Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55034
Title: | การกำจัดสารหนูในน้ำบาดาลสังเคราะห์ด้วยถังกรองทรายชีวภาพที่มีการปรับปรุงเพิ่มเหล็ก |
Other Titles: | ARSENIC REMOVAL FROM SYNTHETIC GROUNDWATER BY IRON AMENDED BIOSAND FILTER |
Authors: | ศมน แดงฤทธิ์ |
Advisors: | ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Dao.S@chula.ac.th,daosjanjaroen@gmail.com,daosjanjaroen@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาความสามารถในการกำจัดสารหนูด้วยเหล็ก หาปริมาณเหล็กที่เหมาะสมต่อน้ำบาดาลสังเคราะห์ที่มีการปนเปื้อนสารหนู 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยใช้ปริมาณเหล็ก 2, 4, 6, 8, 16, 32, 40 และ 80 กรัมต่อลิตร รวมไปถึงศึกษาผลของความกระด้างแคลเซียมหรือแมกนีเซียมในน้ำต่อการกำจัดสารหนูด้วยเหล็ก ที่ความเข้มข้นความกระด้าง 50, 100, 150 และ 300 มิลลิกรัมต่อลิตรแคลเซียมคาร์บอเนต ผลการทดลองพบว่าในน้ำบาดาลสังเคราะห์ที่ไม่มีความกระด้างใช้เหล็กน้อยที่สุด 16 กรัมต่อลิตร ในการกำจัดสารหนูให้ไม่เกินมาตรฐานน้ำดื่ม (ไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลิตร) สามารถกำจัดสารหนูในน้ำเหลือ 3.09 ไมโครกรัมต่อลิตร ในน้ำที่มีความกระด้างแคลเซียมตั้งแต่ 50 - 300 มิลลิกรัมต่อลิตรแคลเซียมคาร์บอเนต ควรใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์อย่างน้อย 8 กรัมต่อลิตร และในน้ำที่มีความกระด้างแมกนีเซียมตั้งแต่ 50 - 300 มิลลิกรัมต่อลิตรแคลเซียมคาร์บอเนต ควรใช้ปริมาณเหล็กอย่างน้อย 4 กรัมต่อลิตร และทำการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูของถังกรองทรายชีวภาพ ถังกรองทรายชีวภาพที่มีการปรับปรุงเพิ่มเหล็ก และถังกรองทรายที่มีการปรับปรุงเพิ่มเหล็ก พบว่าถังกรองทรายชีวภาพสามารถกำจัดสารหนูให้ไม่เกินมาตรฐานน้ำดื่มได้เพียงประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ในถังกรองทรายชีวภาพที่มีการปรับปรุงเพิ่มเหล็กและถังกรองทรายที่มีการปรับปรุงเพิ่มเหล็กสามารถกำจัดสารหนูในน้ำเหลือ 2 - 6 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยมีอายุการใช้งานได้ 4 เดือน เนื่องจากปัญหาการอุดตันของถังที่ทำให้อัตราการไหลของน้ำออกจากถังลดลงจึงต้องหยุดใช้งาน |
Other Abstract: | This study investigated the ability of arsenic removal by iron oxide. Determination of suitable iron oxide content for synthetic groundwater with arsenic which contained of 1 mg/L. Iron oxide concentration used in the experiment 2, 4, 6, 8, 16, 32, 40 and 80 g/L of synthetic groundwater. Calcium or magnesium hardness concentration were set at 50, 100, 150 and 300 mg/L as CaCO3. The results showed that in non-hardened synthetic groundwater, 16 g/L of iron oxide was able to remove arsenate to 3.09 µg/L, which do not exceed the WHO Guidelines for Drinking-water Quality (≤10 µg/L). In synthetic groundwater containing calcium and magnesium hardness from 50 to 300 mg/L as CaCO3, iron oxide content should be at least 8 g/L and 4 g/L for calcium and magnesium, consequently. Three different filter tank including biosand-filter, iron amended biosand-filter and iron amended sand filter were compared the efficiency of arsenic removal. It has been found that biosand-filter could remove arsenic below WHO Guidelines for Drinking-water Quality for about a week, but iron amended biosand-filter and iron amended sand filter could remove arsenic in water to 2- 6 µg/L for 4 months. Due to the blockage of the filter tank, iron precipitates blocked the filter, and reduced the flow of water from the filter tank. Once the flow was too slow, the filter had to be stopped operating. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55034 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1026 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1026 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770467021.pdf | 7.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.