Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56842
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | - |
dc.contributor.author | สุปิติ ขุนภักดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2018-01-27T03:34:12Z | - |
dc.date.available | 2018-01-27T03:34:12Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745677906 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56842 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en_US |
dc.description.abstract | ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอ ในภาคกลาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอ ในภาคกลาง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 กลุ่ม คือ ศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ในภาคกลาง รวมจำนวน 689 คน ส่งแบบสอบถามให้กลุ่มประชากร รวม 689 ฉบับ ได้รับกลับคืนรวม 572 ฉบับ ตรวจสอบแล้วมีความครบถ้วนสมบูรณ์ทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.02 ของแบบสอบถามที่ได้ส่งไปทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบ (check list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอด้านคุณลักษณะส่วนตนและด้านวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการโดย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ANOVA (F-test) และ q-statistic ผลการวิจัย 1.ความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอ สรุปได้ดังนี้ 1.1 ความคิดเห็นของกลุ่มประชาการทั้ง 3 กลุ่ม ที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอด้านคุณลักษณะส่วนตน รวม 33 ข้อ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 ข้อ และระดับเห็นด้วย 29 ข้อ ข้อที่กลุ่มประชากรมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งในลำดับแรกคือ มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจหรือความพิกลพิการใด ๆ และข้อที่ประชากรมีความเห็นด้วยในลำดับสุดท้ายคือ มีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น นอกจากนี้กลุ่มประชากรได้ให้ความสำคัญในข้อลักษณะที่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับความประพฤติเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพตามลำดับ 1.2 ความคิดเห็นของกลุ่มประชากรทั้ง 3 กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิชาชีพ รวม 46 ข้อ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง 2 ข้อ และในระดับเห็นด้วย 44 ข้อ ข้อที่กลุ่มประชากรมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งคือ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ทอดทิ้ง ละเลย หรือหลีกเลี่ยง และทำตนให้เป็นที่เชื่อถือได้ ส่วนข้อที่กลุ่มประชากรมีความเห็นด้วยในลำดับสุดท้ายคือ มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กลุ่มประชากรได้ให้ความสำคัญในข้อลักษณะที่พึงประสงค์เกี่ยวกับภาวะผู้นำเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความรู้ทางวิชาการ ตามลำดับ 1.3 ความคิดเห็นของกลุ่มประชากรทั้ง 3 กลุ่ม ที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอทั้งด้านคุณลักษณะส่วนตนและด้านวิชาชีพ รวม 79 ข้อ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง 6 ข้อ ระดับเห็นด้วย 73 ข้อ ข้อลักษณะที่พึงประสงค์ในลำดับแรก คือ มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจหรือความพิกลพิการใด ๆ ส่วนข้อที่อยู่ในลำดับสุดท้าย คือ มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้จากผลการจัดลำดับความสำคัญ กลุ่มประชากรได้ให้ความสำคัญในข้อลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอในส่วนที่เกี่ยวกับความประพฤติ เป็นลำดับแรก รองลงมา คือ ภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความรู้ทางวิชาการตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอสรุปได้ว่า กลุ่มประชากรมีความคิดเห็นต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอด้านคุณลักษณะส่วนตน ด้านวิชาชีพ และทั้งด้านส่วนตนและด้านวิชาชีพ ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ รวม 79 ข้อ พบว่า กลุ่มประชากรมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวม 7 ข้อ โดยแยกออกเป็น ด้านคุณลักษณะส่วนตน 4 ข้อ และด้านวิชาชีพ 3 ข้อ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the Study: 1. To study the opinions of District Education Officers, Educational Administrators and Involved Administrators Concerning the Desirable Characteristics of District Education Officers. 2. To compare the opinions of members of the three groups concerning the Desirable Characteristics of District Education Officers. Procedures: The population used in this study was composed of District Education Officers, Education Administrators and Involved Administrators, totaling 689 persons. Of the total 689 questionaires sent out, 572 questionaires or 83.02 percent were completed and returned. The instrument used for collecting data was a checklist questionnaire with the rating scale and the open – ended, these items concerned the status of the population and the desirable characteristics of District Education Officers in two aspects; personality characteristic and professional characteristic. The data were analyzed by Percentage, Arithmetic means, Standard Deviation, F-test and q-statistic. Finding and Conclusion: 1. The opinions of the members of the District Education Officers, the Education Administrators and the Involved Administrators, concerning the desirable characteristics in term of personality characteristic and professional characteristic, are as follows: 1.1 The opinions of the population, concerning the personality characteristic, were rated at the most agreeable level 4 items out of 33. The other 29 items were rated at the agreeable level. The most agreeable item was; the District Education Officers should be strong, healthy, and should not be contagious or disable. The least agreeable item was; the District Education Officers should be responsible to the others’ feeling quickly. Besides, the opinions of the population concerning the important component of the personality characteristic were emphasized successively to the behavior, human relationship and personality. 1.2 The opinions of the population, concerning the professional characteristic, were rated at the most agreeable level for 2 items out of 46. The other 44 items were rated at the agreeable level. The most agreeable item was, responsible and being respectable. The least agreeable item was; being capable in using educational technology. Beside, the opinions of the population about important component of the professional characteristic were emphasized successively to the leadership, creative-thinking, working-ability and academic capability. 1.3 The opinions of the population, concerning both the personality and professionality, were rated at the most agreeable level for 6 items out of 79. The other 73 items were rated at the agreeable level. The most agreeable item was; the District Education Officers should be strong, healthy and should not be contagious or disable. The least agreeable item was capability in using educational technology. Furthermore, the opinions of the population concerning the important component of the aspectes were emphasized successively to the behavior, leadership, human relationship, personality, creative-thinking, working –ability and academic capability. 2. The comparative opinions of the District Education Officers, the Education Administrators and the Involved Administrators concerning the personal characteristic, and professional characteristic and both of those two characteristics were not significantly different at the 0.05 level. At the same time, when comparing of each item, there were 7: items out of 79 items that were significantly different at the 0.05 level. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศึกษาธิการอำเภอ -- ไทย (ภาคกลาง) | en_US |
dc.subject | ศึกษาธิการอำเภอ -- ทัศนคติ | en_US |
dc.subject | ผู้บริหารโรงเรียน -- ทัศนคติ | en_US |
dc.subject | บทบาทที่คาดหวัง | en_US |
dc.subject | District education officers -- Thailand, Central | en_US |
dc.subject | District education officers -- Attitudes | en_US |
dc.subject | School administrators -- Attitudes | en_US |
dc.subject | Role expectation | en_US |
dc.title | ลักษณะที่พึ่งประสงค์ของศึกษาธิการอำเภอตามความคิดเห็น ของศึกษาธิการอำเภอ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในภาคกลาง | en_US |
dc.title.alternative | The desirable characteristics of district education officers according to the opinions of district education officers, educational administrators and involved administrators in central region | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Amornchai.T@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supiti_kh_front.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_ch1.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_ch2.pdf | 5.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_ch3.pdf | 866.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_ch4.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_ch5.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supiti_kh_back.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.