Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26816
Title: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบในการสำรวจเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์
Other Titles: Factors affecting number of nonrespinse in survey of fertility
Authors: ศิวพร หิรัญชัย
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบในการสำรวจเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ โดยอาศัยแบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่หนึ่งเป็นแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ กลุ่มตัวอย่างคือสตรีผู้ที่มีชื่ออยู่ในทำเนียบสตรีไทยของสภาสตรีแห่งชาติ พ.ศ. 2521 จำนวน 450 ท่าน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนทั้งหมดจำนวน 264 ฉบับ โดยได้รับกลับคืนครั้งแรก 168 ฉบับ หลังจากส่งจดหมายเตือน ได้รับกลับคืนในครั้งที่ 2 จำนวน 76 ฉบับ และหลังจากส่งแบบสอบถามกลับไปอีก ได้รับกลับคืน 19 ฉบับ แบบสอบถามที่ไม่ได้รับกลับคืนเลย จำนวน 141 ฉบับ แบบสอบถามถูกส่งคืนเพราะย้ายถิ่น ไม่มีชื่ออยู่ตามที่อยู่ที่ให้ไว้ และตายในระหว่างนั้น 45 ฉบับ ชุดที่สองเป็นแบบสอบถามที่ส่งพนักงานสัมภาษณ์ออกไปสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัว เป็นการสุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่เคยสมรส และอายุต่ำกว่า 50ปีบริบูรณ์ โดยใช้สถิติไค สแคว์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบ และจัดลำดับความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยโดยใช้ ค่า คราแมร์วี ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร กับจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบจากแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ นั้น ลำดับความสัมพันธ์ที่ได้ไม่คงที่ ดังนั้น ประเด็นสำคัญของการไม่ให้คำตอบอาจมาจากปัจจัยอื่น เช่น ความสนใจของผู้ตอบในขณะนั้น จากการศึกษาถึงการไม่ให้คำตอบข้อถามบางข้อ ที่กลัวเสียผลประโยชน์ พบว่า อาชีพมีผลกระทบต่อจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบอย่างมีนัยสำคัญ จากแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ ส่วนแบบสอบถามที่ส่งพนักงานออกไปสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัว สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย จำนวนบุตร อาชีพ อายุ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ และศาสนา มีผลกระทบต่อจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบตามลำดับ โดยสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบสูงสุด และจากการศึกษาถึงจำนวนข้อที่ไม่ให้คำตอบ จากแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ จำนวนบุตร และสถานภาพสมรส ผลกระทบต่อจำนวนข้อที่ไม่ให้คำตอบตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามที่ส่งพนักงานออกไปสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัว อาชีพ เขตที่อยู่อาศัย อายุ เชื้อชาติ และระดับการศึกษา มีผลกระทบต่อจำนวนข้อที่ไม่ให้คำตอบตามลำดับ นอกจากนั้น ระยะเวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวนครั้งที่เข้าพบ และผลของการสัมภาษณ์ ยังสามารถอธิบายถึงจำนวนผู้ไม่ให้คำตอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Other Abstract: This research aimed to study factors that affected number of non-responses on a survey of fertility. Two sets of questionaires were administered through two means. The first was a by-mail questionnaire. Subjects included 450 female members of the National Women Council in the year 1978. After a distribution of questionaires by mail, a total of 264 responses were received 168 of which required no reminder letters 76 after one reminder, and 19 after another copy of questionaires had been sent 141 subjects never responded and 45 copies of questionaires were returned due to change of address and death. The second set of questionaires was of an interview format. Interviewers were sent to perform on random subjects throughout the country. The subjects included married women aged below 50 years. Chi-square was used to test the relation between variables and the number of non-responses. Cramer’ V was used to put such relation of each variable into order of importance. The results were as follows : 1. The analysis of relationship between variables and the number of non-responses acquired through the by-mail questionaires reflected and inconsistent order of relationship. Therefore it could be concluded that non-responses could be caused by other factors such as interests of the subjects at the time they were filling forms. 2. A close study on Some items of the by-mail questionnaire indicated that occupation played the most important role on non-responses to sensitive items. 3. On an analysis of the interview questionnaire, marital status revealed the highest effect on non-responses to sensitive items. And area of residence, number of children, occupation, age, level of education, race and religion, respectively, also had effects on non-responses to sensitive items. 4. On an analysis of the by-mail questionaire, number of children showed the highest effect on the number of unanswered items, and marital status the second highest. 5. From the interview questionaire, it was found that occupation, area of residence, age, race, and level of education, respectively had effects on the number of unanswered items. Furthermore, the relationship between variables or factors and time consumed during interview, number of visits, and results of interview could more clearly indicate number of non-responses.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26816
ISBN: 9745680648
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sivaporn_hi_front.pdf19.04 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_hi_ch1.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_hi_ch2.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_hi_ch3.pdf114.48 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_hi_ch4.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_hi_back.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.