Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25496
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพูนสุข บุณย์สวัสดิ์
dc.contributor.authorบุญเยื้อน ประกอบแสง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T03:59:34Z
dc.date.available2012-11-23T03:59:34Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745662011
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25496
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองตามการรับรู้ของตนเองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองตามการรับรู้ของตนเองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนตามเพศและวัยของผู้ปกครอง วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองเกี่ยวกับบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของเด็กก่อนวัยเรียน ตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของกลุ่มโรงเรียนที่ยังไม่ได้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กรวมทั้งสิ้น 205 คน มีสมมติฐานในการวิจัยคือ 1. ผู้ปกครองที่มีเพศต่างกันมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนต่างกัน 2. ผู้ปกครองที่มีวัยต่างกันมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนต่างกัน สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้ปกครองมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ทำเป็นประจำ แต่เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของแต่ละบทบาทจะเห็นว่าผู้ปกครองมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายมากที่สุด จากการวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละของบทบาทที่ผู้ปกครองบางคนไม่ได้ทำปรากฏว่า มี 65 บทบาทในบทบาททั้งหมด 68 บทบาท บทบาทที่ผู้ปกครองทุกคนทำเป็นร้อยละร้อยมี 3 บทบาทคือ ให้อาหารที่มีประโยชน์และมีคุณภาพ จัดหาน้ำที่สะอาดให้ดื่ม และรับประทานอาหาร พร้อมกันทั้งครอบครัว จากการวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลปรากฏว่า 1. การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ผู้ปกครองเพศหญิงมีบทบาทมากกว่าผู้ปกครองเพศชาย 2. การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และด้านสังคมผู้ปกครองเพศชายและเพศหญิงมีบทบาทไม่แตกต่างกัน 3. การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาผู้ปกครองเพศชายมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนมากกว่าผู้ปกครองเพศหญิง และจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองที่มีช่วงอายุต่างกัน ผลปรากฏว่า 1. ผู้ปกครองในช่วงอายุ 30 ปี หรือต่ำกว่ากับผู้ปกครองในช่วงอายุ 31-40 ปี มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายแตกต่างกัน 2. ผู้ปกครองในช่วงอายุ 31-40 ปี และผู้ปกครองในช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์แตกต่างกัน 3. ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมและด้านสติปัญญา ผู้ปกครองทั้ง 3 ช่วงอายุ มีบทบาทไม่แตกต่างกัน
dc.description.abstractalternativePurposes 1. To study parents’ roles in pre-school child rearing as perceived by themselves. 2. To compare parents’ roles in pre-school child rearing as perceived by themselves upon sex and age of the parents. Procedures The research instrument is an interview questionnaire consisted of the parents’ roles in [physical, emotional; social,] and intellectual development of pre-school children. The samples were 205 parents of pre-school children in Changwat Ubonratchathani in the area where there were no pre-school and child development centers. The hypothesis of the research were : (1) the different sex of parents had different roles in pre-school child rearing (2) the different age of parents had different roles in pre-school child rearing. Results The analysis by using mean and [standard] deviation revealed that by average, parents had regular roles in developing children’s in four: physical, emotional, social and intellectual aspects. Considering each roles, the finding indicate that parents had the most roles in fostering child physical development. The analysis by using perventage revealed that there were 65 from 68 of parents roles which parents did not perform. There were 3 parents roles which parents performed 100 percents: to serve useful and qualitative food, to serve clean water and to have meat in family together. The analysis by using t-test revealed that: 1. Female parents had more roles in fostering child physical development more than male parents. 2. Female and male parents had no different roles in fostering child emotional and social development. 3. Male parents had more roles in fostering child intellectual development than female parents. In addition, the results of the One-Way Analysis of Variance in comparing roles of parents with Different age indicated that: 1. Parents with aged range of 30 or below and 31-40 had different roles in fostering child physical development. 2. Parents with aged range of 31-40 and more than 41 had different roles in fostering child emotional development. 3. Parents with all 3 aged ranges had no different roles in fostering child social intellectual development.
dc.format.extent483506 bytes
dc.format.extent459237 bytes
dc.format.extent1256725 bytes
dc.format.extent324415 bytes
dc.format.extent910971 bytes
dc.format.extent813988 bytes
dc.format.extent842500 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทของผู้ปกครองตามการรับรู้ของตนเอง ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีen
dc.title.alternativeParents' roles as perceived by themselves in pre-school child rearing in changwat Ubon Ratchathanien
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonyion_Pr_front.pdf472.17 kBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_ch1.pdf448.47 kBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_ch3.pdf316.81 kBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_ch4.pdf889.62 kBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_ch5.pdf794.91 kBAdobe PDFView/Open
Boonyion_Pr_back.pdf822.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.