32 girls in Kindergarten I in the academic year of 1980 from Laor-Utis School. The children were between four years and two months old to four years and nine months old. The research instrument consisted of: 1.Two boxes, one of which was a card box which was 8 inches wide, 10 inches long and 8 inches high and had no lid, containing 300 marbles and another was a white wooden box which had a lid with a hole on top, big enough for inserting only one marble at a time. The second box was 12 inches wide, 12 inches long and 18 inches high. The two boxes were placed about 18 metres apart. 2. Four kinds of toys. They were a girl doll, a battery toy dog, a battery toy duck and a toy car. The researcher observed the children’s obedience to the adult’s command through one-way mirror. The four experimental conditions were as follows: 1.The first condition (The adult gave no verbal threat and kept no surveillance) 2. The second condition (The adult gave no verbal threat but kept surveillance) 3. The third condition (The adult gave verbal threat but kept no surveillance) 4. The fourth condition (The adult gave verbal threat and kept surveillance). Each subject was required to participate in only one experimental condition and was treated individually. In each experimental condition each subject was treated individually for 6 minutes. The treatment was divided into 3 intervals, each lasting for 2 minutes. The first interval took the first 2 minutes; the second interval took the second 2 minutes; and the third interval took the third 2 minutes. The procedures of data analysis were two-way analysis of variance, repeated one-way analysis of variance, and the Newman-Keuls’ method for testing differences between groups. The research results were as follows: 1.In the situation that the adult kept no surveillance, the children were more obedient to the adult’s command when the at .05 significant level. 2. In the situation that the adult kept surveillance, the children were more obedient to the adult’s command when the adult gave verbal threat than when the adult gave no verbal threat at .05 significant level. 3. In the situation that the adult gave no verbal threat, the children were more obedient to the adult’s command when the adult kept surveillance than when the adult kept no surveillance at .01 significant level. 4. In the situation that the adult gave verbal threat, the children were more obedient to the adult’s command when the adult kept surveillance than when the adult kept no surveillance at .05 significant level. 5. In each experimental condition the children were obedient to the adult’s command as follows: 5.1 The first condition (The adult gave no verbal threat and kept no surveillance) the children in this study during the first interval were more obedient to the adult’s command than during the second and the third intervals at .01 significant level. But their obedience to the adult’s command during the second and the third intervals was not statistical significantly different. 5.2 The second condition (The adult gave no verbal threat but kept surveillance) In this study the children’s obedience to the adult’s command during the first and the second intervals was not statistical significantly different, there was no statistical adult’s command during the second and the third intervals. However the children were more obedient to the adult’s command during the first interval than during the third interval at .05 significant level. 5.3 The third condition (The adult gave verbal threat but kept no surveillance) and 5.4 The fourth condition (The adult gave verbal threat and kept surveillance). In these studies the children’s obedience to the adult’s command during the first, the second and the third intervals was not statistical significantly different. 6. In each experimental condition, there was no statistical significant difference in their obedience to the adult’s command between the girl subjects and the boy subjects. | |
dc.format.extent | 498918 bytes | |
dc.format.extent | 933986 bytes | |
dc.format.extent | 378463 bytes | |
dc.format.extent | 542557 bytes | |
dc.format.extent | 621426 bytes | |
dc.format.extent | 351876 bytes | |
dc.format.extent | 426102 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ผลของการพูดขู่ การเฝ้าคอยดู เวลา และเพศของเด็กที่มีต่อความเชื่อฟังของเด็กอนุบาล | en |
dc.title.alternative | Effects of verbal threat, surveillance, time, and sex of the child on kindergarten children's obedience | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonseab_Jo_front.pdf | 487.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_ch1.pdf | 912.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_ch2.pdf | 369.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_ch3.pdf | 529.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_ch4.pdf | 606.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_ch5.pdf | 343.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonseab_Jo_back.pdf | 416.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.