Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26601
Title: อุบัติเหตุและแนวทางป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดกับนักเรียนอนุบาลในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Accidents and ways of accident prevention among kindergarten students in Bangkok metropolis
Authors: กุลพงษ์ สุขเกิด
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันอุบัติเหตุของนักเรียนอนุบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูประจำชั้น การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุพบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นการหกล้ม การวิ่งชนกัน และการลื่นล้ม ทำให้เกิดบาดแผลถลอก ฟกช้ำ และเคล็ดขัดยอกในบริเวณหัวเข่า ศีรษะ ข้อศอกและฝ่ามือ บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นบริเวณสนามเด็กเล่น ซึ่งมักเกิดในช่วงเวลาพักกลางวัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ส่วนใหญ่ครูประจำชั้นหรือพี่เลี้ยงจะปฐมพยาบาลให้นักเรียนก่อน หากมีอาการหนักก็จะส่งห้องพยาบาลหรือโรงพยาบาลต่อไป 2. สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากตัวนักเรียน 3. แนวทางป้องกันอุบัติเหตุพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีนโยบายป้องกันอุบัติเหตุ มีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ มีการประชุมเพี่อชี้แจงนโยบาย มีกิจกรรมป้องกันอุบัติเหตุ มีการฝึกปฏิบัติเวลาเกิดไฟไหม้ มีการจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุ และมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
Other Abstract: To study the accident characteristics, causes of accidents and ways of accident prevention among kindergarten students in Bangkok Metropolis. The quality research was employed. The data collection was composed of school administrator and classroom teacher interviews, students behavior observation and related documents study. The findings were as follows : 1. Accident characteristics were falling, bumping and slippering. The injuries were scraping, bruising and spraining in the areas of knee, head, elbow and plam. Most accidents were occurred in the playgrounds during lunch time. After the accidents, classroom teachers or assistant staff would do the first aid for the minor injuries and refer to the physicians or the hospitals for the serious cases. 2. Causes of accident mostly came from the students themselves. 3. Ways of accident prevention were setting of the accident prevention policy; acident prevention strategies; committee setting and policy meeting; acident prevention activities; fire drill activities; accident reports, following up and evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26601
ISBN: 9741763077
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunlapong_su_front.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_ch1.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_ch2.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_ch3.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_ch4.pdf27.34 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_ch5.pdf8.62 MBAdobe PDFView/Open
Kunlapong_su_back.pdf8.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.