Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55499
Title: การพัฒนากระบวนการไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดแบบไหลต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการบำบัดสีในน้ำเสียปนเปื้อนลิกนิน จากโรงงานผลิตกระดาษ
Other Titles: Development of continuous flow hybrid process: GAC adsorption and hydrocyclone for color removal caused by lignin in paper factory
Authors: ศกานต์ จงจิตร
Advisors: ชัยพร ภู่ประเสริฐ
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyaporn.P@Chula.ac.th,thingtingtam@yahoo.com,Chaiyaporn.P@Chula.ac.th
Pisut.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดและกระบวนการแยกอนุภาคด้วยไฮโดรไซโคลนเพื่อกำจัดสีที่เกิดจากลิกนินในน้ำเสียจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ จากการทดลองพบว่าการดูดซับลิกนินด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด มีความสอดคล้องกับแบบจำลองแลงก์เมียร์ไอโซเทอม และในการแยกถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดออกจากน้ำด้วยไฮโดรไซโคลน ขนาด 30 มิลลิเมตร พบว่ามีประสิทธิภาพร้อยละ 95 จากการศึกษาการดูดซับในระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลน พบว่า ความสามารถในการดูดซับสูงกว่าการดูดซับในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากน้ำเสียในระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนมีอุณหภูมิสูงกว่าในห้องปฏิบัติการและการแตกของถ่านกัมมันต์ในระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลน ซึ่งเป็นผลมาจากความดันและแรงเฉือนจากปั๊มสกรูและใบกวน ในการศึกษาระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนแบบทีละเทได้รับการพัฒนาไปสู่ระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนแบบกึ่งต่อเนื่อง โดยหาเวลาที่น้อยที่สุดที่น้ำเสียต้องอยู่ในระบบ เพื่อกำหนดอัตราการไหลของน้ำเสียและหาเวลาที่เหมาะสมที่ถ่านกัมมันต์ต้องอยู่ในระบบสำหรับออกแบบระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนแบบต่อเนื่อง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนแบบต่อเนื่อง สามารถบำบัดน้ำเสียให้ผ่านค่าที่กำหนด นั่นคือสามารถใช้ข้อมูลจากการทดลองไปใช้ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ได้
Other Abstract: This study presents an application of an adsorption-hydrocyclone hybrid process for removal of color caused by lignin in wastewater from pulp paper factory. Granular activated carbon (GAC) was applied. From the test, the adsorption of lignin by GAC was compatible with Langmuir isotherm. The separation of GAC by the 30-mm solid-liquid hydrocyclone was found effective with the efficiency of 95%. The study of batch hybrid process revealed that adsorption capacity of (GAC) in hybrid process was higher than adsorption in laboratory test because of higher temperature and breaking phenomena in hybrid process. The breaking phenomena of GAC occurred in process due to various dynamic equipment of hybrid process including screw pump, agitation blade and hydrocyclone. The batch hybrid process was further developed into semi-continuous to identify suitable wastewater flow rate and solid retention time (SRT) of activated carbon for continuous process. The results from experiment indicate that the adsorption-hydrocyclone hybrid system is practical for lignin removal.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55499
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1036
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1036
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770466321.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.