Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59349
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานในระดับอุดมศึกษา
Other Titles: The development of problem-based learning indicators in higher education
Authors: นุชนารถ วงศ์จำปา
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน -- การประเมิน
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Problem-based learning -- Evaluation
Problem-based learning -- Study and teaching (Higher)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานใน ระดับอุดมศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในระดับอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สอนที่มี การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานจาก 6 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานใน ระดับอุดมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวบ่งชี้ทุกตัวเป็นตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ ปัญหาเป็นฐานในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 29 ตัวครอบคลุม องค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานการณ์ปัญหา ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัว ด้านกระบวนการจัดการ เรียนรู้ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 6 ตัว ด้านการประเมินผล ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัว ด้านบทบาทของ ผู้สอน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 5 ตัว และด้านบทบาทของผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัว 2. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานใน ระดับอุดมศึกษา พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานใน ระดับอุดมศึกษา พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 141.51, df = 151, p = .59, GFI = .97, AGFI = 0.91, RMR = 0.02) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.52 ถึง 0.99 โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาก ที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านบทบาทของผู้เรียน องค์ประกอบด้านการประเมินผล องค์ประกอบด้าน บทบาทของผู้สอน และองค์ประกอบด้านสถานการณ์ปัญหา มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.99, 0.95, 0.92, 0.88 และ 0.61 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในระดับอุดมศึกษาโดยรวมได้ร้อยละ 98, 91, 84, 77 และ 38 ตามลำดับ2 = 141.51, df = 151, p = .59, GFI = .97, AGFI = 0.91, RMR = 0.02) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.52 ถึง 0.99 โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาก ที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านบทบาทของผู้เรียน องค์ประกอบด้านการประเมินผล องค์ประกอบด้าน บทบาทของผู้สอน และองค์ประกอบด้านสถานการณ์ปัญหา มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.99, 0.95, 0.92, 0.88 และ 0.61 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในระดับอุดมศึกษาโดยรวมได้ร้อยละ 98, 91, 84, 77 และ 38 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes on this research were 1) to develop problem-based learning indicators in higher education and 2) to validate model problem based learning indicators in higher education on theoretical concept and empirical data. The participants of this research were 290 teachers University lecturers problem- based instruction in 6 university are Chulalongkron University, Thammasat University, Khonkean University, Chiangmai University, Prince of Songkla University and Walailak University. The research tool were questionnaires, Data were analyzed using descriptive statistics (e.g., means, S.D., C.V., skewness, kurtosis) and Pearson’s correlation by employing SPSS, Analyzed using second order confirmatory factor analysis by LISREL The major results were as follows; 1. The results of confirmatory factor analysis found that all indicators were significantly indicators of problem-based learning in higher education desirable characteristics (p < 0.01). All of 29 indicators were cover 5 aspects: scenario consisting of 6 indicators, problem- based instruction process consisting of 6 indicators, evaluation consisting of 6 indicators, tutor role consisting of 5 indicators and student role consisting of 6 indicators. 2. The results of second order confirmatory factor of the model of problem- based learning indicators in higher education were found that model fitted with empirical data (X² = 141.51, df = 151, p = .59, GFI = 0.97, AGFI = 0.91, RMR = 0.02). Factor loading of 5 aspects were positive, size were from 0.52 to 0.99. The high factor loading were problem- based instruction process, student role, evaluation, tutor role and scenario with have factor loading values were 0.99, 0.95, 0.92, 0.88 and 0.61 respectively. The model accounted were 98%, 91%, 84%, 77% and 38% respectively of variance for the quality factors of problem-based learning indicators in higher education
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59349
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1570
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuchanard Wongjumpa.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.