Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28830
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีระพร อุวรรณโณ | |
dc.contributor.author | ภาณี อัครธรรม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-02-11T06:43:57Z | |
dc.date.available | 2013-02-11T06:43:57Z | |
dc.date.issued | 2528 | |
dc.identifier.isbn | 9745645273 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28830 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่น และศึกษาตัวแปร สถานภาพ เพศ ศาสนา อาชีพหลักของครอบครัว ภูมิภาค และสภาพความเป็นเมืองว่าจะมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่น ดังสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้น มัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,888 คน กลุ่มตัวอย่างได้มา โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทาง สังคมของผู้อื่น สิ่งผู้วิจัยและคณะสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวการสร้างจากมาตรจำแนกความหมายของ ออสกูดและคณะ และมาตรจำแนกพฤติกรรมของทรัยแอนดิส สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียน ครู และผู้ปกครองจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ ๆ และจะไม่มีปฏิกิริยา จริยธรรมทางลบแน่ ๆ ต่อพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น และการบำเพ็ญประโยชน์ 2. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง อาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและอาจจะไม่มี ปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรม การคำนึงถึงความอาวุโส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การให้อภัย การรักษาชื่อเสียงของหมู่คณะ การแสดงความกตัญญูกตเวที และการเกรงใจ 3. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทาง บวก และอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมการรักษาสัญญา การ เห็นแก่พวกพ้อง และการอวดตน 4. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและทางลบต่อพฤติกรรม การรักษาหน้า การปฏิบัติต่อผู้ชายดีกว่าผู้หญิง และการประจบ 5. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง อาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและตัดสินใจ ไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรม การปฏิบัติต่อลูกคนโตดีกว่าลูกคนรองลง มา การปฏิบัติต่อคนที่ร่ำรวยดีกว่าคนที่ไม่ร่ำรวย การผิดจริยธรรมทางเพศของชาย และการพูดปด 6. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง อาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวก และอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมการไม่รักษาระเบียบวินัย การใช้กโลมาย การผิดจริยธรรม ทางเพศของหญิง และการอิจฉาริษยา 7. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง จะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ ๆ และอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรม การเบียดเบียนผู้อื่น และการให้ร้ายป้ายสีผู้อื่น 8. ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปร มีผลต่อปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่น ในระดับมีนัยสำคัญ (p < .05 หรือน้อยกว่า) เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ภูมิภาค สถานภาพ เพศ อาชีพหลักของครอบครัว สภาพความเป็นเมืองและศาสนา ดังรายละเอียดคือ 8.1 ผู้ที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 23 พฤติกรรม โดยผู้ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปฏิกิริยา จริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาน้อยกว่า และมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบมาก กว่ากลุ่มอื่น แต่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่พึงปรารถนามากกว่า และมี ปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น และผู้ที่อยู่ในภาคได้มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรม ทางสังคมที่ไม่พึงปรารถนามากกว่ากลุ่มอื่น 8.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 20 พฤติกรรม โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาน้อยกว่าและมีปฏิกิริยาจริยธรรม ทางลบมากกว่ากลุ่มอื่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทาง สังคมที่พึงปรารถนามากกว่ากลุ่มอื่น และครูมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมหางสังคมที่ไม่พึงปรารถนามากกว่ากลุ่มอื่น 8.3 เพศชายและเพศหญิงมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 12 พฤติกรรม โดยเพศชายมี ปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาน้อยกว่า และมีปฏิกิริยาจริยธรรม ทางลบมากกว่าเพศหญิง และ เพศชายมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่พึง ปรารถนามากกว่าและมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบน้อยกว่าเพศหญิง 8.4 ผู้ที่มีอาชีพหลักของครอบครัวรับราชการ ใช้แรงงาน ประกอบธุรกิจการค้า และเป็นลูกจ้างเอกชนมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 12 พฤติกรรม โดยผู้ที่มีอาชีพหลักของครอบครัวรับราชการมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกมากกว่า และมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น 8.5 ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเขตใน กรุงเทพมหานครเขตนอก อำเภอเมือง และ อำเภอชนบท มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 8 พฤติกรรม โดยผู้ที่อยู่ ในอำเภอชนบทมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อ พฤติกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาน้อยกว่า และมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบมากกว่ากลุ่มอื่น 8.6 ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อ พฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ในพฤติกรรมการผิด จริยธรรมทางเพศของหญิงเพียงพฤติกรรมเดียว โดยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบมากกว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ 9. ความแตกต่างของปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่น ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ซึ่งจำแนกตามตัวแปรอิสระพบว่าเป็นความแตกต่างในระดับปริมาณเท่านั้นแต่ทิศ ทางของปฏิกิริยาจริยธรรมเป็นไปในแนวเดียวกันคือ มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมที่พึง ปรารถนาและไม่ส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่พึงปรารถนา | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to survey the moral reactions of pupils, teachers and parents to the social behaviors of others, and to study the influence of six independent variables toward the moral reactions to the social behaviors of others. The six independent variables were status, sex, religion, family occupation, region and residental area. The sample was composed of 2,888 subjects which included pupils in Prathomsuksa 6, Mathayom 3, Mathoyomsuksa 5 during the 1981 academic year, as well as teachers and parents, covering the five regions of Thailand, namely, the North, Northeast, Centre, South and the Bangkok Metropolis. Subjects were selected by a multi-stage sampling method. The data were collected through a biographical data questionnaire and a moral reaction scale. The scale was constructed by the researcher following the techniques of Semantic Differential Scale and Triandis’ Behavioral Differential Scale. The data were analysed by using the one way analysis of varience and when appropriate, the Scheffe's method for pairwise comparisons. The major findings are as follow : 1. Pupils, teachers and parents showed definite positive moral reactions and no definite negative moral reactions to two behaviors : helping others and welfare work. 2. Pupils, teachers and parents might show positive moral reactions and no negative moral reactions to six behaviors : being aware of seniority, being sympathetic toward others, forgiving, saving the reputation of the group, showing gratitude and being considerate of other's feeling. 3. Pupils, teachers and parents could not decide to show positive moral reactions and could not show negative moral reactions to three behaviors : keeping promise, favoring acquaintances and being boastful. 4. Pupils, teachers and parents could not decide whether to have positive or negative moral reactions to three behaviors : face- saving, favoring men more than women and flattering. 5. Pupils, teachers and parents might not show positive moral reactions and might not decide to show negative moral reactions to four behaviors : favoring older children, favoring rich people, men violating sexual ethics and telling lies. 6. Pupils, teachers and parents might not decide between positive or negative moral reactions to four behaviors : lacking dicipline, using tricks, women violating sexual ethics and envy. 7. Pupils, teachers and parents did not show definite positive moral reactions and might show negative moral reactions to two behaviors: appressing others and calumny. 8. The six independent variables are significantly correlated to moral reactions to social behaviors of others (p < .05 or beyond). The variables which show a significant correlation are region, status, sex, family occupation, residental area and religion as outline below: 8.1 There are significant differences in moral reactions to social behaviors of others for twenty-three behaviors, among subjects from the North, Northeast, Centre, South and the Bangkok Metropolis (p < .05 or beyond). Subjects from the Northeast had less positive moral reactions to positive behaviors and more negative moral reactions than other groups but more positive moral reactions than other groups. Subjects from the South had more negative moral reactions to negative behaviors than other groups. 8.2 There are significant differences in moral reactions to social behaviors of others for twenty behaviors, among Prathomsuksa 6 pupils, Mathayom 3 pupils, Mathayomsuksa 5 pupils, teachers and parents (p < .05 or beyond) . Prathomsuksa 6 pupils had less positive moral reactions to positive behaviors and more negative moral reactions to positive behaviors and more negative moral reactions than other groups. Mathayomsuksa 5 pupils had more positive moral reactions to positive behaviors than other groups and teachers had more negative moral reactions to negative behaviors than other groups. 8.3 There are significant differences between male and female subjects (p < .05 or beyond) in moral reactions to social behaviors of others for twelve behaviors. Male had less positive moral reactions and more negative moral reactions to positive behaviors than females but had more positive moral reactions and less negative moral reactions to negative behaviors than females. 8.4 There are significant differences in moral reactions to social behaviors of others for twelve behaviors among subjects from different family occupations, namely, civil servants, workers, businessmen and employees (p < .05 or beyond). The civil servants group had more positive moral reactions and less negative moral reactions than other groups. 8.5 There are significant differences in moral reaction to social behaviors of others for eight behaviors, among the subjects from the inner Bangkok Metropolis, the suburbs, Amphoe Muang and Amphoe in the rural areas (p < .05 or beyond). Subjects from the Amphoe in the rural areas had less possitive moral reactions and more negative moral reactions to positive behaviors than other groups. 8.6 There is a significant difference among Buddhists, Christians and Muslims in moral reactions to social behaviors of others for only one behavior which is women violating sexual eithics (p< .05) Muslims had more negative moral reactions than Buddhists and Christians. 9. The differences in moral reactions to social behaviors of others of subjects according to the six independent variables are only quantitative in nature. However all variables show the same direction, i.e. to promote positive social behaviors and oppose negative social behaviors. | |
dc.format.extent | 14196255 bytes | |
dc.format.extent | 41062981 bytes | |
dc.format.extent | 22414526 bytes | |
dc.format.extent | 45974238 bytes | |
dc.format.extent | 27206451 bytes | |
dc.format.extent | 4047513 bytes | |
dc.format.extent | 19371113 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ต่อพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่น | en |
dc.title.alternative | Moral reactions of pupils, teachers and parents to social behaviors of others | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bhanee_ak_front.pdf | 13.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_ch1.pdf | 40.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_ch2.pdf | 21.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_ch3.pdf | 44.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_ch4.pdf | 26.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_ch5.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bhanee_ak_back.pdf | 18.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.