Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิดยานนท์
dc.contributor.advisorวิชิต ปุณวัตร
dc.contributor.authorอนันทศิลป์ รุจิเรข
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-14T02:34:41Z
dc.date.available2012-12-14T02:34:41Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27655
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้น เกี่ยวกับการรายงานผลการเรียน โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นในแต่ละกลุ่มระดับชั้น และในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ในการสอน แล้วทำการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการรายงานผลการเรียน ตลอดจนเปรียบเทียบการใช้เวลาและแรงงานในการประมวลผลการเรียนโดยการใช้บุคคลทำการใช้คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานผลการเรียน เป็นอาจารย์ประจำชั้นของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 120 คน ของปีการศึกษา 2524 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น เป็นคะแนนผลการเรียนของนักเรียน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบอัตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาจารย์ประจำชั้นในกลุ่มระดับชั้น ป.1-ป.3, ป.4-ป.6, ม.1-ม.3 และ ม.4, ม.ศ. 4-5 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานผลการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. อาจารย์ประจำชั้น ที่มีประสบการณ์ในการสอน กลุ่ม 1-3 ปี, กลุ่ม 4-6 ปี, กลุ่ม 7-9 ปี และกลุ่ม 10-18 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานผลการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ยกเว้นความคิดเห็นด้านการทำสมุดรายงานผลการเรียน อาจารย์ประจำชั้นทั้ง 4 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่จากการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ไม่พบเลยว่าความคิดเห็นของคู่ใดที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบความแตกต่าง โดยการเปรียบเทียบแบบพหุคูณ ด้วยวิธี S-Method พบว่ากลุ่มอาจารย์ประจำชั้นที่ทำการสอนมาแล้ว 4-6 ปี มีความคิดเห็นที่เห็นด้วยมากกว่าระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้นทั้ง 3 กลุ่มรวมกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการรายงานผลการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้ได้ใบรายงานผลการเรียนที่เป็นคะแนนของนักเรียน 3 แบบฟอร์มด้วยกัน คือ แบบฟอร์มของชั้นประถมศึกษา แบบฟอร์มของชั้นมัธยมศึกษา และแบบฟอร์มของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีลักษณะกะทัดรัด ช่วยทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย มีรายละเอียดครอบคลุมดี และสามารถแจกให้นักเรียนไปได้เลย 4. การประมวลผลการเรียน โดยใช้บุคคลทำ ต้องใช้คนถึง 156 คน เสียเวลาทำในส่วนที่เป็นคะแนนประมาณ 3 วัน ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นคะแนนจะใช้คนทำเพียง 5-6 คน เสียเวลาประมาณ 6 วัน
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the opinions of classroom teacher about student grade report and reporting the opinion results in Comparison within group level class and teaching experience, to construct a facilitate computer program for student grade report and to compare the manual process with computer process by using time and manpower. The sample of opinion’s study were 120 classroom teachers in Kasetsart University Laboratory School who had been teaching not less than 1 year of 2524’s academic year, the sample of program tested were details and scores of 14 students. The instrument was a rating scale questionnaire constructed by the researcher The data was analyzed by using various statistical methods such as arithmetic mean, standard deviation, percentage and one way analysis of variance. The major findings were : 1. The opinions about student grade report of classroom teacher in different level class was not statistically significant difference (p > .05). 2. The opinions about student grade report of classroom teacher in different teaching experience was not statistically significant difference (p > .05) except in doing student grade report, all classroom teacher group’s opinions were statistically significant difference (p < .05) but was not statistically significant difference with pair-wise method in a posteriori comparison. Multiple comparisons with S-Method were used one more time, classroom teacher who had been teaching for 4-6 years agreed better than the total of the other group (p < .05). 3. Student grade report’s form generated by computer program had 3 complete forms; Prathom Suksa form, Lower Matayom Suksa form and Upper Matayom Suksa form. The printing output was practical used, convenience for retrieving and giving out to students. 4. Student grade report processing in the scores part by using manual operation used 156 manpowers and time was 3 days. The use of a computer used 5-6 manpowers and time was 6 days.
dc.format.extent411909 bytes
dc.format.extent436238 bytes
dc.format.extent599474 bytes
dc.format.extent1185732 bytes
dc.format.extent2362409 bytes
dc.format.extent413745 bytes
dc.format.extent450001 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการรายงานผลการเรียน ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์en
dc.title.alternativeConstruction of a computer program for student grade report of the University Laboratory School, Faculty of Education, Kasetsart Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anantasilpa_Ru_front.pdf402.25 kBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_ch1.pdf426.01 kBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_ch2.pdf585.42 kBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_ch3.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_ch4.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_ch5.pdf404.05 kBAdobe PDFView/Open
Anantasilpa_Ru_back.pdf439.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.