Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27683
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภร สุวรรณาศรัย
dc.contributor.authorศักดา ประจุศิลป
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-14T09:03:53Z
dc.date.available2012-12-14T09:03:53Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745640484
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27683
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพของการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ 2. เพื่อวิเคราะห์ความต้องการด้านบริการ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ รวม 5 มหาวิทยาลัย คือคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย มหาวิทยาลัยละ 20 คน รวม 100 คน และได้รับกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 78.0 และหัวหน้าหน่วยเวชนิทัศน์ (โสตทัศนศึกษา) คณะแพทยศาสตร์ รวม 5 มหาวิทยาลัยดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยละ 1 คน รวม 5 คน และได้รับกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 100 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานคือหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. ด้านประสบการณ์และความคิดเห็น คณาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนเป็นอย่างดี โดยได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะสั้น ๆ แหล่งผลิตและให้บริการที่ใช้มากคือหน่วยเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ และรองลงมาคือ การผลิตสื่อการสอนขึ้นใช้เอง วิธีการสอนคณาจารย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ รองลงมาคือการสอนแบบอภิปราย สำหรับการเพิ่มพูนความรู้คณาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการให้คณะแพทยศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการอบรม 2. การวิเคราะห์สถานภาพความต้องการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ปรากฏว่ามีความต้องการใช้สไลด์และเครื่องฉายมากที่สุด รองลงมาคือเอกสาร เครื่องบันทึกและแสดงภาพ แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายและระบบการขยายเสียง สื่อการสอนที่มีความต้องการใช้น้อย ได้แก่แผนที่ กระดานผ้าสำลี ป้ายนิเทศ คอมพิวเตอร์หุ่นยนตร์ การสอนระบบคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ 3. ปัญหาด้านสื่อการสอน คณาจารย์ส่วนใหญ่ประสบมากที่สุดคือ หน่วยไม่มีความรู้ในด้านการผลิต รองลงมาตามลำดับคือ ไม่มีบุคลากรช่วยในการผลิต ขาดงบประมาณที่ใช้ในการผลิต ผู้ผลิตไม่มีเวลาเพียงพอและบริการล่าช้าไม่ได้รับความสะดวก ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยเวชนิทัศน์จะต้องสรรหาบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถสูง มีประสบการณ์ในด้านการผลิตสื่อการสอนเป็นอย่างดี เพื่อให้คำปรึกษาและเสนอแนะแก่หน่วยได้ 2. หน่วยเวชนิทัศน์จะต้องมีงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการสอนเพียงพอแก่ความต้องการและสื่อการสอนที่จำเป็นใช้บ่อยมากพอ 3. หน่วยเวชนิทัศน์ควรจะได้กำหนดนโยบายและแผนงานไว้ล่วงหน้าให้มีเวลาเพียงพอในการบริการผลิตสื่อการสอน นอกจากนั้นคณาจารย์ควรให้ความร่วมมือกับหน่วยโดยเตรียมการใช้สื่อการสอนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้หน่วยมีเวลาเพียงพอในการผลิต หน่วยควรจะได้มีการประชาสัมพันธ์ในด้านบริการทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ว่าชนิดใดมีและให้บริการด้วย
dc.format.extent530049 bytes
dc.format.extent608907 bytes
dc.format.extent608018 bytes
dc.format.extent382193 bytes
dc.format.extent1102120 bytes
dc.format.extent609765 bytes
dc.format.extent1582544 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์สถานภาพและความต้องการ การใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์en
dc.title.alternativeAn analysis of status and needs in utilization of instructional media of faculty in the faculty of medicineen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_Pr_front.pdf517.63 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch1.pdf594.64 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch2.pdf593.77 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch3.pdf373.24 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch5.pdf595.47 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_back.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.