Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25353
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเลขา ปิยะอัจฉริยะ
dc.contributor.authorบุญนำ แก้วปิ่นทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-22T09:17:07Z
dc.date.available2012-11-22T09:17:07Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.issn9745610542
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25353
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย โดยเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และศูนย์เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนกับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนด้วย วิธีดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัย ได้สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน โดยปรับปรุงแบบวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของแฟลนเดอร์ส (Flanders’ Interaction Analysis Categories) ให้มีหัวข้อพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ครอบคลุมพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนระดับปฐมวัย และเพิ่มเติมส่วนที่เป็นพฤติกรรมทางท่าทางทั้งของครูและนักเรียน พร้อมทั้งสร้างแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย โดยศึกษาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคมของเด็กระดับปฐมวัย และจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กโดยตรง ผู้วิจัยพร้อมผู้วิจัยในคณะอีก 1 คน ได้นำแบบสังเกตทั้ง 2 ชุด ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นครูและนักเรียนระดับปฐมวัยในโรงเรียน และศูนย์เด็กที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 แห่ง ซึ่งแยกเป็นโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และที่จัดแบบศูนย์เด็กอย่างละ 6 แห่ง คิดเป็นตัวอย่างประชากรครู 18 คน และตัวอย่างประชากรนักเรียน 129 คน ซึ่งจัดเป็นนักเรียนในโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล 50 คน เป็นนักเรียนในโรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก 46 คน และเป็นนักเรียนในศูนย์เด็ก 33 คน แล้วนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences) ใน Subprogram ANOVA และ Subprogram Crosstabulation เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมของนักเรียน ระหว่างการจัดชั้นเรียนทั้ง 3 รูปแบบ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนตามลำดับ *การวิจัยครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา “พฤตกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัยในประเทศไทย” ในโครงการประสิทธิภาพการจัดบริการสำหรับเด็กปฐมวัย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยร่วมกันเป็นคณะ เพื่อที่จะศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบทั่วประเทศในระยะเวลาอันสั้น ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และศูนย์เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน จึงทำให้สภาพการเรียนการสอนมีลักษณะเหมือนกันทุกรูปแบบ คือ ครูเป็นผู้บรรยายและริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีนักเรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อคำสั่งหรือคำถามที่จำกัดคำตอบของครูเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงพฤติกรรมครูยอมรับความรู้สึกและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกของนักเรียนทางท่าทางเพียงพฤติกรรมเดียวเท่านั้น ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ โรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาลมีค่าเฉลี่ย 0.092 โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็กมีค่าเฉลี่ย 1.861 และศูนย์เด็กไม่มีพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเลย 2. พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และศูนย์เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ลักษณะของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่คือ พฤติกรรมของความเป็นเพื่อน มีการช่วยกันทำงานหรือเล่น และการเอาของเพื่อนมาทำหรือใช้โดยเพื่อนไม่อนุญาต ก้าวก่ายสิทธิผู้อื่น เหมือนกันทุกรูปแบบ มีเพียงพฤติกรรมพูดนำ และ/หรือทำนำแล้วเพื่อนร่วมมือหรือทำตาม พูดชักชวน เพียงพฤติกรรมเดียวเท่านั้น ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ โรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาลมีค่าเฉลี่ย 4.052 โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็กมีค่าเฉลี่ย 3.642 และศูนย์เด็กมีค่าเฉลี่ย 15.338 3. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันเป็นบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ในทางบวก และมีความสัมพันธ์ในทางลบเป็นส่วนน้อย จากความสัมพันธ์ที่ค้นพบนี้ แสดงให้เห็นว่า ถ้าครูใช้อิทธิพลทางตรง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมการบรรยาย การตำหนิ และการใช้คำสั่งอยู่ในระดับสูง นักเรียนก็จะมีพฤติกรรมความก้าวร้าว การเลียนแบบ และการพึ่งผู้อื่นอยู่ในระดับสูงด้วย และถ้าครูมีพฤติกรรมการยอมรับความคิดเห็น หรือสนับสนุนให้นักเรียนแสดงความคิดริเริ่มอยู่ในระดับสูง นักเรียนก็จะมีพฤติกรรมของความเป็นผู้มีอำนาจเหนือ และการถือตนเองเป็นใหญ่อยู่ในระดับสูงด้วย
dc.description.abstractalternativePurpose : The purpose of this study was to analyse the teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior by observing and comparing the data from different pre-school education agencies classified as Kindergarten, Pre-primary Class and Child Development Center. In addition, the relationship between teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior was investigated. Procedure : The researcher team* modified and observation guidline from Flanders’ Interaction Analysis Categories to be used in observing teacher-pupil interaction. The categories of interaction behavior were adapted to cover teacher-pupil interaction both verbal and nonverbal aspects. The researcher team also constructed an observation guidline to be used in observing social behaviors of pre-schoolers. This latter guidline was based on the theories of social development and social behaviors of the pre-schoolers, and on the data collected by the investigator from direct observation of pre-schooler’s behavior as well. The investigator and one of the team used the two mentioned guidelines with a sample group of teachers and pre-schoolers from 6 Kindergartens, 6 Pre-primary Classes and 6 Child Development Centers in the northeastern region. There were 18 teachers, and 129 pupils, out of which are 50 pupils in Kinder-gartens, 46 in Pre-primary Classes, and 33 in Child Development Centers. The data collected was analysed by the SPSS (Statistical Package for Social Sciences) program. The data processing program covered subprogram ANOVA and subprogram Crosstabulation to compare teacher-pupil interaction and pupil’s social behavior among the three mentioned classes, and to find out the correlation between teacher-pupil interaction and pupil’s social behavior respectively. *This study was part of “the study of teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior in Thailand” in the Evaluation of Pre-school Programs in Thailand Project of the office of the National Education Commission which was performed in a team in order to study and collect throughout country data in a short period of time. Results : 1. There were no differences in teacher-pupil interactions when compared among Kindergartens, Pre-primary Classes, and child Development Centers in the northeastern region. Teaching and learning behaviors in the observed classes were found alike. Most of the observed behaviors included a teacher lecturing and initiating various activities while her pupils responding to any orders given by the teacher or to the questions needed only factual answers. Teachers’ acceptance of students’ feelings was the only teacher behavior that was found statistically different at 0.5 level among the groups compared. The Kindergarten teachers had the mean of 0.092, the Pre-primary teachers had 1.861. While the teachers at Child Development Center didn’t reveal such behavior. 2. There were no differences in social behaviors when compared among Kindergartens, Pre-primary Classes, and Child Development Centers in the northeastern region. Most of the behaviors found were: sharing of friendliness, working and playing together, taking or using of other belongings without asking for permission, and meddling other’s affairs. Only the behavior of giving direction and persuasion had statistical difference at 0.5 level. Where as the Kindergarten teachers had the mean of 4.052, the Pre-primary Class teachers and the Child Development Center teachers had the means of 3.642 and 15.338 respectively. 3. The correlation between teacher-pupil interactions and pre-schooler’s social behaviors revealed significant relationship of certain behaviors. Most behaviors had positive relation and less had negative one. The relationship found indicated that, if a teacher frequently used her direct influences : lecturing, blaming and ordering, the pupils’ responses would include aggression, imitation, and dependency. More over, if the teacher frequently accepted and supported ideas and initiation of the pupils, the pupils’ responses would frequently reveal ascendance and egocentrism.
dc.format.extent22491080 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย : เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen
dc.title.alternativeTeacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior : a comparison among different pre-school education agencies in the Northeastern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonnum_Kh_back.pdf21.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.