Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27095
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิดยานนท์ | |
dc.contributor.author | สุจิตรา จันทร์สว่าง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-30T03:14:59Z | |
dc.date.available | 2012-11-30T03:14:59Z | |
dc.date.issued | 2528 | |
dc.identifier.isbn | 9745638412 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27095 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภูมิหลังและวิธีการศึกษา ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย เป็นบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในปีการศึกษา 2523 สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในปีการศึกษา 2525 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ภูมิหลังของบัณฑิต เปรียบเทียบระหว่างบัณฑิตกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ พบว่าสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เพศ อายุขณะศึกษา รายได้ประจำ อาชีพของบัณฑิต อาชีพของคู่สมรส เป็นตัวแปรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ส่วนสาขาวิชาวิทยาการจัดการ วุฒิการศึกษาสูงสุดก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นตัวแปรที่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ในด้านวิธีการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ พบว่าตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างบัณฑิตกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ คือการศึกษาเอกสารการสอน การฟังรายการวิทยุกระจายเสียงประกอบชุดวิชา และการค้นคว้าหนังสืออื่นเพิ่มเติม โดยกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูงมีค่าเฉลี่ยของวิธีการศึกษาทั้ง 3 วิธีดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ ส่วนสาขาวิชาวิทยาการจัดการ พบว่า การศึกษาเอกสารการสอน เป็นตัวแปรเพียงตัวเดียวที่มีความแตกต่างระหว่างบัณฑิตกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) และกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง มีค่าเฉลี่ยของวิธีการศึกษาวิธีนี้สูงกว่ากลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำเช่นกัน จากการศึกษาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคู่ต่างๆ เปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ พบว่า ในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ตัวแปรคู่ที่มีสหสัมพันธ์แตกต่างกันใน 2 กลุ่มนี้ คือ อายุกับรายได้ของบัณฑิต โดยกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูงมีค่าสหสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) ส่วนสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ตัวแปรคู่ที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ คือ การนำประสบการณ์การทำงานมาใช้ในการเรียน กับการดูรายการโทรทัศน์ประกอบชุดวิชา โดยกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูงมีความสัมพันธ์ทางบวก ส่วนกลุ่มที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำมีความสัมพันธ์ทางลบ | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to compare the respective background and methods of study of graduates from Sukhothai Thammathirat Open University between the High and Low Achievement Groups. The sample groups used were gradates of the School of Educational Studies and the School of Management Science who took 2 year continuous course of study. They enrolled at Sukhothai Thammathirat Open University in 1980 and completed all course requirements in 1982 whereupon they became the first graduates of Sukhothai Thammathirat Open University. The data used in this research were collected by means of a questionnaire designed by the researcher. The results of the research may be summarized as follows: The respective background of high achievement groups and low achievement groups were compared. In the School of Educational Studies it was discovered that sex’ age’ income’ occupation and occupation of spouse were all variables which were different significantly. (P< .05) However’ in the School of Management Science, the highest educational qualification attained before enrolling at Sukhothai Thammathirat Open University was the single most important variable significantly difference between the two groups (P< .05) When considering the method of study employed by those graduates in the School of Educational Studies, it was observed that the variables which suggested a significant difference, when a comparison was drawn between the High Achievement Groups and the Low Achievement Groups, consisted of the study of textbooks, listening to radio programmes broadcast to supplement study courses, and other supplementary material. The high achievement group had higher average values for these three methods than did the low achievement group. As for the School of Management Science, it was found that the single variable which differed between the high achievement group and the low achievement group was the study of textbooks. (P< .05) /the high achievement group showed a higher average for this method of study than did the low achievement group. From a study of the relationship between the variables, when a comparison was made between the high achievement group and the low achievement group, it was apparent that, in the School of Educational Studies, the variables, for which there was a relationship and the degree of relationship was significantly different for these two groups were age and income of the graduates, the high achievement group showed a higher relationship than for the students in low achievement group. As for the School of management Science, the variables which were observed to differ significantly between the high achievement group and the low achievement group were work experience and watching television programmes which supplemented the study course. For the high achievement group, this revealed a positive relationship, where as for the low achievement group there was a negative relationship. | |
dc.format.extent | 462805 bytes | |
dc.format.extent | 399702 bytes | |
dc.format.extent | 489274 bytes | |
dc.format.extent | 342539 bytes | |
dc.format.extent | 781424 bytes | |
dc.format.extent | 576581 bytes | |
dc.format.extent | 535292 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การเปรียบเทียบภูมิหลังและวิธีการศึกษา ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างกลุ่มที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง กับกลุ่มที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ | en |
dc.title.alternative | A comparison of background and methods of study of the graduates from Sukhothai Thammathirat open university between the high and low achievement groups | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujittra_Ju_front.pdf | 451.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_ch1.pdf | 390.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_ch2.pdf | 477.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_ch3.pdf | 334.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_ch4.pdf | 763.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_ch5.pdf | 563.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujittra_Ju_back.pdf | 522.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.