Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28824
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorภัทรียา จิตเอื้ออารีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-02-11T04:13:54Z-
dc.date.available2013-02-11T04:13:54Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745668133-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28824-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractเขตราษฎร์บูรณะเป็นเขตชั้นกลางตามการแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลางและชั้นนอกของกองผังเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อพิจารณาการแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เมืองและพื้นที่ชานเมืองแล้ว เขตราษฎร์บูรณะจัดเป็นพื้นที่ชานเมืองเนื่องจาก เขตราษฎร์บูรณะมีสภาพพื้นที่ และลักษณะการใช้ที่ดินคล้าย เขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร คือมีพื้นที่เกษตรกรรม มาก และติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ประชากรเกาะกลุ่มหนาแน่นเฉพาะส่วนบนของพื้นที่มีลักษณะแตกต่างจาก เขตชั้นกลางอื่น ๆของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมน้อย ความหนาแน่น และการกระจายตัวของประชากรสูง ดังนั้น เขตราษฎร์บูรณะ จึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเขตชั้นนอกหรือเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เขตขานเมืองหมายถึง เขตที่ต่อระหว่างเมืองและชนบท เป็นเขตที่มีพื้นที่บางส่วนหรือ ส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรรมอยู่ ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมเหล่านี้มีความสำคัญต่อพื้นที่เมืองมากคือ เป็นแหล่งอาหารของเมืองเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และประโยชน์ทางด้านผังเมืองอื่น ๆ ในระยะเวลาที่ผ่านมา พื้นที่เมืองได้ขยายตัวบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมชานเมืองเหล่านี้ตลอดเวลาและ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ.2511 กรุงเทพมหานครมีพื้นที่เมือง 66,331 ไร่และเพิ่มขึ้นเป็น 279,769 ไร่ ในปี พ.ศ. 2526 จะเห็นไค้ว่าช่วงระยะเวลา 15 ปี มีพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นถึง 213,438 คิดเป็นร้อยละ 321 ของพื้นที่เดิม การขยายตัวของพื้นที่เมืองที่เกิดขึ้น ขาดความ เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องจากไม่มีการวางแผนล่วงหน้าทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งของการใช้ที่ดิน ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อเนื่องตามมาทั้งทางกายภาพและสังคม ซึ่งนับวันปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สมควรที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการแก้ไข งานวิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการศึกษาลักษณะความเป็นจริงในพื้นที่ในด้านต่างๆของเขตชานเมือง เพื่อที่จะกำหนดเป้าหมายหลัก นโยบายการใช้ดินและเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดิน โดยศึกษาในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ซึ่งจัดเป็นเขตชานเมืองทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษาได้ใช้ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และโดยการออกแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินในเขตราษฎร์บูรณะ ซึ่งได้แก่ เกษตรกร เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ที่อยู่อาศัยในเขตราษฎร์บูรณะ โดยเน้นหนักที่เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตราษฎร์บูรณะ เพี่อให้ทราบสภาวะ การเปลี่ยนแปลงปัญหา และแนวโน้มของการใช้ที่ดินประ เภทต่าง ๆ ในการวางแผนการใช้ที่ดินได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ (Potential Surface Analysis : PSA) เป็นวิธีซึ่งวิเคราะห์ศักยภาพแห่งการพัฒนาของพื้นที่ในทุก ๆบริเวณบนแผนที่เป็นลำดับ จากต่ำสุดจนถึงสูงสุด และพิจารณาข้อมูลทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ผลของการศึกษาดังกล่าวพบว่า เขตราษฎร์บูรณะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเกษตรกรรม ที่อุดมสมบูรณ์ สมรรถนะดินเหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรกรรม มีระบบโครงข่ายคลองที่หนาแน่น การคมนาคมขนส่งทางถนนสะดวกสบายในบริเวณตอนบนของพื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพื้นที่เมืองหนาแน่นทั้งในด้านพาณิชยกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย จากการศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพบว่าในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็น พื้นที่เมืองอย่างรวดเร็วในบริเวณตอนบนของพื้นที่ในแขวงบางปะกอก และแขวงราษฎร์บูรณะ เนื่องมาจากการก่อสร้างถนนสุขสวัสดิ์และถนนราษฎร์บูรณะ หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นช้าลง โดยในปีพ.ศ. 2517 เขตราษฎร์บูรณะมีพื้นที่เกษตรกรม 18,239.94 ไร่ และในปี พ.ศ. 2526 มีพื้นที่เกษตรกรม 17,125.58 ไร่ จะเห็นได้ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2526 เขตราษฎร์บูรณะมีพื้นที่เกษตรกรรมลดลง 1,114.36 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.10 ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก ทั้งนี้มีสา เหตุเนื่องจากเกษตรกรในเขตราษฎร์บูรณะมีรายได้สูงจึงต้องการที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป และในขณะเดียวกันการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมได้ลดน้อยลงเนื่องจากประสบปัญหาต่างๆ และบทบาทของที่อยู่อาศัยก็มีน้อย จึงไม่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของพื้นที่เมืองมากนัก ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มที่จะเกิด ขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากผลกระทบจากภายนอกที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในด้านการคมนาคม คือการก่อสร้างทางด่วนสายดาวคะนอง-ท่า เรือ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530 นี้และโครงการระบบขนส่งมวลชนขั้นที่ 1 จะมีผลให้การคมนาคมระหว่างเขตราษฎร์บูรณะกับเขต อื่นๆของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงสะดวกรวดเร็วขึ้น ราคาที่ดินจะสูงขึ้น การ ขยายตัวของเมืองก็จะเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็น พื้นที่เมืองมากขึ้น จากการออกแบบสอบถามพบว่า เกษตรกรในเขตราษฎร์บูรณะส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ดังนั้นโอกาสที่เจ้าของที่ดินจะนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ให้ผลคุ้มค่า กว่าย่อมมีมาก นอกจากนี้จากการประสบปัญหาในการทำการเกษตรของ เกษตรกรในเรื่องต่างๆ เช่น น้ำท่วม น้ำเค็ม น้ำเสีย หรือปัญหาที่ดิน ทุน แรงงาน และตลาดที่อาจจะเกิดขึ้น หากเกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้หรือรัฐบาลให้ความช่วยเหลือไม่เพียงพอแล้วก็จะส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาวิเคราะห์สภาวะต่าง ๆ ทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และโครงการของรัฐบาล ได้กำหนดเป้าหมายหลักของการวางแผนการใช้ที่ดินในเขตราษฎร์ - บูรณะคือ การอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรม โดยนโยบายการใช้ที่ดินจะต้องมีการใช้ที่ดินให้ตรงตาม สมรรถนะของดิน จะต้องกำหนดขอบเขตการขยายตัวของชุมชนเมืองให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยไม่รุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม และส่งเสริมโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมโดยรัฐบาลให้ความ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเกษตรกร จากเป้าหมายหลักและนโยบายดังกล่าวจึงได้ เสนอแนะแผนการใช้ที่ดินในเขตราษฎร์บูรณะ ส่งประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่เมือง ประเภทต่าง ๆ แยกจากกันอย่างชัดเจน โดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
dc.format.extent23028518 bytes-
dc.format.extent2606806 bytes-
dc.format.extent10290874 bytes-
dc.format.extent45997104 bytes-
dc.format.extent76292549 bytes-
dc.format.extent26432559 bytes-
dc.format.extent25273055 bytes-
dc.format.extent52749009 bytes-
dc.format.extent6337781 bytes-
dc.format.extent15260739 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินเขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study for land Use planning of Ratburana district, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pathareeya_ch_front.pdf22.49 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch1.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch2.pdf10.05 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch3.pdf44.92 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch4.pdf74.5 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch5.pdf25.81 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch6.pdf24.68 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch7.pdf51.51 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_ch8.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open
Pathareeya_ch_back.pdf14.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.