Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67859
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิตติ กันภัย | - |
dc.contributor.author | นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-10T04:28:58Z | - |
dc.date.available | 2020-09-10T04:28:58Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741432518 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67859 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาในอัลบั้มภาพออนไลน์ เพื่อวิเคราห์อัตลักษณ์ของผู้สร้างอัลบั้มภาพออนไลน์ และเพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์มในอัลบั้มภาพออนไลน์ รวมถึงเพื่อค้นหาสาเหตุที่ก่อให้ปรากฎการณ์เกิดอัลบั้มภาพออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่าเนื้อหาในอัตลักษณ์ออนไลน์ประกอบด้วยการใช้วจนภาษา และอวัจภาษา โดยเนื้อหาสามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ของผู้สร้างอัลบั้มภาพออนไลน์ใน 4 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ทางเพศ ประกอบด้วยเพศ ตามคติชีววิทยา พบว่ามีแสดงอวัยวะต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นเพศชายและหญิง ในเพศวิถี พบว่ามีการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง 2) อัตลักษณ์ทางบุคลิกภาพ แสดงถึงบุคลิกภาพอ่อนไหว น่ารัก สดใส และต้องการยอมรับ ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น แสดงออกทางเพศ หลงตัวเอง อารมณ์ขัน สนุกสนาน ก้าวร้าว และทันสมัย พบว่าโดยส่วนมาเป็นการแสดงอัตลักษณ์เชิงบวก 3) อัตลักษณ์ทางสถานภาพทางสังคมประกอบด้วยสถานภาพทางประชาศาสตร์ โดยแสดงออกถึงสถานภาพทางการศึกษามากที่สุด และสถานภาพทางความสัมพันธ์ทางสังคมพบความสัมพันธ์แบบเพื่อนมากที่สุด รองลงมาคือความสัพพันธ์แบบคู่รัก 4) อัตลักษณ์ทางรูปแบบการใช้ชีวิต แสดงถึงรูปแบบการใช้ชีวิต และความชอบของผู้สร้างอัลบั้มภาพออนไลน์ ได้แก่ ชอบท่องเที่ยว แฟนคลับ ชอบสัตว์เลี้ยง ฯลฯ โดยอัตลักษณ์ของผู้สร้างอัลบั้มภาพออนไลน์ทั้งหมดที่แสดงออกมีทั้งอัตลักษณ์ส่วนตัวและอัตลักษณ์ร่วม ซึ่งอัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นอัตลักษณ์เสมือนที่มีลักษณะเพ้อฝันและปลอมแปลง กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ประกอบด้วยขั้นตอนการตระหนักรู้ ขั้นตอนการสร้างอัลบั้มภาพออนไลน์ ขั้นตอนการเผยแพร่ตัวตน หรือภาพตัวแทน ขั้นตอนการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พบว่าในแต่ขั้นตอนให้ความหมายเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเจ้าของอัลบั้นภาพออนไลน์ และมักมีการคัดเลือกปรับแต่ง เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ในด้านบวก เพื่อการดูดี และเป็นที่ยอมรับ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการดึงดูดใจ โดยเทคโนโลยีได้เอื้ออำนวยแก่การสร้างอัตลักษณ์ในแต่ละขั้น และเป็นอำนาจในการบอกว่า “ฉันคือใคร?” ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์อัลบั้มภาพออนไลน์ ประกอบด้วยสองปัจจัย คือ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความต้องการผูกไมตรีกับผู้อื่น ความต้องการยอมรับ ความต้องการที่จะเล่น ความต้องการทางเพศ และความต้องการในการอ้างอิงตัวตน ความต้องการแสดงออก โดยความต้องการแสดงออกนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ความต้องการแสดงตน เรียกร้องความสนใจ แสดงออกทางเพศ ไปจนถึงพฤติกรรมชอบอวดอวัยะเพศ พบว่า “พฤติกรรมชอบโชว์” เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์อัลบั้มภาพออนไลน์ขึ้น ปัจจัยที่สอง ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี โดยเทคโนโลยีเอื้ออำนวยให้สามารถตนเองสู่สาธารณะ เล่าเรื่องตนเอง และสร้างสรรค์ตนเองได้อย่างอิสระ รวมถึงสามารถทดลองตัวตน และสามารถแปลงตัวตนได้ โดยสรุปกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นอำนาจใหม่ในการ “สถาปนา” ตัวตน และในบริบททางอินเตอร์เนต การนำเสนออัตลักษณ์เป็นไปได้อย่างที่ตนเอง “ต้องการ” และ “บุคคลอื่น” มีอิทธิพลน้อยลง ทำให้สัดส่วนของ “I” ขึ้นมามีอิทธิพลเหนือ “I” เกิดปรากฏการณ์อำนาจเปลี่ยนมือ ซึ่งเป็นการกลับทฤษฎีของ ชาร์ล ฮอร์ตัน คูลี่ | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this qualitative research are analyze the content of online photo album, the identities of the creators of online photo album 3) the process of identity formation in online photo album and to investigate the causation of this phenomenon The findings reveal that the content of the online photo album consists of verbal and non-verbal language. The content indicates four identities of the creators which are 1) sexual identity; 2) personality identity; 3) social status identity and 4) lifestyle identity. The first item comprises biological sex and sexuality indicators. The second item reveals a personality which may be sensitive, nice, pleasant, self-indulgent, humorous, enjoyable, aggressive and fashionable. It also reveals that the creator needs acceptance, a relationship with someone and sexual expression. The third item indicates the demographic status such as educational background and social relationship, most of which is friendship followed by lovers. The fourth item reveals the creator’s lifestyle and preference such as love of traveling, raising pets and having a fan club. All of the identities possessed by the creator are both personal and collective, which seem to be fantasized and masqueraded. The process of identity formation comprises realization, the creation of online photo album, Self revelation or representation, interaction, and revision. Each step indicates the creator’s identity and most information is usually adapted to make the creator look good and to be accepted or attractive to others. The technology available can help the creator form his identity and possess the power to tell “Who am I” This phenomenon results from psychological and technological factors. The first factor involves affiliative needs, self-esteem needs, play needs, sexual needs, reference needs and exhibitive needs. The desire for exhibit has various levels ranging from self revelation, drawing attention, sexual expression and exhibitionism. It is found that exhibitionism is a major cause of online photo album. The second factor allows the creator to reveal oneself to the public, tell other about oneself, create oneself freely, launch his experiment and masquerade oneself. In conclusion, technology provides the creator new power to “constitute” one’s identity. And, on the internet context the identity presentation can be done as the creator’s “desires” and “others” have less influence. This results in the superiority of “I” over “me”, leading to power transfer. The phenomenon is the reverse of Charles Horton Cooley’s theory. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.729 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en_US |
dc.subject | ภาพถ่าย | en_US |
dc.subject | Identity (Philosophical concept) | en_US |
dc.subject | Photograph albums | en_US |
dc.title | การสร้างอัตลักษณ์ในอัลบั้มภาพออนไลน์ | en_US |
dc.title.alternative | Identity formation in online photo album | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kitti.G@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.729 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narathip_wi_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Narathip_wi_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 922.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.