Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5565
Title: การศึกษาปัจจัยที่กำหนดการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันระหว่างประเทศไทยและประเทศอินเดีย
Other Titles: The study of intra-industry trade between Thailand and India
Authors: ภัทรา อุดมจิตพิทยา
Advisors: โสตถิธร มัลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Sothitorn.M@chula.ac.th
Subjects: การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน
สินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการค้ารวม
ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- อินเดีย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งเน้นที่การพิจารณาเปรียบเทียบที่มาของการเติบโตทางการค้าโดยแบ่งแยกผลที่มาจากการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันและการค้าระหว่างอุตสาหกรรมร่วมกับการพิจารณาเปรียบเทียบความสำคัญของการส่งออกและการนำเข้าที่มีผลต่อการเติบโตของมูลค่าการค้ารวมที่เปลี่ยนแปลงไปเปรียบเทียบช่วงปี 2535-2539 และ 2539-2544 ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรม กรณีศึกษาปี 2541 โดยการศึกษานี้พิจารณาจากสินค้าอุตสาหกรรมที่จำแนกตามระบบฮาร์โมไนซ์ในระดับ 4 หลัก ผลการศึกษาที่มาของการเติบโตการค้ารวมพบว่า การค้าระหว่างอุตสาหกรรมมีบทบาทต่อการเติบโตของการค้ารวมมากกว่าการค้าภายในอุตสาหกรรมมาโดยตลอด และเมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมพบว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าเนื่องจากจะมีต้นทุนในการปรับตัวที่ต่ำและไทยอยู่ในสถานะเป็นผู้ส่งออกสุทธิ อุตสาหกรรมอัญมณีและโลหะจะได้รับประโยชน์เช่นกันเนื่องจากการมีต้นทุนในการปรับตัวที่ต่ำ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ยาง เครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยสามารถขยายการส่งออกสู่อินเดียได้มากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้นจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าเนื่องจากการมีต้นทุนในการปรับตัวระดับสูงและไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบทางการค้ากับอินเดีย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันในกรณีของประเทศไทยและอินเดียได้แก่ความซับซ้อนและการใช้เทคโนโลยีในการผลิตซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายในสินค้า และขนาดการค้าที่ไม่สมดุลในระดับต่ำ ปัจจัยทั้งสองนี้มีผลให้สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสูงขึ้น ระดับการลงทุนจากต่างประเทศและอุปสรรคทางการค้าเชิงนโยบายคืออัตราภาษีศุลกากรนั้นในการศึกษาครั้งนี้พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรม อีกทั้งปัจจัยด้านความคล้ายกันในปัจจัยการผลิตก็พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเช่นกัน
Other Abstract: The study is to consider the contribution of Intra-Industry Trade(IIT) and Inter-Industry Trade(NT) , as well as the contribution of export and import to trade growth between Thailand and India during 1992-1996 and 1996-2001. The determinants of IIT between Thailand and India are also analyzed. 4 digit HS data of manufactured products are employed. It is found that NT, rather than IIT, has mainly accounted for the trade growth between two countries. In addition, we find Thailand{174}s textiles is expected to gain benefit from free trade due to lower adjustment cost and its net export status. Jewelry and metal industries which have low adjustment cost will also gain from free trade. Plastics, rubbers, mechanic and electric machine will gain mainly from more export. Chemical industry may have negative impacts due to its high adjustment cost and more import. The regression results of the determinants of IIT between Thailand and India in 1998 support the hypotheses that the degree of IIT was raised by complexities and techniques for product differentiation, and low level of trade imbalance However, foreign direct investment, tariff barriers and similarities in factors of production are not statistically significant to explain the IIT between Thailand and India.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.928
ISBN: 9741739389
DOI: 10.14457/CU.the.2003.928
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patra.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.