Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25108
Title: | ผลของยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจิโอเทนซินทูรีเซปเตอร์แอนแทคโกนิสต์ที่มีต่อการขจัดของเสียและน้ำผ่านทางเยื่อบุผนังช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร |
Other Titles: | Effect of angioensin II reecptor antagonists of solue and water clearance in hypertensive continuous ambulatory peritoneal dialysis patients |
Authors: | วีระศักดิ์ เจียรสุจิตวิมล |
Advisors: | สมชาย เอี่ยมอ่อง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและเหตุผล มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับผลของยาลดความดันโลหิตชนิดต่างๆ ที่มีต่ออัตราการขจัดของเสียและน้ำในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร แต่ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลของยา angiotensin ll receptor antagonists วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขจัดของเสียและน้ำที่เกิดจากผลของยา candesartan ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม angiotensin ll receptor antagonists ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูง วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงจำนวน 7 ราย ผู้ป่วยจะได้รับการเปลี่ยนยาลดความดันโลหิตที่ทานอยู่เดิม มาเป็นยา candesartan ในขนาดวันละ 8 – 16 มิลลิกรัมนาน 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นเปลี่ยนยาลดความดันโลหิตกลับมาเป็นยาลดความดันโลหิตที่ทานอยู่เดิมก่อนเริ่มทำการศึกษา ทำการทดสอบผนังเยื่อบุช่องท้องโดยวิธี modified peritoneal function test เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขจัดของเสียและน้ำ ณ. เวลาที่เริ่มทำการศึกษา, หลังทานยา candesartan 6 และ 12 สัปดาห์ และหลังจากหยุดยา candesartan 6 สัปดาห์ ผลการศึกษา ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต, อัตราการขจัดของเสียและน้ำในแต่ละช่วงเวลาของการศึกษา ในขณะที่ค่า albumin clearance และ 4-hour albumin loss ลดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากได้รับยา candesartan ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะหายไปหลังหยุดยา candesartan ในการศึกษานี้ไม่พบผลข้างเคียงจากยา candesartan สรุป ยา candesartan ช่วยลดการสูญเสียสาร albumin ทางผนังหน้าท้องซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาวะโภชนาการ ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรโดยที่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขจัดของเสียและน้ำ |
Other Abstract: | Background: Various antihypertensive drugs could alter peritoneal membrane transports in hypertensive continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) patients. There are no available data regarding the effect of angiotensin ll receptor antagonists in this issue. Objective: To investigate the effect of candesartan, an angiotensin ll receptor antagonists, on peritoneal solute and water clearance in hypertensive CAPD patients. Method: This prospective cross-over study was performed in 7 hypertensive CAPD patients. All previous antihypertensive drugs had been changed to candesartan at the dose of 8-16 mg/day. Patients had received candesartan for 12 weeks then were changed back to the previous antihypertensive drugs for 6 weeks. The modified peritoneal-function-test (PFT) for peritoneal membrane transports was performed at 1) baseline (before candesartan treatment). 2) 6 weeks. 3) 12 weeks following candesartan treatment, and 4) 6 weeks after candesartan withdrawal. Results: Blood pressure was not different among the 4 periods. The albumin clearance and 4-hour albumin loss were significantly decreased following candesartan treatment (p<0.05). Both values returned to the baseline level after candesartan withdrawal. There were no significant changes in other solute transports and net ultrafiltration. No adverse effects had been found. Conclusion: In hypertensive CAPD patients, besides effective antihypertensive action. candesartan could provide nutritional benefit by attenuating peritoneal loss of albumin. Furthermore, candesartan does not alter other solute transports and net ultrafittration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25108 |
ISBN: | 9741742657 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Virasak_je_front.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_ch1.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_ch2.pdf | 11.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_ch3.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_ch4.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_ch5.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virasak_je_back.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.