Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62633
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจาระไน แกลโกศล-
dc.contributor.authorวิทยา เทียนจวง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-09T03:49:19Z-
dc.date.available2019-08-09T03:49:19Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745636983-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62633-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและการรับสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กของกลุ่มมารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะปกติและกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยมุ่งเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อในการรับสารทั่วไป การรับสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและการนำสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กไปปฏิบัติจากการใช้สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลของกลุ่มมารดาทั้งสองกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่เป็นมารดาเด็กวัยก่อนเรียนอายุต่ำกว่า ๖ ปี ที่อาศัยอยู่ในอาคารสงเคราะห์ดินแดง และเป็นผู้ที่อยู่ในทะเบียนของคลีนิคโครงการพัฒนาอนามัยครอบครัวในชุมชนเมือง ภาควิชา อนามัยแม่และเด็ก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยามหิดล มารดาที่เป็นตัวอย่าง ๑๑๕ คน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม เป็นกลุ่มมารดาของเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะปกติจำนวน ๗๒ คน และกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน ๔๓ คน ข้อมูลทั้งหมดได้จากการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ไคสแควร์ และทดสอบค่า “ที” เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของพฤติกรรมเปิดรับสื่อระหว่างมารดา ๒ กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ๑. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารทั่วไประหว่างกลุ่มมารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะปกติกับกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการตามลักษณะพฤติกรรมดังนี้ ๑.๑ การเคยเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารทั่วไประหว่างกลุ่มมารดาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๑.๒ ความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารทั่วไประหว่างกลุ่มมารดาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๑.๓ การใช้เวลาในการเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อบุคคลในการรับสารทั่วไประหว่างกลุ่มมารดาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๒. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ระหว่างกลุ่มมารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะปกติกับกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการตามลักษณะพฤติกรรมดังนี้ ๒.๑ การเคยเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ระหว่างกลุ่มมารดาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๒.๒ ความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลในการรับสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ระหว่างกลุ่มมารดาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๓. การเคยนำสารเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กไปปฏิบัติ จากการใช้สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล ระหว่างกลุ่มมารดา[ไม่]มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ การที่ผลการวิจัยที่ไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องระหว่างภาวะโภชนาการกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ กล่าวคือ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อไม่สามารถชี้ภาวะโภชนาการได้-
dc.description.abstractalternativeThe study is aimed at comparing the general media exposure behavior both on general information and the feeding practice information and the exposure on the feeding practice information received from mass, specialized and interpersonal media of the malnourished and normal preschool children’s. The study covers the population of 115 mothers of preschool children of under 6 years age group, residing in the Din-Daeng Housing Project and registered under the Urban Community Program for Family Health Development, Department of Maternal and Child Health, Faculty of Public Health, Mahidol University. The amount of the mothers of normal children is 72 where as those of malnourished is 43. The acquired data through interview method basing on the prepared questionnaire is analysed in term of percentage, Chi-Square test and t-test. The research findings can be concluded as follows: 1. For general information exposure: 1.1 At the level of 0.05, the media exposure from mass, specialized and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ. 1.2 At the level of 0.05, the frequency of exposure from mass, specialized and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ. 1.3 At the level of 0.05, the duration of exposure from mass and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ. 2. For feeding practice information exposure: 2.1 At the level of 0.05, the media exposure from mass, specialized and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ. 2.2 At the level of 0.05, the frequency of exposure from mass, specialized and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ. 3. For acting on the feeding practice information from mass, specialized and other interpersonal media between the two mother groups do not significantly differ at the level of 0.05. The rejection of the hypotheses in this study means that there is no relationship between nutritional status and the media exposure behavior, in other words the media exposure behavior can not predict the children’s nutritional status.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก-
dc.subjectการประชาสัมพันธ์ -- อนามัยแม่และเด็ก-
dc.subjectสื่อมวลชน-
dc.subjectทุโภชนาการ-
dc.titleการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อระหว่างกลุ่มมารดา ของเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะปกติกับกลุ่ม ที่มีภาวะทุพโภชนาการในอาคารสงเคราะห์ดินแดง-
dc.title.alternativeComparison of media exposure behavior between the mother group of normal preschool children and the mother group of malnourished preschool children in Din-Daeng housing project-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wittaya_te_front.pdf25.03 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_ch1.pdf11.53 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_ch2.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_ch3.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_ch4.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_ch5.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open
Wittaya_te_back.pdf140.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.